พุ่มพวง ดวงจันทร์ กับการเปลี่ยน (ไม่) ผ่านของเพลงลูกทุ่ง (กลางทศวรรษ 2520 - กลางทศวรรษ 2540)

Main Article Content

ปรกเกศ ใจสุวรรณ์

บทคัดย่อ

ความสำเร็จของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในช่วงกลางทศวรรษ 2520 จนถึงกลางทศวรรษ 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของเธอในปี พ.ศ. 2528 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งด้วยการผสมผสานเพลงลูกทุ่งกับเพลงสตริง อีกทั้งยังปรับภาพลักษณ์ให้เท่าทันแฟชั่นสมัยใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ความสำเร็จของพุ่มพวงนับเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของเพลงลูกทุ่ง แต่กระนั้นกลับพบว่าเพลงลูกทุ่งปลายทศวรรษ 2530 เป็นต้นมาจำนวนมากที่ยึดเอาความสำเร็จของพุ่มพวงเป็นแม่แบบกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มี “ความเป็นเพลงลูกทุ่ง” จากการศึกษาพบว่า การจัดงานอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งที่เกิดขึ้นตลอดทศวรรษ 2530 นับเป็นการปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของเพลงลูกทุ่ง ความสำเร็จของการจัดงานดังกล่าวส่งผลต่อผลงานเพลงของพุ่มพวงในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตไปจนถึงตลาดเพลงลูกทุ่งโดยภาพรวม นอกจากนี้ยังเป็นการแช่แข็งอัตลักษณ์ของเพลงลูกทุ่งให้หยุดนิ่งและยึดโยงกับความเป็นไทยและความเป็นชนบทในอุดมคติ อันนำมาซึ่งการที่คนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยจนเกิดเป็นวิวาทะเรื่องความเป็น-ไม่เป็นเพลงลูกทุ่งที่ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบรรณาธิการ. “วาณิช จรุงกิจอนันต์ สนทนา “ภาษาไทยในเพลงลูกทุ่ง”.” สกุลไทย, 27 พฤษภาคม 2546.

ขจร ฝ้ายเทศ. “ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างผลงานของผู้ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง ลพ บุรีรัตน์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540.

ขจร ฝ้ายเทศ. “การสื่อสารทางการเมืองในเพลงไทยลูกทุ่ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

ฉกาจ ราชบุรี. “ประวัติศาสตร์ธุรกิจเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2507-2535.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537.

ชาววัง [นามแฝง]. “แวดวงคนขายเสียง.” ราชาเสียงทอง, 5 กุมภาพันธ์ 2525.

ชาววัง [นามแฝง]. “แวดวงคนขายเสียง.” ราชาเสียงทอง, 5 เมษายน 2525.

ทิวา สาระจูฑะ. “พุ่มพวง ดวงจันทร์.” สีสัน, กรกฎาคม-สิงหาคม 2531.

“เทปสตริง-ลูกทุ่งหงอย ถูกหมอลำตีกระจุย.” ราชาเสียงทอง, มีนาคม 2530.

“นักเพลงลูกข้าวเหนียวรวมพล ‘นักเขียนซีไรท์’ หยามหมิ่นเพลงลูกทุ่งอีสาน.” คม ชัด ลึก, 4 มีนาคม 2545.

นำชัย ชีววิวรรธน์. “ทำไมคนแก่ไม่ชอบเพลงวัยรุ่น.” สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564. https://www.the101.world/why-old-people-hate-teen-music.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. โขน, คาราบาว, น้ำเน่าและหนังไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

ประชา สุวีรานนท์. อัตลักษณ์ไทย: จากไทยสู่ไทย ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2554.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และ คริส เบเกอร์. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, 2546.

พงศกร ชะอุ่มดี. “ภาพถ่ายกับชีวิตวัยรุ่นชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร ทศวรรษ 2500-2530.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

พริกสด [นามแฝง]. “พุ่มพวง ดวงจันทร์.” ราชาเสียงทอง, ธันวาคม 2528.

ภัทราภรณ์ จันทนะสุต. “พุ่มพวง ดวงจันทร์: จุดพลิกผันของเพลงลูกทุ่งไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.

มะนาวดอย. “จันทรา ธีรวรรณ เจ้าของผลงานเพลง สาวทรงฮาร์ด.” ราชาเสียงทอง, 5 สิงหาคม 2525.

