ประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ในงานวิชาการไทย: สำรวจประวัติศาสตร์นิพนธ์ ในบริบทอาณาบริเวณศึกษาและประวัติศาสตร์โลก

Main Article Content

วัชระ สินธุประมา

บทคัดย่อ

ผลงานของนักวิชาการไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์นับว่ามีอยู่ในปริมาณน้อย เมื่อคำนึงถึงว่าภายในขอบเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศขนาดใหญ่ทั้งในเชิงพื้นที่และประชากร, มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน, รวมทั้งเป็นประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN ที่กำลังทวีบทบาทมากขึ้นในประชาคมโลกปัจจุบัน บทความนี้จึงมุ่งแสวงหาคำอธิบายถึงลักษณะและเงื่อนไขที่เป็นบริบทของการสร้างผลงานของนักวิชาการไทย โดยเริ่มจากการสำรวจภาพรวมของประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ภายในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสายสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โลก การพิจารณาพื้นฐานพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและความสนใจในภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเด็นศึกษาทางวิชาการของไทยที่เป็นหัวข้อเฉพาะเจาะจง โดยพบว่าส่วนใหญ่จะเน้นสาระด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นหลัก อาทิ การต่อสู้เพื่อเอกราช, การต่อสู้เพื่อล้มล้างเผด็จการและขับเคลื่อนประชาธิปไตย หรือบทบาทการต่อสู้ของมุสลิมภาคใต้ ผลงานวิชาการเหล่านี้ยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดตรงที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์อย่างเข้มข้นมากนัก ในท้ายที่สุดผู้เขียนเสนอแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ภายในบริบทที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลกซึ่งรวมประเทศไทยไว้ในนั้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาววิ่ง, ปีเตอร์ จี. โมโรและแขก: ฐานะของชาวมุสลิมในฟิลิปปินส์และไทย.กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง, 2518.

คอร์ปุส, โอ. ดี. (Corpuz, O. D.). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์. แปลจาก An Economic History of the Philippines. แปลโดย สีดาสอนศรี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. ผู้แปลและบรรณาธิการ. กรุงศรีอยุธยาในเอกสารหลักฐานสเปน. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ฯ, 2532.

________. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง หน้าประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น, วันที่ 12–14 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ต่อมาพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, (2540), 36–69.

จิโรจน์ โชติพันธ์. ประวัติศาสตร์ การปกครองและการเมือง ของสาธารณะแห่งฟิลิปปินส์. พระนคร: แพร่พิทยา, 2512.

ณัฐนี อมรประดับกุล. “เปรียบเทียบนโยบายสร้างรัฐประชาชาติที่ส่งผลต่อการเกิด ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย (พ.ศ. 2481 –2500) กับความรุนแรงในมินดาเนาประเทศฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2489–2514).” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

นันทนา ตันติเวสส. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับต่างประเทศในสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2527.

นันทา สุตกุล. เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2151–2163 และ พ.ศ. 2167–2185 (ค.ศ. 1624-1643). พระนคร: กรมศิลปากร, 2513.

ผุสสดี สัตยมานะ. ฟิลิปปินส์จากอาณานิคมสู่เผด็จการประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2529.

พงษ์พันธ์ นารีน้อย. “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับฟิลิปปินส์ในสมัยอยุธยา ค.ศ. 1512-1767.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2, ฉ. 2 (ตุลาคม 2550–มีนาคม 2551): 28–39.

ริซัล, โฮเซ. อันล่วงละเมิดมิได้. แปลจาก Noli Me Tangere. แปลโดยจิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.

วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. ฟิลิปปินส์: ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2555.

สมจัย อนุมานราชธน. การทูตของไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2509.

สิริฉัตร รักการ. “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์: จากยุคอาณานิคมถึงยุคหลังอาณานิคม” บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 8 : “มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง” จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วันที่ 27–29 พฤศจิกายน 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่.

สีดา สอนศรี. การเมืองในฟิลิปปินส์ 1986-1992. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

________. ความขัดแย้งในมินดาเนาภาคใต้ของฟิลิปปินส์: ศึกษาเฉพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ Mnlf, Milf. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

________. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

________. พลังประชาชนในฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533.

________. ฟิลิปปินส์: การเปลี่ยนแปลง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (ตั้งแต่สมัยก่อนเป็นอาณานิคม-ปัจจุบัน). กรุงเทพฯ: โครงการศึกษาพิเศษเอเซียอาคเนย์, 2520.

