ลายพรางกลางสังเวียน : กระบวนการเป็นอารยะ การเป็นวิทยาศาสตร์และการเป็นวิชาชีพของกีฬามวยสากลอาชีพในสังคมไทย (ค.ศ. 1945-1955)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้ต้องการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของกีฬามวยสากลอาชีพในสังคมไทยภายใต้บริบททางการเมือง ธุรกิจ และเทคโนโลยีสื่อสาร ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาการปรับทัศนคติและการปฏิบัติในเรื่องการเป็นอารยะ การเป็นวิทยาศาสตร์ และการเป็นวิชาชีพที่ยึดถือกันในระดับสากลของกีฬาชนิดนี้มาเป็นลักษณะเฉพาะของไทยในช่วง ค.ศ. 1945-1955 การศึกษาพบว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการฟื้นฟูกีฬามวยสากลอาชีพขึ้นทั่วโลก ทำให้กลุ่มคนที่มีวิชาชีพเกี่ยวข้องโดยตรงกับมวยสากลอาชีพในสังคมไทยพยายามเชื่อมโยงกีฬาชนิดนี้ในสังคมไทยกับเครือข่ายระดับนานาชาติ แต่กลุ่มคนที่มิได้มีวิชาชีพเกี่ยวข้องโดยตรงกับกีฬาชนิดนี้โดยเฉพาะผู้นำเหล่าทัพที่มีบทบาททางการเมืองได้เข้ามาอุปถัมภ์ รวมทั้งนำแบบแผนการปฏิบัติของเหล่าทัพและแนวคิดทหารนิยมเข้าครอบงำกีฬามวยสากลอาชีพในสังคมไทยทำให้นักมวยชาวไทยและผู้เกี่ยวข้อง มองว่าการแข่งขันกีฬาชนิดนี้เป็นดั่งการสู้รบเพื่อปกป้องเกียรติภูมิของชาติ ทัศนคติและการปฏิบัติเรื่องกระบวนการเป็นอารยะ การเป็นวิทยาศาสตร์ และการเป็นวิชาชีพในสังคมไทยจึงเสื่อมความสำคัญเมื่อเทียบกับแนวทางสากล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
“การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลกจัดที่นั่ง 56,000 ค่าดูร่วม 6 ล้านบาท.” กีฬา, 7 มีนาคม 2497.
กีฬา, 1 มีนาคม 2496.
กีฬา, 19 เมษายน 2496.
กีฬา, 11 ตุลาคม 2496.
“กติกาการแข่งขันมวยสากลของเวทีราชดำเนิน.” กีฬา, 7 ธันวาคม 2490.
““กระทิงเปลี่ยว” ผล พระประแดงชี้แจงว่า เมื่อ “เสือ” จะต้องกลายเป็น “หมู”.” กีฬา, 29 ตุลาคม 2492.
กลุ่มอนุรักษ์เอกสารของคณะรัฐมนตรี. มติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 30/2497 เรื่อง การแข่งขันชกมวย ชิงตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกที่ว่าง (19 พฤษภาคม 2497).
กลุ่มอนุรักษ์เอกสารของคณะรัฐมนตรี. มติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 41/2497 เรื่อง การแข่งขันชกมวย ชิงตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกรุ่นแบนตั้มเวทแทนตำแหน่งที่ว่าง (30 มิถุนายน 2497).
“ข่าวการรับรองสมุหเทศาภิบาล.” วิทยาจารย์. เล่มที่ 13, ตอนที่ 13 (1 กรกฎาคม 2456), 724-734.
“ข่าวย่อยในวันชกชิงแชมเปี้ยนโลก.” กีฬา, 21 มีนาคม 2497.
“เขาบินไปสร้างชื่อให้วงการมวยของไทย.” กีฬา, 30 เมษายน 2493.
“ครูกิมเส็ง ม.ล.ยิ่งศักดิ์ ช่วยกันฝึกซ้อมให้จำเริญ.” กีฬา, 5 ตุลาคม 2495.
ครูเชาวน์. “ลักษณะที่ต่างกันระหว่างมวยไทยกับมวยสากล.” กีฬา, 13 กุมภาพันธ์ 2492.
“ใครจะเปนแชมเปี้ยนรุ่นเวลเตอร์เวทของไทย.” กีฬา, 14 มีนาคม 2491.
“คล่อง ภู่ภิญโญชนะคะแนนแจ็คกี้ ไรอัน.” กีฬา, 25 มิถุนายน 2493.
“จำเริญเข้าค่ายซ้อมที่สามพราน นครปฐม.” สังเวียน The Ring, 5 กรกฎาคม 2497.
“จำเริญซ้อมเข้มข้น.” กีฬา, 2 พฤษภาคม 2497.
“จำเริญซ้อมหนักเตรียมรับศึก ‘อาทิตย์อุทัย’.” กีฬา, 1 มีนาคม 2496.
“จำเริญไม่หวั่นมาเชียสขู่.” สยามนิกร, 18 กุมภาพันธ์ 2498.
