“ประวัติศาสตร์โลก” ตามการรับรู้และการเรียนรู้ในประเทศไทย: เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์อย่างย่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภูมิหลังแบบจารีตเรื่องมโนทัศน์ของคนไทยเกี่ยวกับโลกและความเป็นมาของโลก ตั้งอยู่บนศรัทธาความเชื่อทางศาสนาและเรื่องเล่าที่มากับความเชื่อนั้น จนถึงสมัยที่ชนชั้นนำไทยได้ทำความรู้จักภูมิปัญญาตะวันตกเกี่ยวกับโลกและประวัติศาสตร์ จึงได้เริ่มมีการเรียบเรียง “ประวัติศาสตร์สากล” ตามโครงเรื่องอารยธรรมของตะวันตกขึ้น สาระประวัติศาสตร์โลกตามแนวคิดแบบเสรีนิยมตะวันตกได้เข้าไปมีบทบาทในการอุดมศึกษาไทยอย่างมากในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่มุ่งต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงเวลานั้น การรับรู้ เรียนรู้ และเข้าใจโครงเรื่องอารยธรรมดังกล่าวเป็นสัจจะทางเดียว ถ่ายทอดลงไปจนถึงโรงเรียนระดับมัธยมและประถมศึกษา ควบคู่ไปกับการกล่อมเกลาเรื่องความภักดีต่อชาติในแบบราชาชาตินิยม แม้ต่อมาสังคมไทยจะถูกพัดพาเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ภายใต้อิทธิพลของระบบทุนนิยมโลก แต่การปรับเปลี่ยนสู่ความหลากหลายในเนื้อหาและระเบียบวิธีทางการศึกษาประวัติศาสตร์ยังคงดำเนินไปอย่างค่อนข้างเชื่องช้า บริบทจากภายนอกดังเช่นผลกระทบทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกกระตุ้นจากภัยคุกคามซึ่งอยู่เกินความควบคุมของรัฐชาติ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ “ประวัติศาสตร์โลก” มีความหมายและความสำคัญสำหรับคนไทยบนฐานคิดที่เปลี่ยนไปอีกก้าวหนึ่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กระทรวงพาณิชย์. กรมการค้าต่างประเทศ. “เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA).” สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564. https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/ServiceData-Information/dft-service-data-privilege/Detail-dft-service-data-privilege/ArticleId/16186/AFTA16186.
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ประวัติศาสตร์สากล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, 2553.
กาญจนี ละอองศรี, วารุณี โอสถารมย์, และ อังคาร จันทร์เมือง. ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กับหลักสูตรวิชาพื้นฐานศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
กุลวดี มกราภิรมย์, และ สุภัทรา น. วรรณพิณ. มรดกอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
“งานวิจัยอาเซียน” ในเว็บไซต์ ASEAN Watch ของ สกว. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564. https://aseanwatch.org/category/research/.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. อารยธรรมสมัยโบราณ - สมัยกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. อารยธรรมสมัยใหม่-ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
ฌี่ชุน. แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์โลก. แปลโดย ศรีอุบล. กรุงเทพฯ: เรียวข้าว, 2518.
เดวิด เค. วัยอาจ. “การเขียนประวัติศาสตร์ไทยแบบตำนานและพงศาวดาร.” ใน ปรัชญาประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2527.
ทองฑีฆายุ ทองใหญ่, ม.จ. ประวัติศาสตร์สากล. พระนคร: โรงพิมพ์กรุงเทพบรรณาคาร, 2480.
ทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2514.
ธงชัย วินิจจะกูล. โฉมหน้าราชาชาตินิยม: ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559.
นาฏวิภา ชลิตานนท์. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ไตรภูมิพระร่วง: อิทธิพลต่อสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2543.
พระสิริมังคลาจารย์. จักรวาลทีปนี. หอสมุดแห่งชาติตรวจชำระเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2523.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป หลักการและวิธีดำเนินการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
เบรสเตด, เฮนรี เจมส์. อธิบายประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณหรือพงศาวดารดึกดำบรรพ์ (Ancient Times). แปลโดย พระยาอนุมานราชธน. พระนคร: โรงพิมพ์ไทย, 2466.
เปรมโรจน์ บางอ้อ. “แนวคิด “ชาตินิยม” ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา ในหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.” ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย หนังสืออ่านประกอบคำบรรยาย. พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2514.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์. อารยธรรมยุคใหม่ (ภาคหนึ่งถึงภาคสี่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2516.
แมคนีลล์, วิลเลียม เอช. ประวัติศาสตร์โลก. แปลโดย สุจิตรา วุฒิเสถียร, สมร นิติทัณฑ์ประภาส, ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ศรีสุข ทวิชาประสิทธิ์, และ พุทธชาติ บ. ผลาพงศ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519.
วิจิตรวาทการ, หลวง. ประวัติศาสตร์สากล. 12 ล. พระนคร: โรงพิมพ์วิริยานุภาพ, 2472-2474.
วัชระ สินธุประมา. “พัฒนาการของมโนทัศน์เรื่อง “ประวัติศาสตร์โลก” ในโลกตะวันตก: World History กับ Global History.” วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 3, ฉ. 1 (มกราคม - มิถุนายน 2559): 79-137.