วาณิช จรุงกิจอนันต์. “ตาย.” มติชน สุดสัปดาห์, 21 สิงหาคม 2545.

แวง พลังวรรณ. อีสานคดี ชุด ลูกทุ่งอีสาน. กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา, 2545.

ศิริพร กรอบทอง. “วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ. 2481-2535.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

สาทร ศรีเกตุ. “เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

สัญญา ชีวะประเสริฐ. “พุ่มพวง ดวงจันทร์ ปรากฏการณ์ของเพลงลูกทุ่ง” วารสารภาษาและวัฒนธรรม 36, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): 34-152.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พรินติ้ง กรุ๊พ, 2532.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2533.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2534.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ก้าวต่อไป. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. แผนแม่บท ปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์, 2537.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 60 ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2542.

สุกรี เจริญสุข. “บรรณาธิการแถลง.” ถนนดนตรี, สิงหาคม 2530

สุชาติ สุขประสิทธิ์. “ชาย เมืองสิงห์ ลูกทุ่งตัวจริง หัวใจไม่เปลี่ยนแปลง.” ฅ.ฅน, มีนาคม 2555

สมเกียรติ บุญศิริ. “พลังลูกทุ่ง.” ผู้จัดการ, ธันวาคม 2550.

“เสวนาเพลงลูกทุ่ง: ไอ้หนุ่มผมยาวถึงอีสาวสมศรี.” เพลงดนตรี 1, ฉ. 5 (มีนาคม-พฤษภาคม 2538): 49-67.

หนุ่ม’ เปรียว [นามแฝง]. “ศักดิ์สยาม เพชรชมภู กับ...ชีวิตนักร้องหมอลำ.” ราชาเสียงทอง, 20 ธันวาคม 2525.

ห้องสมุดลูกทุ่ง. “พุ่มพวง ดวงจันทร์ - คอยรักที่สถานี แสดงสดโรงละครแห่งชาติ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563. https://www.youtube.com/watch?v=qAxCQundrUc.

อสนี สายฟ้าฟาด. เทปลับ...พุ่มพวง ดวงจันทร์. กรุงเทพฯ: ฟอร์มิก, 2552.

ENTERTAINMENT. “หวนรำลึก "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ราชินีลูกทุ่ง | Talk ในตำนาน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561. https://www.youtube.com/watch?v=oPDdL4VRTe8&t=633s

artclubTPBS. “ศิลป์สโมสร รำพึงถึงพุ่มพวง1/3.” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561. https://www.youtube.com/watch?v=DXIilCArym8.

Jirattikorn, Amporn. “Lukthung: Authenticity and Modernity in Thai Country Music” in Asian Music. 37, 1 (winter-spring 2006): 24-50.

Junjuang Doungjun. “สัมภาษณ์สดพี่ผึ้ง.mpg ตอนที่1.mp.” สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561. https://www.youtube.com/watch?v=Q42VA9Io7aY.

JSL Global Media. “พุ่มพวง ดวงจันทร์ เปิดใจกว่าจะโด่งดัง ตอน 2: จันทร์กะพริบ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561. https://www.youtube.com/watch?v=inekAmdYTKY.

NewTV. “ย้อนอดีต “ไอ้คล้าว” มนต์รักลูกทุ่งละครในตำนานของ “ตั้ว ศรัณยู.” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564. https://www.newtv.co.th/news/57914.

Piyakul Phusri. “ประวัติศาสตร์อย่างย่นย่อของไซคีเดลิก ร็อก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564. https://www.fungjaizine.com/article/guru/psychedelic-rock-101

Pochn Ram2 Channel. “พุ่มพวง ดวงจันทร์ แสดงสด 7 สีคอนเสิร์ต ปี2532.” สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564. https://www.youtube.com/watch?v=ZdjZYI2jTb4.

Thai PBS. “ความจริงไม่ตาย: มรดกจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ (23 พ.ค. 61).” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561. https://program.thaipbs.or.th/TruthNeverDies/episodes/53073

Vilaithong, Villa. “Marketing Business Knowledge and Consumer Culture Before the Boom: The Case of Koo Khaeng Magazine.” in A Sarong for Clio: Essays on The Intellectual and Culture History of Thailand. Edited by Maurizio Peleggi. Ithaca, NY: Southeast Asia Program Publication, Southeast Asia Program, Cornell University, 2015.