อิทธิพลแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต” ต่อการผลิตงานเขียนว่าด้วยอีสานในทศวรรษ 2490
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต” ที่ขยายตัวในกลุ่มปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้าของไทยในทศวรรษ 2480 คือหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่ปัญญาชนเหล่านี้ได้ใช้เป็นแนวทางในการผลิตงานเขียนเกี่ยวกับอีสานในทศวรรษ 2490 เมื่อแกนหลักของแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต” คือการตีแผ่ความรู้และความจริงไปสู่สังคมเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบจากรัฐและชนชั้นปกครอง เหตุนี้บรรดาเนื้อหาและประเด็นที่ปรากฏอยู่ในงานเขียนของปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้าในทศวรรษ 2490 จึงมุ่งนำเสนอความทุกข์เข็ญของราษฎรในพื้นที่อีสานที่กำลังประสบกับภัยแล้งที่ยาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของรัฐและชนชั้นปกครองที่ละเลยกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะที่ปัญญาชนที่อยู่ข้างฝ่ายรัฐและชนชั้นปกครองของไทยก็ผลิตงานเขียนโต้กลับเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกตนไม่เคยละทิ้งราษฎรในภูมิภาคดังกล่าว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กรมศิลปากร. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2491-2499. พระนคร: กรมศิลปากร, 2500.
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. เขียนชนบทให้เป็นชาติ: กำเนิดมานุษยวิทยาไทยในยุคสงครามเย็น. กรุงเทพฯ: มติชน, 2562.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. ไผ่แดง. พระนคร: โรงพิมพ์ชัยฤทธิ์, 2498.
จิตร ภูมิศักดิ์. โฉมหน้าศักดินาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2548.
จินตนา ดำรงเลิศ. “การปะทะทางความคิดในนวนิยายเรื่อง ‘ไผ่แดง’.” วารสารราชบัณฑิตยสถาน 31, ฉ. 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2549): 822-823, 826.
ชุมนุมสุนทรพจน์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายชีต ขีตตะสังคะ และนายเจริญ พันธุกระวี. กรุงเทพฯ: ประสานชัยยสิทธิ์, 2496.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. “ฟ้าบ่กั้น หยังว่าให้ห่างกัน.” วารสารอ่าน 1, ฉ. 3 (ตุลาคม-ธันวาคม2551): 71 - 93.
ณัฐพล ใจจริง. “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500).” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
ทีปกร. ศิลปเพื่อชีวิตศิลปเพื่อประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หนังสือ, 2515.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2526.
ธัญญา สังขพันธานนท์. “จากกวีนิพนธ์ “อีศาน” สู่ “วาทกรรมอีสาน”: การประกอบสร้างความหมายของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวรรณกรรมเกี่ยวกับภาคอีสาน.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 29, ฉ. พิเศษ (2550): 287-312.
นายผี. “อีศานล่ม.” ใน กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองสยาม เล่ม 3, บรรณาธิการโดย วิมล พลจันทร, 227. กรุงเทพฯ: อ่าน, 2557. https://readjournal.org/wp-content/uploads/2019/05/2-อีศานล่ม.pdf.
นายผี. “โอ้อีศาน.” ใน กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองสยาม เล่ม 3, บรรณาธิการโดย วิมล พลจันทร, 266-267. กรุงเทพฯ: อ่าน, 2557. https://readjournal.org/wp-content/uploads/2019/05/2-โอ้อีศาน.pdf.
นายรำ. ไม่มีเสียงหัวเราะจากอีสาณ. พระนคร: โรงพิมพ์ชัยฤทธิ์, 2496.
“บทบรรณาธิการ.” วารสารทางอีศาน 1, ฉ. 1 (พฤษภาคม 2555): 7-11.
ปราการ กลิ่นฟุ้ง. “การเสด็จพระราชดำเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2493-2530.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
ลาว คำหอม. ฟ้าบ่กั้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2522.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศิลปวิชาการ: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์, 2546.
สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต” (พ.ศ.2492 -2501).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
สุชาติ ภูมิบริรักษ์. อีสาน: ดินแดนแห่งเลือดและหยาดน้ำตา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์, 2514.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2491-2500). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2553.
แส น้อยเศรษฐ. อนุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ภาค 3 พ.ศ.2498. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2498.