ถนนสุขุมวิทกับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย ช่วงทศวรรษ 2480-2520

Main Article Content

อำพิกา สวัสดิ์วงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาและอธิบายพัฒนาการของถนนสุขุมวิทที่มีความสัมพันธ์ต่อลักษณะเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเริ่มศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบถนนในประเทศไทยและเชื่อมโยงมายังถนนสุขุมวิท และวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีถนนสุขมวิทเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ จากการศึกษาพบว่า ถนนสุขุมวิทเกิดขึ้นภายใต้บริบทการพัฒนาการคมนาคมของประเทศไทย มีแรงผลักดันจากปัจจัยที่สำคัญทั้งภายในและภายนอกได้แก่ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 2490 และนโยบายภาครัฐภายหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจในทศวรรษที่ 2500 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของระบบถนนเชื่อมโยงครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนสุขุมวิทตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2480-2520 ถือเป็นปัจจัยในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคให้ขยายตัวจากพื้นที่เลียบชายฝั่งเข้าสู่พื้นที่ตอนในของภูมิภาคตะวันออก และยังเป็นเส้นทางเชื่อมโยงภาคตะวันออกกับกรุงเทพฯ ส่งเสริมเมืองท่องเที่ยวให้เติบโต เกิดการขยายตัวของชุมชนตามแนวถนน และความสะดวกในการขนส่งลำเลียงสินค้าทำให้เกิดการผลิตสินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบสนองการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์มันสัมปะหลัง การผลิตอ้อยเพื่อทำนำ้ตลา และการปลูกผลไม้เชิงพาณิชย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงคมนาคม คค.202.8.7/344 เรื่องการตรวจสอบสายทาง กรุงเทพฯ-ตราด (พ.ศ. 2501).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย มท.0201.2.1.36/33 รายงานการตรวจราชการจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด (พ.ศ. 2497).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย มท.5.10/145 เรื่อง รายงานตรวจราชการของปลัดจังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2482-2483).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกเหตุการณ์ ก/ป7/2509/พค.7.2 การจัดสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดิน.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารบันทึกเหตุการณ์ ข.1/สร 1.4 เรื่อง ครม. มีมติให้เปลี่ยนแปลงการก่อสร้างทางสายกรุงเทพฯ-บางนา-ศรีราชา โดยให้สร้างทางยาวออกไปจนถึงตราด ตามโครงการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดินที่วางไว้และให้ลดขึ้นเกรด 1 Desirable มาเป็นเกรด 1 Minimum ตามมติ ครม.แต่เดิม (9 ม.ค. 2502)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (1)กค.1.3.3.2/5 โครงการบูรณะก่อสร้างทางหลวง (กู้จากธนาคารโลก) (10 ก.พ.-31 ส.ค. 2504).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (2)กค.1.3.5.1/2 โครงการก่อสร้างทางสายกรุงเทพฯ-ตราด (2506).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (2)กค.1.3.5.1/3 การยกเลิกสัญญาเงินกู้ EXIM BANK ตามโครงการก่อสร้างทางสายกรุงเทพฯ-ศรีราชา.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี(2)สร 0201.66.5/9 เรื่องเงินทุนและการเบิกจ่ายเงินทุนสร้างทาง (30 พ.ค. 2478-19 พ.ย. 2492).

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. รายงานประจำปี พ.ศ. 2494. กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. รายงานประจำปีตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2483.

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. รายงานประจําาปีตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2493.

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. รายงานประจําาปีตั้งแต่ พ.ศ. 2484-2491.

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. รายงานประจําาปีตั้งแต่ พ.ศ. 2510-2514.

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. 84 ปี กรมทางหลวง. กรุงเทพฯ : กรมทางหลวง, 2539.

กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. ทางหลวงในประเทศไทย 2530 (1987). กรุงเทพฯ: งานประชาสัมพันธ์, 2530.

กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามายนามไทย: วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2544.

กฤช เพิ่มทันจิตต์ และ สุธี ประศาสนเศรษฐ. พื้นที่สามจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกกับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคและการพัฒนาแบบพึ่งพา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

เกียรติ จิวะกุล. รายงานการศึกษาภาคตะวันออกเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคม. ม.ป.ท., ม.ป.ป.

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. การพัฒนาการคมนาคมทางบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2521.

ขุนวิจิตรมาตรา. เรื่องของเมืองชล. พิมพ์แจกเนื่องในการทอดกฐิน ณ วัดพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2497.

ตรี อมาตยกุล. นำเที่ยวจังหวัดชลบุรี. พระนคร: โรงพิมพ์อำพลพิทยา, 2502.

