ความเป็นมาของคำล้านนาและล้านนาไทยโดยสังเขป

Main Article Content

พริษฐ์ ชิวารักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาประวัติความเป็นมาและพลวัตของคำว่าล้านนา ล้านนาไทย และคำอื่น ๆ ที่ใช้เป็นชื่อเรียกรัฐหรือหน่วยการเมือง ดินแดน และผู้คน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำโขงทางตะวันออกถึงแม่น้ำสาละวิน ทางตะวันตก สิบสองพันนาทางเหนือจรดสุโขทัยทางใต้ ผู้เขียนพบว่า รูปศัพท์ อักขรวิธี และบริบทการใช้งานของคำดังกล่าวมีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยโดยสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน ยุคนั้น ๆ โดยในระยะแรกที่ระบบศักดินาในอาณาจักรล้านนากำลังก่อรูป อาณาจักรดังกล่าวใช้ชื่อว่า “ปาไป่” หรือ “แปดปากนา” เมื่อระบบศักดินาก่อรูปโดยสมบูรณ์แล้วจึงปรากฏการใช้คำว่า “ล้านนา” แทน ต่อมาเมื่อล้านนาตกสิ้นสถานะอาณาจักรเอกราช มีการผูกคำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ล้านนา 57 หัวเมือง ล้านนาไท(ย) รวมถึงการผูกคำว่าล้านนาเข้ากับ ชื่อเมืองต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อสะท้อนสภาวะทางการเมืองที่เกิดขึ้นกับ ความเป็นรัฐของล้านนา ณ ขณะนั้น กระทั่งเมื่อล้านนาถูกผนวกยึดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามในยุคอาณานิคม รัฐบาลสยามใช้คำว่า “หัวเมือง/มณฑลลาวเฉียง” และ “มณฑล/ภาคพายัพ” เป็นชื่อทางการเมืองการปกครอง แทนที่คำว่าล้านนา โดยคำว่าล้านนาถูกชนชั้นนำชาวสยามเปลี่ยนเป็น “ลานนาไทย” และใช้ในทางประวัติศาสตร์เท่านั้น จนในระยะร่วมสมัยจึงได้มีการเปลี่ยนกลับเป็นชื่อ “ล้านนา” ตามการขยายตัวของการศึกษาค้นคว้าด้านล้านนาคดีและความตื่นตัวของกระแสสำนึกล้านนา เป็นผลให้คำดังกล่าว เป็นที่นิยมใช้ในวงกว้างถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกพร นุ่มทอง, แปลและเรียบเรียง. หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2564.

กรมตำรา. ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2468. จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1: จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2551.

ณัชชา เลาหศิรินาถ. สิบสองพันนา: รัฐจารีต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2541.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. เทศาภิบาล, ฉบับมติชน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พระนคร: โรงพิมพ์ อักษรสัมพันธ์, 2505.

ตอนที่ 32, “เสภาขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565. https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ/ตอนที่-๓๓-แต่งงานพระไวยพลายงาม.

เท่าคว้างเซ้ง และ อ้ายคำ, เรียบเรียง, เรณู วิชาศิลป์, ปริวรรต. เชื้อเครือเจ้าแสนหวีสิบสองพันนา. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม, 2544.

เทพประวิณ จันทร์แรง, พระครูปลัดอุทัย รตนปญฺโญ, พระมหาชัยวิชิต ชยาภินฺนโท, พระปลัด ณัฐพล จนฺทิโก, และพรศิลป์ รัตนชูเดช. “ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา.” รายงานวิจัย, มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, 2560. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/293.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนกุล, บรรณาธิการ. รายงานสัมมนาทางวิชาการวรรณกรรมลานนา ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26-28 ตุลาคม 2524. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2527.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. “ลานนา, ล้านนา, และล้านนาไทย: ข้อสังเกต” ใน Undergrad Rewrite Curated Pieces of Cross-Disciplinary 01: Madness Otherness and Suffering ความบ้า ความเป็นอื่น และทุกขภาวะ, บรรณาธิการโดย วริศ ลิขิตอนุสรณ์, 229-232. กรุงเทพฯ: Newground Publishing, 2560.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. “รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ.2417-2476.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

“‘ล้านนา’ ไม่เท่ากับเชียงใหม่?: ที่มาภูมินามและความหมายในบริบทรัฐจารีต | Decentralizing Lanna #2,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565. https://prachatai.com/journal/2018/11/79681.

ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. “ลิลิตตะเลงพ่าย.” สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565. https://vajirayana.org/ลิลิตตะเลงพ่าย.

ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 4. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์, 2507.

ประเสริฐ ณ นคร. โคลงนิราศหริภุญชัย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2547.

พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล), พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม, และ ประทีป พืชทองหลาง. “เจดีย์หลวงมหาธาตุกลางเวียง: ภาพสะท้อนคติจักรพรรดิราช ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - พ.ศ. 2030)” วารสารปณิธาน 18, ฉ.1 (มกราคม-มิถุนายน 2565): 111-139.

พริษฐ์ ชิวารักษ์. “ล้านนาไทย (?): ทบทวนวิวาทะว่าด้วยความไทยหรือไม่ไทยของล้านนา.” ใน Undergrad Rewrite Curated Pieces of Cross-Disciplinary 01: Madness Otherness and Suffering ความบ้า ความเป็นอื่น และทุกขภาวะ, บรรณาธิการโดย วริศ ลิขิตอนุสรณ์, 211-228. กรุงเทพฯ: Newground Publishing, 2560.

ภิญญพันธุ์ พจนลาวัณย์. “ผลงานในชีวิตและชีวิตในผลงาน: ประวัติศาสตร์นิพนธ์แสน ธรรมยศ.” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ 22, ฉ.2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2558): 92-114.

ภิญญพันธุ์ พจนลาวัณย์. “ล้านนาที่เพิ่งสร้าง: ประวัติศาสตร์สังคมของดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน (พ.ศ.2475-2557).” วารสารไทยคดีศึกษา 17, ฉ.2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563): 109-144.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์. รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดี (ครั้งที่ 1: ลานนาไทย) 20-23 ตุลาคม 2510. เชียงใหม่: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2511.

เรณู วิชาศิลป์. พื้นเมืองแสนหวี ฉบับหอคำเมืองไหญ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม, 2550.

ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว. 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์, 2545.

วรชาติ มีชูบท. “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (26).” ฝากเรื่องราวไว้ให้กับน้องๆ, สืบค้น เมื่อวันที 2 ธันวาคม 2565. http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_156.htm.

ศักดิ์ รัตนชัย. ลานนา ล้านนา เป็นของใคร?. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2530.

สิงฆะ วรรณสัย. ปริวรรตและถอดความ. โคลงมังทรารบเชียงใหม่. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2522.

สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2544.

สรัสวดี อ๋องสกุล, ปริวรรต ตรวจสอบ และวิเคราะห์, นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการ. พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ 2546.

สรัสวดี อ๋องสกุล, ปริวรรตและจัดทำ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, บรรณาธิการ. พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2539.

สุรพล ดำริห์กุล. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2539.

สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์. คลองเจือแห่งพระเจ้ากือนา. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป.).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ม.58/33 พระยาศรีสหเทพออกไปจัดราชการทางมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือและมีพระราชบัญญัติอากรที่ดินด้วย (30 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443).

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มส์บุคส์, 2547.

Abramson, Scott F. “The Origins of Territorial State.” accessed October 11, 2020. https://scholar.princeton.edu/sites/default/files/sabramso/files/Abramson_Paper_v2.pdf.

Penth, Hans. A Brief History of Lanna. Chiang Mai, Thailand: Silkworms Books, 1994.

Penth, Hans. “The Orthography of the Toponym Lan Na,” Journal of the Siam Society 68, no. 1 (January, 1980): 128.

Shorto, H. L. “The 32 "Myos" in the Medieval Mon Kingdom.” Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London 26, no. 3 (1963), 572-591.

Sithu Gamani Thingyan. Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai), Translated by Thaw Kaung and Ni Ni Myint. Yangon, Myanmar: Universities Historical Research Center, 2003.

Suarez, Thomas. Early Mapping of Southeast Asia: The Epic Story of Seafarers, Adventurers, and Cartographers Who First Mapped the Regions between China and India. Singapore: Periplus, 2008.