ความเปลี่ยนแปลงในลักษณะความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในประเทศไทย: กรณีศึกษาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร, ป.ธ. 4; หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) (พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2535)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงในนิยามความหมายของความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในสังคมไทยผ่านการวิเคราะห์บทบาทของพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร; หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ทางด้านมานุษยวิทยา จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าในช่วงก่อนทศวรรษ 2500 ลักษณะความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในสังคมไทย แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากบุญญาธิการ (mystical saint) กับความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือผู้คนเป็นจำนวนมาก (savior saint) อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคสงครามเย็น รัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์พยายามสนับสนุนให้สถาบันศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการปลุกใจให้ประชาชนต่อสู้กับภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ในช่วงเวลานี้เอง เริ่มปรากฏพระสงฆ์ที่มีลักษณะความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบใหม่อย่างพระราชพรหมยาน ซึ่งผสมผสานความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากบุญญาธิการกับความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือผู้คนเป็นจำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการใช้บุญญาธิการ และการช่วยหลือผู้คนมาสนับสนุนนโยบายการต่อต้านภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
เกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป์. “พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2310-2394.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
กรมการศาสนา. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2525.
คอลัมน์พระเครื่อง. “จาด-จง-คง-อี๋ ยอดพระเกจิในอดีต.” ข่าวสด, 28 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_3266057
ชาญวิทย์ เกษตรสิริ. “กบฏไพร่สมัยอยุธยากับแนวความคิดเรื่องผู้มีบุญ-พระศรีอาริย์-พระมาลัย.” วารสารธรรมศาสตร์ 9, ฉ. 1 (กรกฎาคม-กันยายน 2522): 53-86.
ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. “พระเครื่องกับสังคมไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึง พ.ศ. 2550: การศึกษาคติความเชื่อ รูปแบบ และพุทธพาณิชย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว. “การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย ตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2530-2550.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555.
นพรัตน์ กิ่งแก้ว. “เรื่องเล่าจากบทสนทนาธรรม ในหลวงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกจิอีสานใต้.” Post Today, 27 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565. https://www.posttoday.com/social/local/462182
ประทวน ขจรวุฒินันท์. “รับสั่ง “อยากอยู่วัด แต่ไม่มีเวลา” เรื่องเล่าในหลวงกับ “หลวงปู่ฝั้น”.” Post Today, 31 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565. https://www.posttoday.com/social/local/462757
ประเทือง ทินรัตน์. “ความคิดเรื่องจักรวาลวิทยาของอินเดียโบราณ.” วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย 2, ฉ. 4 (ธันวาคม 2551-พฤษภาคม 2552): 76-89.
ปราการ กลิ่นฟุ้ง. “การเสด็จพระราชดำเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2493-2530.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
ปริญญา นุตาลัย, และ โศภิษฐ์ สดสี. หนังสือสมบัติพ่อให้. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2537.
ผาสุก อินทราวุธ. “พระโพธิสัตว์บารมีกับอุดมการณ์สร้างสรรค์สังคม.” วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2, ฉ. 3 (มกราคม-กรกฎาคม 2546): 9-28.
พัชรลดา จุลเพชร. “แนวคิดเรื่องกึ่งพุทธกาลในสังคมไทย พ.ศ 2475-2500.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
พระนฤพันธ์ ญาณิสฺสโร. “วิถีครูบา: แนวคิดและกลไกการพัฒนาสังคมแบบมีส่วนร่วม.” วารสารศิลปการจัดการ มูลนิธิธรรมาภิวัตน์ 3, ฉ. 3 (กันยายน-ธันวาคม 2562): 205-222.
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D8%A1%A2%C7%D4%BB%D1%CA%CA%A1&detail=on
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=106
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C0%D2%C7%B9%D2_%F2
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E2%C2%AA%B9%EC&original=1
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A1%D2%C1%C0%BE&detail=on
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565. https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A1%D2%C1%C0%BE&detail=on
พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน). “แนวคิดพระโพธิสัตว์ในฐานะรากฐานทางปรัชญาสังคมและการเมือง.” วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 8, ฉ. 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564): 19-36.
พระอธิการพรชัย วิชชโย (บุญมา). “การศึกษาวิเคราะห์ผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2554
ภิญญพันธุ์ พจนลาวัณย์. ไทยปิฎก: ประวัติศาสตร์การเมืองสังคมร่วมสมัยของพุทธศาสนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: illumination Editions, 2562.
มนัส เกิดปรางค์. “พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). ประวัติหลวงพ่อปาน (ม้วน 1-12) ม้วนที่ 1 หน้า A, ไฟล์บันทึกเสียง. อุทัยธานี: วัดจันทาราม (ท่าซุง), 2522.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). พระเมตตา เล่ม ๑. ม.ป.ท.: ม.ป.ป., 4.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). ฤาษีสอนลูกภาคเหนือ, ไฟล์บันทึกเสียง. อุทัยธานี: วัดจันทาราม (ท่าซุง), 2522.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). มโนมยิทธิและประวัติของฉัน ม้วนที่ 5 หน้า A, ไฟล์บันทึกเสียง. อุทัยธานี: วัดจันทาราม (ท่าซุง), 2522.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). ฤาษีสอนลูกภาคใต้ ม้วนที่ 1 หน้า A, ไฟล์บันทึกเสียง. อุทัยธานี: วัดจันทาราม (ท่าซุง), 2522.
ฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร, ป.ธ. 4). ฤาษีสอนลูกภาคใต้ ม้วนที่ 1 หน้า B, ไฟล์บันทึกเสียง. อุทัยธานี: วัดจันทาราม (ท่าซุง), 2522.
วัดจันทาราม. ประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อวัดท่าซุง). พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2538.
วิศรุต บวงสรวง. “ศาสนวัตถุกับอุดมการณ์กษัตริย์นิยมไทย พุทธทศวรรษ 2410-2540.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
โสภา ชานะมูล. “ครูบาศรีวิชัย “ตนบุญ” แห่งล้านนา (พ.ศ. 2421-2481).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.
สมพร คงถาวร. “บทบาทพระธรรมจาริกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขาในท้องถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ 2508-2545).” ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 2548.
MGR Online. “พระอริยสงฆ์ กับ “ในหลวง รัชกาลที่ 9.” สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565. https://mgronline.com/dhamma/detail/9590000109033.
Breuilly, John. “Max Weber, Charisma and Nationalist Leadership.” Nations and Nationalism: Journal of the Association for the study of Ethnicity and Nationalism 17, no. 3 (May 17, 2011): 477-499.
Ishii, Yoneo. Sangha states and Society: Thai Buddhism in History. Honolulu: The University of Hawaii Press, 1986.
Keyes, Charles F., “Death of Two Buddhist Saints in Thailand.” Journal of the American Academy of Religion, Thematic Series 48/3-4 (1981):149-180.
Soontravanich, Chalong (2013). “The Regionalization of Local Buddhist Saints Amulets, Crime and Violence in Post-World War II Thai Society.” Journal of Social Issues in Southeast Asia 28, no. 2 (July, 2013): 193-204.
Tambiah, Stanley J. The Buddhist Saints of the Forest and the Cult of Amulets. New York: Cambridge University Press, 1984.