“มหาชัย”: ประวัติศาสตร์เพลงสยามผ่านเอกสารโน้ตเพลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
“มหาชัย” ถือเป็นทำนองเพลงที่มีประวัติยาวนานที่สุดในบรรดาเพลงที่ได้ถูกกำหนดใช้ในฐานะเพลงเกียรติยศ เดิมเป็นเพลงประโคมขับร้องเพื่อบูชาแก่สิ่งของ ผี บุคคล และเทพยาดา ใช้ประกอบละครในฉากทำขวัญ ซึ่งเชื่อว่ามีส่วนที่เป็นมโหรีประกอบพิธีกรรมของฝ่ายใน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการศึกษาเผยแพร่ประวัติของทำนองเพลงดังกล่าวค่อนข้างน้อย จากการศึกษาพบว่าราวปี พ.ศ. 2440 มีอิทธิพลจากลัทธิอาณานิคมซึ่งมีส่วนสำคัญต่อแนวคิดเรื่องการคัดเลือกเพลงชาติที่สมควรใช้ในโอกาสต่าง ๆ ทำนองมหาชัยเดิมจึงถูก “แปลง” เป็นทำนองแบบใหม่ที่เรียกว่า “ทางฝรั่ง” ใช้แตรวงบรรเลง ซึ่งเป็นเพลงคำนับใช้เมื่อบุคคลสำคัญมาถึงมณฑลพิธี รวมถึงเชิญธงสำคัญ จากบันทึกพบว่ามีเอกสารโน้ตเพลงบันทึกทำนองอย่างน้อย 4 สำนวนที่สำคัญ ได้แก่ เอกสารของกรมศิลปากร 2 ฉบับ และเอกสารโน้ตเพลงของ Paul J. Seelig 2 ฉบับ เนื่องจาก “มหาชัย” เคยมีบทบาทในฐานะเพลงที่สามารถใช้แทนเพลงชาติในช่วงเวลาก่อนการปฏิวัติการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ในโอกาสเชิญธงชาติ จนมีการตกลงให้ใช้งานทำนองเพลงขึ้นในระดับประชาชนช่วงสั้น ๆ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ครองอุดมการณ์แบบราชาชาตินิยม จึงมีแนวคิดการประพันธ์คำร้องเพลงมหาชัยขึ้นใส่ไว้ในเพลงสัญญาณ วิธีบรรจุคำร้องแบบใหม่จึงเป็นส่วนขยายความทำนองเพื่ออธิบายชาตินิยมผ่านบริบททางการเมืองยุคหลัง 2475
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กรมยุทธนาธิการ. ข้อบังคับว่าด้วยการใช้อาณัติสัญญาต่าง ๆ ในกรมทหารบก ร.ศ. 124. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ, 2448.
กรมศิลปากร. เพลงชุดทำขวัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2498.
กรมศิลปากร. เพลงชุดโหมโรงเย็นฉบับรวมเครื่อง. London: J. Thibouville & Co., 2493.
กระทรวงกลาโหม. ข้อบังคับทหารว่าด้วยการเคารพ, มาตรา 3 การบรรเลงเพลงเคารพ. พระนคร: ศาลาว่าการกลาโหม, 2478.
คำสั่งกระทรวงธรรมการ ที่ศ.ก. 49/2479 เรื่องทำบันทึกบทเพลงไทยเป็นโน้ตสากล (19 สิงหาคม 2479): 1.
เจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร), พระ. “ครึ่งศตวรรษของเพลงเกียรติยศ.” วารสารศิลปากร 1, ฉ. 1 (กรกฎาคม 2490): 32-34.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “อธิบายบทละครครั้งกรุงเก่า.” ใน บทละครครั้งกรุงเก่าเรื่องนางมโนห์ราและสังข์ทอง, บรรณาธิการโดย กรมศิลปากร, 1-5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรื่องรัตน์, 2462.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานเรื่องลครอิเหนา. พระนคร: โรงพิมพ์ไทย, 2464.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประชุมบทมโหรี: มีบทมโหรีเก่าใหม่ แลพระราชนิพนธ์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.