________. ฟิลิปปินส์: จากสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่พลังประชาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.

________. ฟิลิปปินส์: จากอดีตสู่ปัจจุบัน (ค.ศ. 1986-2006). แก้ไขและเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

________. รัฐกับสังคมมุสลิมในฟิลิปปินส์: จากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ = The State and Muslim in Mindanao in the Philippines: From Conflict to Cooperation. ชุดโครงการความมั่นคงศึกษา. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2550.

สุพรรณี กาญจนัษฐิติ. วิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศฟิลิปปินส์สมัยภายใต้ลัทธิอาณานิคมตะวันตก (คริสต์ศตวรรษ 16-20) (Social and Cultural Development in the Philippines under the Western Colonialism). นครปฐม: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523.

สุพรรณี กาญจนัษฐิติ. “โฮเซ่ ริซาล: ปัญญาชนนักชาตินิยมฟิลิปปินส์.” ใน อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 5, ฉ. 1 (2525).

ฮอลล์, ดี.จี.อี. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. บรรณาธิการแปลโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549.

Agoncillo, Teodero A. A Short History of the Philippines. New York: New American Library, 1969.

Arcilla, Jose S. An Introduction to Philippine History. 3d ed., enlarged. Quezon: Ateneo de Manila University Press, 1984.

Caldwell, Malcolm. Book Reviews: A History of the Philippines By Renato Constantino (New York: Monthly Review Press, 1976). 459 pp. Race & Class 19, no. 2 (October 1, 1977): 196–98.

Constantino, Renato. A History of the Philippines. New York: Monthly Review Press, 1975.

________. The Philippines: A Past Revisited. Quezon City: The Foundation for Nationalist Studies, 1975.

________. The Philippines, the Continuing Past. Quezon City: The Foundation for Nationalist Studies, 1978.

Crossley, Pamela Kyle. What Is Global History. Polity, 2008.

Guillermo, Artemio R. “Historical Dictionary of the Philippines.” Asian/Oceanian Historical Dictionaries. no. 24. Lanham, Md: Scarecrow, 1997.

Halili, Christine N. Philippine History. Quezon City: Rex Bookstore, Inc., 2004.

“History of the Philippines.” Wikipedia, the Free Encyclopedia, June 27, 2014. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=History_of_the_Philippines&oldid=614042978.

“History of the Philippines (1521–1898).” Wikipedia, the Free Encyclopedia, July 16, 2014. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=History_of_the_Philippines_(1521%E2%80%931898)&ol- did=616780970.

“Independence Day (Philippines).” Wikipedia, the Free Encyclopedia, June 12, 2014. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Inde-pendence_Day_(Philippines)&oldid=612632244.

Karnow, Stanley. In Our Image: America’s Empire in the Philippines. New York: Random House, 1989.

Majul, Cesar Adib. The Political and Constitutional Ideas of the Philippine Revolution. With an Introd. by Leopoldo Y. Yabes. Rev. ed. Quezon City: Univ. of the Philippines Pr, 1967.

May, Glenn Anthony. America in the Philippines: The Shaping of Colonial Policy, 1898-1913. Ann Arbor, Mich: University Microfilms, 1975.

McCoy, Alfred W. “Philippine Social History: Global Trade and Local Transformations.” Southeast Asia Publications Series, no. 7. Quezon City, Metro Manila: Ateneo de Manila University Press, 1982.

McNeill, J. R., and William H. McNeill. The Human Web: A Bird’s-Eye View of World History. W. W. Norton & Company, 2003.

“Name of the Philippines.” Wikipedia, the Free Encyclopedia, July 16, 2014. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Name_of_the_Philippines&oldid=614078577.

Rodell, Paul A. “Culture and Customs of the Philippines.” Culture and Customs of Asia Westport, Conn: Greenwood, 2002.

Tan, Samuel Kong. A History of the Philippines. Diliman, Quezon City: Dept. of History, University of the Philippines, 1987.

Thailand Law Forum. (http://www.thailawforum.com)

Zaide, Gregorio F. Philippine Political and Cultural History. Rev. ed. Manila: Philippine Education, 1957.