กำเนิดและความท้าทายของศิลปศาสตร์ในระบบการศึกษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มองกลับไปถึงกำเนิดของแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบศิลปศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้เพราะรัฐบาลต้องการฝึกฝนทางวิชาชีพ จนเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นการริเริ่มแนวการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มองกว้างไปกว่าการฝึกฝนวิชาชีพ หากแต่คำนึงถึงมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีจุดหมายของการสร้างระบบประชาธิปไตยในประเทศ แนวทางและนโยบายดังกล่าวยุติลงหลังรัฐประหาร 2490 พร้อมกับการก่อตั้งคณะวิชาตามวิชาชีพ จนหลังการรัฐประหารของคณะทหารและการขึ้นมาของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ให้นโยบายในการตั้งคณะศิลปศาสตร์ อันเป็นที่มาของการเปิดทิศทางเสรีในการศึกษาแก่นักศึกษาธรรมศาสตร์ในยุคเผด็จการ บทความประเมินผลกระทบและอิทธิพลในทางความคิดการเมืองเสรีนิยมว่ามีในลักษณะใดและในเนื้อหาอะไร รวมถึงความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเสนอข้อคิดแก่อนาคตของอุดมศึกษาในแนวของศิลปศาสตร์ในยุคโลกาภิวัตน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ 2435-2507, พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบรอบเจ็ดสิบสองปีของกระทรวง วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2507. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2507.
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารการประชุมอุปราชและสมุหเทศาภิบาล ร. 6 ศธ. 42/13 (พ.ศ. 2462)
กาญจนี ละอองศรี, วารุณี โอสถารมย์, และ อังคาร จันทร์เมือง. ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กับหลักสูตรวิชาพื้นฐานศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บรรณาธิการโดย กาญจนี ละอองศรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
เกษม เพ็ญภินันท์, คำยวง วราสิทธิชัย, หม่อมหลวง, วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์, รพีพรรณ เจริญวงศ์, ดุษฎี วรธรรมดุษฎี, สิโรบล สุขสวคนธ์, ปิยรัตน์ ปั้นลี้, และ เสาวณิต จุลวงศ์. รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาศิลปศาสตร์ (Liberal Arts Education) ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. บรรณาธิการโดย เกษม เพ็ญภินันท์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.
กุหลาบ สายประดิษฐ์. “มนุษยภาพ หรือปรัชญาการเมืองของความเป็นมนุษย์ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์.” ศิลปวัฒนธรรม 26, ฉ. 5, (มีนาคม 2548): 92-100.
ฉลอง สุนทราวาณิชย์. “ปฐมมหาวิทยาลัยวิพากษ์: เอกสารประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” บานไม่รู้โรย 3, ฉ. 11 (ธันวาคม 2530): 51-59.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุนทรี อาสะไวย์, สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์, ทรงยศ แววหงษ์, สุวิมล รุ่งเจริญ, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, และ ดำรง ใคร่ครวญ. สำนักนั้น ธรรมศาสตร์และการเมือง. บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2535.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข, และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. “มนุษยภาพ หรือปรัชญาการเมืองของความเป็นมนุษย์ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์.” ศิลปวัฒนธรรม 26, ฉ. 5 (มีนาคม 2548): 92-100.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. “มองป๋วยผ่านสังคมร่วมสมัย.” วิภาษา 1, ฉ. 3 (มิถุนายน-กรกฎาคม 2550): 40-46.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. รายงานการวิจัยเรื่อง กรณีศึกษาการจัดการศึกษาด้านศิลปวิทยาศาสตร์ (Liberal Arts Education) ของประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: สกศ. 2552.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2555.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556.
ปรามินทร์ เครือทอง. มหาวิทยาลัยในจุดเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: ธัชชา, 2566.
ปรีชา สุวรรณทัต. “ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.” ใน ที่ระลึกวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 41 ปี 27 มิถุนายน 2518. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์. อุดมคติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2517.
แบรดลีย์, แดน บีช. หนังสือจดหมายเหตุ (The Bangkok Recorder), ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสมหมาย ฮุนตระกูล. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, 2537.
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. มหาวิทยาลัยชีวิต. กรุงเทพฯ: สามัญชน, 2531.
ศรีบูรพา [นามแฝง]. ธรรมจักร 5, ฉ. 2 (2495).
อดุล วิเชียรเจริญ. “สมเด็จพระบรมราชชนกกับการพัฒนาประเทศ ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และการศึกษา.” ใน 36 ปีศิลปศาสตร์ 72 ปีศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.
Aphornsuvan, Thanet. “The West and Siam’s Quest for Modernity: Siamese Response to Nineteenth Century American Missionaries.” South East Asia Research 17, No. 3 (November 2009): 401-432.
Geiger, Roger. The History of American Higher Education: Learning and Culture from the Founding to World War II. Princeton, NJ: Princeton University Press, 2015.