จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน

จริยธรรมของผู้แต่ง

1. ผู้แต่งต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเป็นผลงานของผู้แต่งแต่เพียงผู้เดียว หรือเป็นผลงานของผู้แต่งและผู้แต่งร่วมตามที่ระบุไว้จริง

2. ผู้แต่งต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์และไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
หากมีการตรวจพบจะดำเนินการตามแนวปฏิบัติของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://tci-thailand.org/?p=10916

3. ผู้แต่งต้องรับรองว่าผู้แต่งจะไม่ถอนผลงานจากการรับพิจารณาตีพิมพ์ หรือส่งผลงานเดียวกันนี้ไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น

4. ไม่ว่าในกรณีใดหรือในเวลาใด หากผลงานของผู้แต่งอยู่ระหว่างหรือผ่านขั้นตอนการประเมินผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งมีความประสงค์จะถอนผลงานจากการรับพิจารณาตีพิมพ์ หรือเป็นกรณีที่วารสารปฏิเสธบทความเพราะการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ผู้แต่งตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงการวารสารนิติศาสตร์เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมนาคุณแก่ผู้ประเมินผลงาน โดยโครงการวารสารนิติศาสตร์จะได้จัดส่งผลการประเมินผลงานให้ผู้แต่งทราบ เมื่อการประเมินแล้วเสร็จ

5. ผู้แต่งเป็นผู้รับรองความถูกต้องของผลงาน

จริยธรรมของบรรณาธิการ

1.  บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์

2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แต่งหรือผู้ประเมินแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาประเมินบทความ

3. บรรณาธิการจะตัดสินใจคัดเลือกบทความหลังจากผ่านกระบวนการประเมินแล้ว เว้นแต่บทความที่อยู่นอกขอบเขตวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ของวารสาร ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการยื่นบทความที่กำหนดไว้ มีข้อบกพร่องในเชิงรูปแบบอย่างชัดเจน หรือเนื้อหาของบทความนั้นชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการหรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสารในการตีพิมพ์บทความที่มีการศึกษาและนำเสนอแนวคิดทางกฎหมายที่มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณค่าในทางวิชาการและ/หรือทางปฏิบัติอย่างมีนัยยะสำคัญ และมีการอ้างอิงจากเอกสารวิชาการอย่างครบถ้วนและเหมาะสมอย่างชัดเจน บรรณาธิการอาจปฏิเสธในชั้นของการรับบทความได้โดยไม่ต้องมีการประเมิน

4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้แต่ง

จริยธรรมของผู้ประเมิน

1. ผู้ประเมินมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์

2. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แต่งหรือผู้ประเมินแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาประเมินบทความ

3. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความโดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของตนด้วยความระมัดระวังและเต็มตามศักยภาพ

4. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้แต่ง