ชาญ พนารัตน์. “พัฒนาการการควบคุมพฤตติกรรมความก้าวร้าวในสยาม.” วารสารสังคมศาสตร์ 31, ฉ.1 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 81-109.
ชาญ พนารัตน์. บนทางสู่อารยะ: สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ในทัศนะของนอร์เบิร์ต เอไลอัส.กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์, 2565.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทยสยามพ.ศ. 2475 -2500. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2562.
ชิตพล กาญจนกิจ. “การสร้างและรักษาอำนาจทางการเมืองของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
“เชียงใหม่ตื่นมวยสากล.” กีฬา, 21 มิถุนายน 2496.
ซูโม่. “อธิบดีเผ่าส่งครูกิมเส็งไปญี่ปุ่นพร้อมจำเริญ.” กีฬา, 2 พฤศจิกายน 2495.
ณัฐพล ใจจริง. ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี: การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2563.
“เตรียมตำรวจ 500 ป้องกันเหตุร้ายวันชิงแชมเปี้ยนโลก.” สยามรัฐ, 16 กันยายน 2497.
“ถวัลย์เหินฟ้าไปทำศึกใหญ่ที่สิงคโปร์.” กีฬา, 20 สิงหาคม 2493.
“ทวิชจะพานักมวยไทยไปญี่ปุ่นกลางกรกฎา.” สังเวียน The Ring, 21 มิถุนายน 2497.
“ไทย-ญี่ปุ่น/ ฟิลิปปินส์ ร่วมวางรากฐานสหพันธ์มวยตะวันออก.” กีฬา, 7 พฤศจิกายน 2497.
ทิม อติเปรมานนท์. “คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มหัดมวย Hints to Novice Boxer.” กีฬา, 13 เมษายน 2495.
“ทหารต้อนรับวอลี ธอม.” พิมพ์ไทย, 9 มกราคม 2498.
“นักมวยไทยคึกคักในสิงคโปร์.” กีฬา, 27 กุมภาพันธ์ 2492.
“เบื้องหลังการเดินทางกลับของจำเริญ ทรงกิตรัตน์.” กีฬา, 22 มกราคม 2493.
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง กำหนดจำนวนแท่งอัตราเงินเดือน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2494, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 68 ตอนที่ 48 (24 กรกฎาคม 2494): 2956-2959.
“ผล พระประแดงสร้างเคหะที่ได้จากการชกมวย.” กีฬา, 18 มิถุนายน 2493.
“ผล-กุยกองยัง จะชิงแชมเปี้ยนเฟเธอร์เวทแห่งตะวันออกไกล.” กีฬา, 16 มกราคม 2492.
ภิญญพันธ์ พจนะลาวัลย์. กำเนิด ‘ประเทศไทย’ ภายใต้เผด็จการ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.
“แม่ทัพที่ 1 สนับสนุนสมเดชชิงแชมเปี้ยน.” กีฬา, 6 กันยายน 2496.
ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา, ม.ล. “ข้อบกพร่องของการฝึกซ้อมกีฬามวยสากล.” กีฬา, 1 มกราคม 2491.
“ยอมเลื่อนวันจำเริญชกชิงแชมเปี้ยน.” สยามนิกร, 17 กุมภาพันธ์ 2497.
“รายได้ค่าบัตรผ่านประตูและเงินรางวัล.” กีฬา, 25 มกราคม 2496.
“ลดค่ารถโดยสารแก่ผู้มาชมชกมวยชิงแชมเปี้ยนโลก.” ข่าวพาณิชย์, 20 สิงหาคม 2497.
“ลุงแนทจะพาวอลแธมมากรุงเทพ.” สังเวียน The Ring, 26 กรกฎาคม 2497.
“วันสำคัญของชาติไทย.” สารเสรี, 18 กันยายน 2497.
วิทยาจารย์. เล่มที่ 12, ตอนที่ 22 (15 พฤศจิกายน ร.ศ.131).
ศิริ อ่องสุนทร. “ศิลปะในเชิงมวยสากล.” กีฬา, 14 มีนาคม 2491.
“สารแถลง.” กีฬา, 12 มิถุนายน 2492.
สมิงกะหร่อง. “มุมกลาง.” กีฬา, 9 พฤษภาคม 2497.
สุชิน ตันติกุล. รัฐประหาร พ.ศ.2490 จุดกำเนิดอำนาจนิยมของกองทัพ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.
สังเวียน The Ring, 30 สิงหาคม 2497.
“สั่งสมเดชฟิตหมัดซ้ายอย่างหนัก แขนเคล็ดหายแล้ว.” สารเสรี, 13 มกราคม 2498.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 – 2500). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ทีเพรส, 2553.
“สมพงษ์จะบุกฮาไว.” กีฬา, 11 มกราคม 2491.
เสือสมิง. “ข้าพเจ้าสู้เพื่อเกียรติของชาติไทย.” กีฬา, 3 สิงหาคม 2491.
เสือสมิง. “ค่ายฉวีวงศ์เริ่มสร้างเวทีทันสมัยแล้ว.” กีฬา, 26 กรกฎาคม 2496.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี สร.0201.8/119 เรื่องพระยาจินดารักษ์ (พ.ศ. 2496).
