ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง อาเซียนและพันธมิตรแปซิฟิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
พ.ศ. 2559 ถือเป็นปีที่น่าจับตามองของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (Pacific Alliance) ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่มล่าสุดในลาตินอเมริกา ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีมาก่อนแล้วระหว่างสมาชิกพันธมิตรทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ โคลอมเบีย ชิลี เม็กซิโก และเปรู โดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสินค้า การบริการ เงินทุน และทรัพยากรมนุษย์โดยเสรี และยังมีจุดประสงค์ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นับแต่มีการลงนามในปฏิญญาแห่งลิมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 ระหว่างผู้นำ ทั้ง 4 ประเทศ กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกมีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์มากที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา และด้วยการดำเนินนโยบายการค้าแบบเสรีภายในภูมิภาค กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกได้รับการจับตามองว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (Mercosur) ที่กำลังประสบปัญหาและมีนโยบายกีดกันการค้าจากนอกภูมิภาค ขณะเดียวอาเซียน (ASEAN) ก็มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศสมาชิกพันธมิตรแปซิฟิกมาเป็นเวลานานแล้ว รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกบทความนี้ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ประเทศในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซียมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับประเทศทั้ง 4 ที่เป็นสมาชิกพันธมิตรแปซิฟิก นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ถึงความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกาซึ่งมีลักษณะความสัมพันธ์แบบทวิภาคีเป็นส่วนมากหากทั้ง 2 ภูมิภาคมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างภูมิภาคมากขึ้นแล้ว ย่อมจำเป็นต้องก้าวพ้นข้อตกลงต่างๆ ที่อยู่เพียงระดับทวิภาคี ขยายไปสู่การดำเนินการในระดับภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและพันธมิตรแปซิฟิกจึงเป็นทางเลือกที่สดใสประการหนึ่งในการเชื่อมโยงภูมิภาคทั้งสองเข้าด้วยกัน
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น