ระบบการระงับข้อพิพาทภาคบังคับภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982: ถอดบทเรียนจากแนวคำพิพากษาของศาลและคณะตุลาการ ว่าด้วยเรื่องเขตอำนาจในการพิจารณาคดี*

ผู้แต่ง

  • กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล คณะนิติศาสตร์ NIDA

คำสำคัญ:

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982, การระงับข้อพิพาทภาคบังคับ, ข้อพิพาททางทะเล

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่อง เขตอำนาจภาคบังคับของศาลที่ตั้งขึ้นตามภาค 15 แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) โดยวิเคราะห์จากแนวคำพิพากษาของศาลที่ผ่านมา โดยงานวิจัยฉบับนี้มีคำถามนำวิจัยหลักว่า “ศาลมีแนวทางในการตีความเขตอำนาจภาคบังคับภายใต้ระบอบการระงับข้อพิพาทตามภาค 15 ตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 3 แห่ง UNCLOS อย่างไร” ผลการวิจัยพบว่าศาลได้ตีความบทบัญญัติต่าง ๆ ในภาค 15 ไปในแนวทางที่ทำให้ตนมีเขตอำนาจในการพิจารณาได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือตีความไปในลักษณะที่ขยายเขตอำนาจของตน เช่น การลดทอนความเข้มข้นของการปรับใช้มาตรา 283 เรื่องการแลกเปลี่ยนทัศนะของรัฐภาคีซึ่งเป็นฝ่ายในข้อพิพาท นอกจากนั้นรูปแบบของความตกลงระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ไม่ได้ตัดโอกาสที่จะให้ศาลมีเขตอำนาจภาคบังคับนั้นไม่ถูกบังคับว่าจะต้องเป็นความตกลงที่มีผลผูกพันในทางกฎหมายหรือบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งถึงเจตนาของคู่กรณี ในตอนที่ 3 เรื่องข้อจำกัดและข้อยกเว้น ศาลได้ตีความข้อยกเว้นและข้อจำกัดอย่างกว้างเช่นกัน หากเป็นกรณีที่ไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา 297 แล้วคดีต่าง ๆ จะตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจภาคบังคับทั้งสิ้นหากเป็นคดีที่เกี่ยวกับการตีความและการใช้ UNCLOS

คำสำคัญ:          อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982, การระงับข้อพิพาทภาคบังคับ, ข้อพิพาททางทะเล

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20