วิทยากร เชียงกูล. ปัญหาและแนวทางการต่อสู้ของโลกที่สาม. กรุงเทพฯ: ปุถุชน, 2518.
ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อารยธรรมตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
ศันสนีย์ ตันติวิท. สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โฟร์-วัน พริ้นติ้ง, 2548.
ศิวัช ศรีโภคางกุล. “ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมในโรงเรียนไทย.” วารสารการเมืองการปกครอง 10, ฉ. 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2563): 153-179.
ส.ชัยภูมิชน. หนังสือประกอบนิทรรศการ โลกที่สาม 7-13 ธันวาคม 2517. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2517.
สมบัติ จันทรวงศ์. “การศึกษาเกี่ยวกับโลกตะวันตกในประเทศไทย: ภาพสะท้อนจากงานเขียนและสถาบัน.” ใน อนาคตของวิเทศคดีศึกษาในประเทศไทย: ศักยภาพและทิศทาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538, 3-1–3-23.
สแตนเดจ, ทอม. ประวัติศาสตร์โลกใน 6 แก้ว. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.
สิทธิชัย สุขคะตะ และ ณัฐวีณ์ บุนนาค. “การวิเคราะห์วาทกรรมชาตินิยมไทยในแบบเรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์.” วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 4, ฉ. 1 (มกราคม - มีนาคม 2558): 126-137.
สิริ เปรมจิตต์. ประวัติศาสตร์โลก. 5 ล. พระนคร: ส. ธรรมภักดี, 2499.
สุทธิพันธ์ ขุทรานนท์. “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงวางรากฐานงานประวัติศาสตร์ไทย.” ใน 150 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ: พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2556, 98-110.
สุภาพ ดวงไสว. สหวิทยาการหนทางสู่หลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตยุคใหม่. การสัมมนาทางวิชาการโครงการรื้อปรับระบบหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.
แสงโสม เกษมศรี, ม.ร.ว. ประวัติศาสตร์ทั่วไป ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช, 2505.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. “รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษา (Liberal Arts Education) ในสถาบันอุดมศึกษาไทย.” กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.
ฮักซ์ลี่, จูเลียน, เจ โบร์โนว์สกี, เจอรัลด์ แบร์รี, และ เจมส์ ฟิชเชอร์. บรรณาธิการ. วิวัฒนาการแห่งความคิด: ภาคมนุษย์และโลก. แปลจาก The Growth of Ideas: Section Two, Man and the World. แปลและเรียบเรียงโดย จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2551.
ฮาร์มัน, คริส. ประวัติศาสตร์โลกฉบับประชาชน: จากยุคหินถึงสหัสวรรษใหม่. แปลจาก A People's History of the World: From the Stone Age to the New Millennium. แปลโดย อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2557.
Bentley, Jerry H. Shapes of World History in 20th Century Scholarship. Washington, DC: American Historical Association, 1995.
Betts, Paul. “Humanity’s New Heritage: Unesco and the Rewriting of World History.” Past & Present 228, no. 1 (August 1, 2015): 249-285.
Bradley, William Lee. Siam Then: The Foreign Colony in Bangkok Before and After Anna. Pasadena, CA: William Carey Library, 1981.
Galgano, Michael J., J. Chris Arndt, and Raymond M. Hyser. Doing History: Research and Writing in the Digital Age. 2nd ed. Boston, MA: Cengage Learning, 2012.
General Education in a Free Society; Report of the Harvard Committee. Cambridge, MA: Harvard University Press, 1945.
Huntington, Samuel P. The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order. New York, NY: Simon & Schuster, 2011.
Inekufu, Harrison W. “Globalization, Open Access, and the Democratization of Knowledge,” EDUCAUSE Review 52, no. 4 (July/August 2017): 62-63. Accessed February 28, 2021. https://er.educause.edu/articles/2017/7/globalization-open-access-and-the-democratization-of-knowledge.
Malet, Albert. Nouvelle histoire universelle depuis l'antiquité jusqu'à nos jours. 4 tomes sur 4 éditions Hachette – 1924.
Manning, Patrick. Navigating World History: Historians Create a Global Past. New York, NY: Palgrave/Macmillan, 2003.
Mazlish, Bruce. “Comparing Global History to World History.” The Journal of Interdisciplinary History 28, no. 3 (January 1, 1998): 385-395.
Olstein, Diego. Thinking History Globally. New York, NY: Palgrave Macmillan, 2015.
Stearns, Peter N. Western Civilization in World History. New York, NY: Routledge, 2003.
“With Great Pomp and Magnificence”: Royal Gifts and the Embassies between Siam and France in the Late Seventeenth Century’, in Global Gifts: The Material Culture of Diplomacy in Early Modern Eurasia, edited by Zoltan Biedermann, Anne Gerritsen, and Giorgio Riello, 235-265. Cambridge, UK: Cambridge University Press, 2018.
UNESCO. World Heritage Centre. Accessed June 7, 2021. https://whc.unesco.org/en/about/.
Vanichaka, Parkpume. “An Early History of Liberalism in Thailand.” Ph.D. diss., Waseda University, 2019.