เพศวิถีในชีวิตสมรสของชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษารูปแบบครอบครัว บทบาทหน้าที่และเพศสัมพันธ์ในชีวิตคู่ของครอบครัวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี และ 2) เพื่อทำความเข้าใจความคิดเห็น ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศวิถีและวิถีทางเพศที่พึงปฏิบัติต่อกันในฐานะสามีและภรรยา งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลจากคู่สมรสในครอบครัวเป้าหมาย 8 ครอบครัวในหมู่บ้านแห่งหนึ่งจังหวัดปัตตานีด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ การสังเกตการณ์และการเข้าร่วมบางกิจกรรมกับคนในชุมชน นอกจากนี้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วนจากผู้ให้ข้อมูลรองผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวไทยมุสลิมที่สมรสแล้วในจังหวัดปัตตานีด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 คนผลการศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าศาสนามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนมุสลิม บทบาทเพศในครอบครัวและเพศสัมพันธ์ในชีวิตสมรสด้วยเช่นกันโดยให้ความเท่าเทียมกันทั้งเพศหญิงและเพศชายซึ่งเปรียบเสมือนอวัยวะแต่ละส่วนในร่างกายเดียวกันแต่ทว่าเพศหญิงมีความยินยอมให้เพศชายเป็นผู้นำในการประกอบศาสนกิจทางศาสนาในครอบครัวการมีอำนาจครอบครองเรือนร่างและเมื่อสำรวจความคิดเห็น ความรู้และความเข้าใจในเพศวิถีชีวิตสมรส พบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 99 มีความรู้และเข้าใจในวิถีทางเพศในชีวิตสมรสในขณะที่ผลการสำรวจวิถีทางเพศที่พึงปฏิบัติต่อกันในฐานะสามีและภรรยานั้นพบว่ามีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่ปฏิบัติตนตามวิถีทางเพศที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหวังว่าในอนาคตประชากรในพื้นที่จังหวัดปัตตานีจะมีพฤติกรรมในวิถีทางเพศที่สอดคล้องกับการมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
คาสปาร์ พีค วาสน าอิ่มเอม และรัตนาภรณ์ ตังธนเศรษฐ์. โฉมหน้าครอบครัวไทยยุคเกิดน้อยอายุยืน. กรุงเทพฯ:กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558.
จารึก เซ็นเจริญ และมูฮัมหมัด พายัพ. เพศสัมพันธ์ในอิสลาม. กรุงเทพฯ: ส.วงศ์เสงี่ยม, 2537.
ยุสุฟ ก็อรฎอวี แปลโดยบรรจง บินกาซัน. หะลาลและหะรอมในอิสลาม. กรุงเทพฯ: อัล-ญิฮาด,2530.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต และเพ็ญพักตร์ ทองแท้. สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของประชากรไทยพุทธและไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. ปัตตานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2555.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต. ครอบครัวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางประชากร.ปัตตานี:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2558.
อารง สุทธาศาสตร์. สถาบันครอบครัวอิสลาม. กรุงเทพฯ: บริษัทออฟเซ็ทเพรสจำกัด, 2541.
David, L & Melvin, E. Encyclopedia of Cultural Anthropology. New yorkYork: Henry Holt and Company, 1996.
Kendall-Tackett, K. Chronic pain: The Next Frontier in Child Maltreatment Research. Child Abuse Neglect, 28. (997-1000), 2001.
Munir, Z.,L. Islam and Gender: Reading Equality and Patriarchy in Mohammad, N., K.S.and Kamil, H. (eds), Islam in Southeast Asia: Political, Social and Strategic Challenge for the 21 th Century. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005.
Ong, A. and Peletz G.M. Bewitching Women, Pious Men: Gender and Body Politics in Southeast Asia. Berekeley: University of California Press. Silkworm Book, 1995.
Siddiqui, B.H. Knowledge: An Islamic Perspective. Pakistan: Islamic Research Institute, 1991.
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. กฤตภาคข่าวประชากรและอนามัยเจริญพันธุ์เล่ม 13 มกราคม –มิถุนายน 2545. https://koha.library.tu.ac.th/cgibin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=259042&query_desc=an%3A279785. (สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2556).
กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. สถิติการจดทะเบียนครอบครัว., จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/Key55_T.pdf. (สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2557).
กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. ประมวลสถิติงานการทะเบียนปีพ.ศ.2550-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. https://www.dopa.go.th/web_pages/m03093000)/services. (สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2558)
เกื้อวงศ์ บุญสิน. คุยกับศ.ดร.เกื้อวงศ์บุญสิน “ไทยกำลังเปลี่ยนจากสังคม DINK เป็น SINK”ในสำนักข่าวอิศราเมื่อวันพุธที่ 13 เมษายน 2559. www.isranews.org /thaireform/thaireform-talk-interview/item/46213-dinks.html. (สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560).