แปลก พิบูลสงคราม. ประมวนวัธนธัมแห่งชาติ. ม.ป.ท.: กรมโคสนาการ, 2486.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. เพลงมโหรีแห่งกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส, 2561.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระฯ. บทลครนอก พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 รวม 6 เรื่อง ฉบับหอพระสมุดวชิญาณ. พระนคร: โรงพิมพ์ไท, 2465.
พระมหานาค, วัดท่าทราย. บุณโณวาทคำฉันท์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางละม่อม เฉลยวาเรศ และ นางเยาวภา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2502.
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2460. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 34 ตอนที่ 436 (28 กันยายน 2460): 436-440.
ฟรานซีส นันตะสุคนธ์. “สัญลักษณ์และประวัติคีตวรรณกรรมสยามโดย “พระอภัยพลรบ”: นักวิทยาดนตรี คนแรกของประเทศไทย.” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 41, ฉ. 5 (กันยายน-ตุลาคม 2564): 57-69.
ระเบียบส่วนราชการในพระองค์ว่าด้วยการบรรเลงดุริยางค์ในการพระราชพิธีหรือพิธีการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2567. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 288 ง (22 ตุลาคม 2567): 1- 2.
ราชบัณฑิตยสภา. แผ่นเสียงของราชบัณฑิตยสภา ชุดที่ 1. พระนคร: สยามพณิชยการ, 2476.
ราชบัณฑิตสภา. บทละคอนเรื่องสังข์ทอง, พระราชนิพนธ์ในพระบาดสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนที่ 5 พระสังข์ตีคลี. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472.
ราตรี ผลาภิรมย์. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องสังข์ทอง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน.” วารสารธรรมศาสตร์ 27, ฉ. 1 (ธันวาคม 2544): 1-102.
สามัคยาจารยสมาคม. “โปรแกรมสามัญ ณ สโมสรสถานของสามัคคจารย์สมาคม.” วิทยาจารย์ 6, ฉ. 1 (มกราคม 2449): ปกหลัง.
สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องระเบียบการบรรเลงดุริยางค์ในการพระราชพิธีหรือพิธีการต่าง ๆ และคำชี้แจงของกรมศิลปากร เรื่องการใช้เพลงเกียรติยศ พร้อมด้วยประวัติเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2515.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. ประชุมบทมโหรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2542.
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. “บทละครเรื่องรามเกียรติ์, สมุดไทยเล่มที่ ๘.” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566. http://vajirayana.org/บทละครเรื่องรามเกียรติ์/สมุดไทยเล่มที่-๘.
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕, ตอนที่ ๕ บรมราชาภิเษก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566. http://vajirayana.org/พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่-๕/ตอนที่-๕.
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. “สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๒, วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ดร.” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566. http://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๒/กุมภาพันธ์/วันที่-๒๐-กุมภาพันธ์-พศ-๒๔๘๒-ดร.
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. “สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๔, วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ น.” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566. http://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๔/กันยายน/วันที่-๒๓-กันยายน-พศ-๒๔๘๔-น.
อภัยพลรบ, พระ. ดนตรีวิทยา. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ, 2455.
อานันท์ นาคคง, "เพลงสยาม, พอล เจ ซีลิค และอื่นๆอีกมากมาย (ที่สายเสียแล้ว)" ในวารสารเพลงดนตรี 2,4 (ธันวาคม 2538).
Said, Edward W. Orientalism. New York: Pantheon Books, 1978.
Seelig, Paul J. Maha Tchay Siamese Hymn: for Orchestra. Bandoeng: Matatani, 1930.
Seelig, Paul J. Siamesische music: Siamese music. Bandoeng: J. H. Seelig & Zoon, 1932.