นันทยา ชีวะปรีชา. วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ก่อสร้างและบูรณะทางหลวง ตามโครงการ 5 ปี (2520-2524). กรุงเทพฯ: ฝ่ายประเมินผลโครงการ กองวางแผน กรมทางหลวง, 2525.

บุญเดิม พันรอบ. ขบวนการกลายเป็นเมืองของเทศบาลเมืองชลบุรี. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ, 2528.

ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์. เศรษฐศาสตร์การขนส่ง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2542.

พิทักษ์ บุญพจนสุนทร. “การพัฒนาแป้งมันสำปะหลังในรอบ 30 ปี.” ใน 30 สมาคมการค้ามันสำปะหลัง. ม.ป.ท., 2536.

พิธีเปิดทางหลวงแผ่นดินกรุงเทพฯ-ศรีราชา 25 ส.ค. 2512. พระนคร: เอส.ที.เซอร์วิส เซ็นเตอร์, 2512.

ภารดี มหาขันธ์. การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคปรับปรุงประเทศตามแบบสมัยใหม่ถึงปัจจุบัน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.

ภารดี มหาขันธ์. ลักษณะสภาพสังคมและวัฒนธรรมภาคตะวันออก. ชลบุรี: กมลศิลป์การพิมพ์, 2524.

มัสแคต, โรเบิร์ต เจ. สหรัฐอเมริกากับการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536.

ย.ส. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงเยี่ยม จรัญสนิทวงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 14 พฤศจิกายน 2540.

รวงทอง ฉายะพงษ์ และคณะ. รายงานผลการวิจัย ผลกระทบของการพัฒนาการขนส่งในภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ไทย: บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475-2530. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์, 2532.

รายงานสรุปข้อราชการจังหวัดตราด พ.ศ. 2512. ม.ป.ท, 2512.

วิชัย รัชตะนาวิน. กรุงเทพฯ ในช่วงชีวิตของข้าพเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บจก.กรุงเทพฯ (1984), ม.ป.ป.

สมบูรณ์ ศิริประชัย. รายงานการวิจัยเรื่องมันสำปะหลังในเศรษฐกิจไทย: จากความรุ่งโรจน์สู่ความมืดมนพรมแดนแห่งความรู้ (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา, 2530.

สมภพ มานะรังสรรค์. แนวโน้มพัฒนาการเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนและหลังปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

สมภพ มานะรังสรรค์ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. อุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.

สมหมาย ปัญญาธร และ พิศิษฐ์ สมาหิโต. รายงานการสำรวจอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถยนต์โดยสารและกระบะรถบรรทุก. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ หน่วยการอุตสาหกรรม, ม.ป.ป.

สำนักงานเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การใช้ที่ดินของประเทศไทย พ.ศ. 2493/94-2520/1. ม.ป.ท., ม.ป.ป.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออก. แผนพัฒนาภาคตะวันออก พ.ศ. 2507-2509. พระนคร: บริษัทประชาช่าง จำกัด, 2508.

อินแกรม, เจมส์ ซี. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย 1850-1970. บรรณาธิการแปลโดย สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์ ชิเกโตมิ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2552.

กาญจนี พลจันทร์. “ผลิตภาพของอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2517.

กิตติ ตันไทย. “คลองกับระบบเศรษฐกิจไทย พ.ศ.2367-2453.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, แผนกประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.

นิตยา สุนิรันดร์. “การขนส่งอ้อยจากแหล่งเพาะปลูกไปยังโรงงานน้ำตาลในภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2522.

ปรารถนา ศรีวิศาลศักดิ์. “ความสําาคัญทางเศรษฐกิจของจันทบุรีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.

ปิ่นเพชร จำปา. “วัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนไทย พ.ศ.2394-2544.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.

วิทยา ปานะบุตร. “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินกับงานด้านการสื่อสารคมนาคม (2460-2475).” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

ศรัญญา คันธาชีพ. “พัฒนาการทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำบางปะกง (พ.ศ. 2419-2475).” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540.

สุดใจ พงศ์กล่ำ. “มณฑลปราจีนสมัยแรกเริ่มถึงสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พ.ศ. 2436-2458.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2528.

สุมาลี พันธุ์ยุรา. “พัฒนาการของอำนาจท้องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ.2440-2516.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

Donner, Wolf. The Five Faces of Thailand: An Economic Geography. University of Queensland Press, 1982.

Kakizaki, Ichiro. Rails of Kingdom The History of Thai Railways. Thailand: White Lotus, 2012.

Suehiro, Akira. Capital Accumulation in Thailand, 1855-1985. Chiangmai: Silkworn Books, 1996.