“หนังสือพิมพ์ The Ring ตั้งผู้แทนประจำประเทศไทย.” กีฬา, 4 พฤศจิกายน 2496.
“อธิบดีกรมตำรวจถอดพระจากสร้อยคอให้จำเริญในโอกาสที่ลาไปชกชิงแชมเปี้ยนที่มะนิลา.” กีฬา, 27 กรกฎาคม 2495.
“อธิบดีกรมตำรวจทั่วเอเชียตะวันออกจะมาดูมวยรายการ “วันตำรวจ”.” กีฬา, 27 กันยายน 2496.
“อธิบดีเผ่าซื้อบ้านให้จำเริญ.” กีฬา, 15 มีนาคม 2496.
อภิชาต สถิตนิรามัย. รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจจากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤติเศรษฐกิจ 2540. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.
“ออมทรัพย์ยังไม่ได้ไปญี่ปุ่น.” มวย, 5 มิถุนายน 2498.
“อัศวินส่งอุสมานเข้า ‘ห้อง’ กองปราบให้สงบสติอารมณ์เกรงจะไปกันใหญ่.” กีฬา, 28 มิถุนายน 2496.
“แอล ซิลวานี เดินทางไปสามพรานดูจำเริญซ้อม.” สังเวียน The Ring, 19 กรกฎาคม 2497.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายโม่ สัมบุณณานนท์. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์, 2520.
Apisake Monthienvichienchai. “The Change in The Role and Significant of Muay Thai, 1920-2003.” Master’s Thesis, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, 2004.
Boddy, Kasia. Boxing A Cultural History. London, UK: Reaktion Books. 2008.
Collins, Tony. Sport in Capitalist Society: A Short History. New York: Routledge, 2013.
Corbett, James John. Scientific Boxing. New York: Richard K. Fox. 1912.
Corbett, W. F. “Siamese Boxer Learns under “Jungle” Rules.” The Sun (Sydney), February 22, 1950.
Day, Dave. “‘Science’, ‘Wind’ and ‘Bottom’: Eighteenth-Century Boxing Manuals.” The International Journal of the History of Sport 29, no.10 (July 2012): 1446-1465.
Donovan, Mike. The Science of Boxing Also Rules and Articles on Training Generalship in the Ring and Kindred Subject. New York: Dick & Fitzgerald, 1893.
Elias, Norbert and Eric Dunning. Quest for Excitement: Sport and Leisure Civilizing Process. Dublin: University College Dublin Press, 2008.
Fleming, Tyler. “‘Now the African Reigns Supreme’: The Rise of African Boxing on the Witwatersrand, 1924-1959.” The International Journal of the History of Sport 28, no. 1 (January 2011): 47-62.
Gems, Gerald “Boxing.” In Routledge Handbook of Global Sport, edited by John Nauright and Zarah Zipp, 117-126. New York: Routledge, 2020.
Jakkrit Sangkhamanee. “Thai Boxing and Embodiment: The Construction of Masculinity Through Sportsmanship.” The Asian Conference on Cultural Studies Official Conference Proceedings 2012, 161-172. Nagoya, Japan: The International Academic Forum, 2012.
“Louis Dejsada’s Courage Was Not Enough.” The Straits Times, February 19, 1950.
Marciano, Rocky. Charley Goldman and Al Bachman. Rocky Marciano’s Book Of Boxing And Bodybuilding. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, 1957.
McComb, David G. Sport in World History. New York: Routledge, 2004.
Nene, Little. “Boxing Booms in Bangkok.” The Singapore Free Press, March 5, 1955.
Pattana Kittiarsa. “‘Lives of Hunting Dogs’: “Muay Thai” and the Politics of Thai Masculinities.” Southeast Asia Research 13, no. 1 (March, 2015): 57-90.
“Penang Boxing.” The Straits Times, February 6, 1935.
Rader, Benjamin G. In Its Own Image: How Television Has Transformed Sports. New York: The Free Press, 1984.
Robert, Randy. “Eighteenth Century Boxing.” Journal of Sport History 4, no. 3 (Fall 1977): 246-259.
Rondione, Troy. Friday Night Fighter: Gaspa ‘Indio’ Ortega and the Golden Age of Television Boxing. Urbana Chicago: University of Illinois Press, 2013.
Shin, Eui Hang. “State, Society and Economics Development in Sports Life Cycles: The Case of Boxing in Korea.” East Asia 24, no. 1 (April 2007): 1-22.
Suchit Bunbongkarn. “The Military and Democracy in Thailand.” in The Military and Democracy in Asia and the Pacific, edited by (Ronald James May and Viberto Selochan, 47-58. Canberra, Australia: ANU E Press, 2004.
“Schmeling Handicapped by Injured Hand.” The Straits Times, October 9, 1935.
Vail, Peter. “Muay Thai: Inventing Tradition for a National Symbol.” Sojourn: Journal of Social Issue in Southeast Asia 29, no. 3 (November, 2014): 509-553.