การเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของธุรกิจเพลง ไทยสากลในทศวรรษที่ 2520
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาธุรกิจเพลงไทยสากลในช่วงทศวรรษที่ 2520 ในด้านการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัว โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้ เกิดจากปัจจัยสำคัญ คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการบันทึกเสียง นั่นคือการเข้ามาของเทปคาสเสต และการออกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ในปี 2521เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดจากความนิยมในการฟังเพลงผ่านเทปคาสเสตในกลุ่มผู้บริโภค ส่วนการขยายตัวของธุรกิจนี้ เกิดจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยสามารถพิจารณาได้จากรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในครัวเรือนและการถือครองวิทยุและโทรทัศน์ตามบ้านเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการทำการตลาดของค่ายเพลงต่างๆ ที่รุนแรงและเข้มข้นเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษนี้
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
จตุรงค์ กอบแก้ว. เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ผู้พลิกหายนะให้เป็นโอกาส เบื้องหลังความสำเร็จ อาร์เอส โปรโมชั่น. กรุงเทพฯ: บริษัทอินฟอร์มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, 2543.
ชัยวัฒน์ ตันติ์เปล่ง และ พงษ์ศักดิ์ กิติสมเกียรติ. รวมเอกสารชุดกฎหมายลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2527.
ทองพลอย [นามแฝง]. “อติพร (สุนทรสนาน) เสนะวงศ์ ครึ่งร้อยปีบทเพลงสุนทราภรณ์,” ใน สุนทราภรณ์ ครึ่งศตวรรษ, รวบรวมโดย คณะอนุกรรมการหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการดำเนินการจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 49 ปี และ 50 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์, 156 - 171. กรุงเทพฯ: เพื่อนชีวิต, 2532.
ฝ่ายวิชาการสูตรไพศาล. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล, 2533.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. สังคีตสมัย. นครปฐม: โครงการตำราและหนังสือ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
วราห์ วรเวช. “ความหวังในอนาคตสำหรับศิลปินผู้สร้างสรรค์.” ในงานเชิดชูเกียรติศิลปินเพลง...สาขาดุริยางคศาสตร์ด้านไทยสากลและผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ณ โรงละครแห่งชาติ 23 มีนาคม 2528, รวบรวมโดย สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย, 14 - 28. กรุงเทพฯ : สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย, 2528.
วันชัย สุนทรถาวร. ชาตรี. ระยอง : อีเอ็มซี มิวสิค แกลเลอรี่, 2549.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจเกี่ยวกับสื่อมวลชน. (วิทยุและโทรทัศน์) พ.ศ. 2527. กรุงเทพฯ: งานสถิติการศึกษาและทัศนคติ ฝ่ายสถิติแรงงานและการศึกษา กองสำรวจ ประชากร, 2528.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจเกี่ยวกับสื่อมวลชน (วิทยุและโทรทัศน์) พ.ศ. 2532. กรุงเทพฯ: งานสถิติการศึกษาและทัศนคติ ฝ่ายสถิติแรงงานและการศึกษา กองสำรวจประชากร, 2535.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สมุดสถิติรายปี ประเทศไทย พ.ศ. 2536. กรุงเทพฯ: งานวารสารสถิติและรายงานสถิติ กองรายงานสถิติ, 2536.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจวิทยุโทรทัศน์ 2522. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2525.
ฉกาจ ราชบุรี. “ประวัติศาสตร์ธุรกิจเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2507 - 2535.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537.
ทรงศิริ โควินท์. “นโยบายและการวางแผนธุรกิจบันเทิงในรูปสื่อครบวงจร : ศึกษากรณีบริษัท แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และบริษัทในเครือ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.
ศมกมล ลิมปิชัย. “บทบาทของระบบธุรกิจเทปเพลงไทยสากลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.
Prit Patarasuk. “Rewat Buddhinan’s Influence on Thai Popular Music (1983-1996).” Master’s thesis, Chulalongkorn University, 2004.
“โฆษณาบริษัทนิธิทัศน์ โปรโมชั่น จำกัด.” ประชาชาติธุรกิจ, 17 สิงหาคม 2531, 46.
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. “จากสกอร์ถึงเทป : เบื้องหลังการทำเพลงไทยสากล.” สารคดี 2, ฉ.24 (กุมภาพันธ์ 2530): 58.
“เรวัต & ไพบูลย์ 2 นินจาตัวจริงแห่งแกรมมี่กับสูตรสำเร็จปั้นดินให้เป็นดาว.” Young Executive ฉ. 55 (พฤษภาคม 2534): 57.
Suchada Kulawat. “Thai Music Comes of Age.” Business Review (February 1988): 25,31.
Heather McDonald. “What Is the Record Label’s Role in the Music Industry?.” The Balance. https://www.thebalance.com/what-is-a-record-label-2460614 (accessed November 21, 2016).