ปอแนใต้ปอเนาะ: ชาติพันธุ์วรรณาย้อนมองดูตัวเองของ “เควียร์มุสลิม” และความทรงจำวัยเด็กในโรงเรียนสอนศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานศึกษานี้ต้องการเริ่มต้นบทสนทนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องรักร่วมเพศในศาสนาอิสลามผ่านเส้นแบ่งทางเพศที่ปรากฏชัดในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามผ่านความคิดว่าด้วย“ความเป็นพี่น้อง” กันในอิสลามซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกันโดยยังคงนิยามตัวเองในหลากหลายลักษณะเช่นชายแท้เกย์และกะเทยของวัยรุ่นชายมุสลิมเพราะการสัมผัสกายของผู้ชายด้วยกันเองทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจระหว่างกันเพราะศาสนาบัญญัติห้ามไม่ให้แตะเนื้อต้องตัวเพศตรงข้ามและช่วยหันเหความรู้สึกผิดบาปของตนต่อความคิดทางศาสนาพวกเขาจึงตีความหลักการทางศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องร่างกายและเพศวิถีใหม่เพื่อรองรับแรงปราถนาทางเพศของตัวเอง บทความนี้จึงสะท้อนความพร่าเลือนการนิยามความสัมพันธ์แบบชายกับชายในโรงเรียนที่ศาสนามีบทบาทและอิทธิพลต่อการกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมและทางเพศ วัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้องที่เอื้อให้เพศวิถีลื่นไหลและนิยามไปหลายรูปแบบ งานศึกษานี้ใช้วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาเชิงสะท้อนย้อนคิดจากประวัติชีวิตของตัวผู้ศึกษาเอง งานชิ้นนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการรื้อฟื้นเอาความทรงจำทางเพศขึ้นมาเพื่อตอบคำถามประเด็นเรื่อง“รักร่วมเพศในศาสนาอิสลาม” การตีตราบาปการสำนึกผิดการกดทับอารมณ์ความใคร่และการสูญเสียตัวตนจากการถูกนิยามทางศาสนาโดยเฉพาะเรื่องร่างกายและเพศสภาพ โดยเฉพาะวิธีการที่ศาสนาเข้ามาจัดการกับร่างกายและเพศสภาพจากการตีความจากตัวบทหลักการทั้งจากในคัมภีร์และคำสอนอิสลามร่างกายกับเพศสภาพที่ถูกสร้างบรรทัดฐานท้ายที่สุดกลายเป็นเพียง“พวกผิดเพศที่ถูกสาปแช่ง” และการถูกผลิตซ้ำด้วยความคิดขั้วตรงข้ามจากวาทกรรมทางศาสนาว่าด้วยร่างกายบทความใช้แนวคิดหลักเรื่อง “homosociality” พยายามสะท้อนการทำงานเชิงโครงสร้างของศาสนาที่มีต่อเพศวิถีและร่างกายการใช้คำอธิบายที่ตีความเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของผู้ปฏิบัติการการเปิดเสียงให้เล่าเรื่องที่สังคมมุสลิมมักไม่ยอมรับว่าเกิดขึ้น มีตัวตนและถูกทำให้เป็นความพร่าเลือนเมื่อเอ่ยถึงเพศที่สามในบริบทของศาสนาอิสลามและต้องการเสนอถึงความลักลั่นยอกย้อนของความคิดรากฐานนิยมอิสลามต่อเรื่องเพศสภาพในปัจจุบัน
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
ชัยรัตน์ พลมุข. “บทวิจารณ์หนังสือ“Ghostly Desires: Queer Sexuality and Vernacular Buddhism in Contemporary Thai Cinema.”. วารสารแม่น้ำโขง, 12 ฉ.3 (กันยายน-ธันวาคม 2559): 187-198.
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. “พรมแดนความรู้ทางมานุษยวิทยา.” http:// v1.midnightuniv.org/midculture44/newpage6.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2560).
สมฤดี สงวนแก้ว. “กระบวนการพัฒนาและธำรงอัตลักษณ์ “กะเทย” ในสังคมมุสลิม.” วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
Behar, Ruth. “Ethnography and the Book that was Lost.” Ethnography 4, no.1 (2003): 15-39.
Carbajal, Alberto Fernández. “Queering Islam: A New Events Series.” (2015) http://staffblogs.le.ac.uk/queeringislam/ (accessed March 5, 2017).
Chicago Tribune. “Muslim view of LGBT people in spotlight after Orlando attack.” (2016) http:// www.chicagotribune.com/news/nationworld/ct-muslim-lgbt-orlando-shooting-20160616-story.html (accessed March 16, 2017).
El-Rouayheb, Khaled. Before Homosexuality in the Arab-Islamic World, 1500–1800. Chicago and London: University of Cambridge, 2005.
Fardon, Richard. Localizing Strategies. Edinburgh: Scottish Academic Press, 1990.
Fallers, Lloyd A. Foreword to The Sacred Meadow by Abdul Hamid el-Zein. Evanston, IL:Northwestern University Press, 1974.
Jerome, Collin. “Queer Melayu: Queer Sexualities and Politics of Malay Identity and Nationalism in Contemporary Malaysian Literature and Culture.” PhD Dissertation, University of Sussex, 2011.
Malik, Faris. “Queer Sexuality and Identity in the Qur'an and Hadith.” Journal of Life and Science. (2008) http://journaloflifeandscience.blogspot.com/2008/08/homosexuality-in-quran-and-hadith.html (accessed February 3, 2017).
Marie, J. “The Queer Muslim Movement Is Growing.” (2017) http:// kitschmix.com/queer-muslim-movement-growing/ (accessed March 12, 2017).
Massad, Joseph. “Re-Orienting Desire: The Gay International and the Arab World.” Public Culture 14, no.2 (2002): 361-385.
Ming Panha. “In-between Men: Diasporas’ Experience and the Homoeroticism of Gibreel Farishta and Saladin Chamcha in The Satanic Verses.” Thoughts (2013).
Murray, Stephen O. and Will Roscoe. Islamic Homosexualities: Culture, History and Literature. New York: New York University Press, 1997.
Muttaqin, Farid. “Changes Needed to Islamic View on Homosexuality.” The Jakarta Post. http://www.thejakartapost.com/detaileditorial.asp?fileid=20060902.F04&irec=3 (accessed February 1, 2017).
Rabinow, Paul. Reflections on Fieldwork in Morocco. California: University of California Press, 2007.
Ross, Tabitha. Restudy and Reflexivity in Anthropology and Development. ADST MA Programme 2004-05, University of Sussex.
Ruby, Jay. A Crack in the Mirror Reflexive Perspectives in Anthropology. Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 1982.
Sedgwick, Eve Kosofsky. Between Men: English Literature and Male Homosocial Desire. New York: Columbia University Press, 1985.