การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย : ศึกษากรณีการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

คำสำคัญ:

การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย, สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม, สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีต่อหน้าตนเอง, คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

บทคัดย่อ

โดยหลักแล้วในคดีอาญานั้นการพิจารณาคดีจะต้องกระทำต่อหน้าจำเลยอยู่เสมอเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลยนั้นจะต้องถูกนำมาปรับใช้อย่างจำกัดในฐานะข้อยกเว้นเพียงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี ประเทศไทยก็ได้มีการนำรูปแบบการพิจารณาคดีดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ให้อำนาจศาลในการสืบพยานหรือพิจารณาคดีอาญาลับหลังได้โดยละเลยถึงการกำหนดให้มีมาตรการอันเป็นหลักประกันสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยอย่างเหมาะสม กรณีดังกล่าวจึงทำให้เกิดประเด็นปัญหาต่างๆที่สำคัญขึ้น คือ การละเมิดสิทธิของจำเลยที่จะได้พิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ความไม่สอดคล้องต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนนี้โดยการกำหนดให้มีมาตรการอันเป็นหลักประกันสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยที่เป็นไปตามมาตรฐานตามหลักสากล

คำสำคัญ: การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย, สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม, สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีต่อหน้าตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20