ความไม่เหมาะสมในการนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้กับการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ
คำสำคัญ:
Withdrawal of an administrative act, Withdrawal of an appointment of civil servants, Civil servant lawsบทคัดย่อ
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้มาเป็นเวลาร่วม 20 ปีแล้ว แต่การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก โดยเฉพาะการบังคับใช้ในพรมแดนของกฎหมายข้าราชการ โดยการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการนั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการไว้แต่อย่างใด จึงต้องนำหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้บังคับ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้บังคับกับกฎหมายข้าราชการหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการ และเรื่องเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่ง และเรื่องเกี่ยวกับบริบทการนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่มีต้นแบบมาจากประเทศเยอรมนีมาใช้บังคับ โดยไม่ได้สำรวจตรวจสอบว่าในระบบกฎหมายเยอรมันนั้นการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการได้มีการนำหลักเกณฑ์ในรัฐบัญญัติว่าด้วย
วิธีพิจารณาเรื่องทางปกครองในชั้นเจ้าหน้าที่มาใช้บังคับหรือไม่ ในบทความนี้ผู้เขียนจึงมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นว่ากฎหมายข้าราชการนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการแยกเป็นเอกเทศจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