สิ่งที่ขาดหายไปในกฎหมายว่าด้วยการฟ้องคดีแทนบริษัท: ศึกษากรณีบริษัทจำกัด
คำสำคัญ:
การฟ้องคดีแทนบริษัท, การฟ้องคดีของผู้ถือหุ้น, ความรับผิดของกรรมการ, สิทธิของผู้ถือหุ้นบทคัดย่อ
ลักษณะของการฟ้องคดีแทนบริษัท คือ กฎหมายกำหนดให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของบริษัทในการฟ้องกรรมการเนื่องจากบริษัทไม่ดำเนินการฟ้องกรรมการ วัตถุประสงค์ของหลักดังกล่าวคือ เพื่อเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่บริษัทไม่ยอมดำเนินการเรียกร้องเอากับกรรมการทั้งที่กรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท หลักการดังกล่าวปรากฏในมาตรา 1169 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้สิทธิทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ในการฟ้องกรรมการ บทความนี้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการฟ้องคดีแทนบริษัทตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและไทย โดยวิเคราะห์ว่ากฎหมายไทยว่าด้วยการฟ้องคดีแทนบริษัทมีข้อบกพร่องประการใด การศึกษาพบว่ากฎหมายไทยไม่ได้กำหนดกระบวนการที่ผู้ถือหุ้นต้องกระทำก่อนที่จะฟ้องกรรมการทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นต้องดำเนินการอย่างไร กฎหมายยังไม่ได้กำหนดให้เรื่องกรอบในการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนบริษัททำให้ผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้รับชดเชยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ตนต้องเสียไปในการดำเนินคดี นอกจากนี้กรอบในการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนบริษัทตามกฎหมายไทยก็เป็นไปอย่างจำกัดอันเป็นอุปสรรคต่อผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนบริษัท การศึกษายังพบว่าการที่กฎหมายไทยบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในการฟ้องคดีดังเช่นที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของหลักการฟ้องคดีแทนบริษัท บทความนี้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการฟ้องคดีแทนบริษัทเพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักการฟ้องคดีแทนบริษัท
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