ศาลครอบครัวของประเทศญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
ศาลครอบครัวญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว คดีความผิดเด็ก วิธีพิจารณาคดีแบบชี้ขาด วิธีพิจารณาคดีแบบประนีประนอมข้อพิพาทบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
เป็นที่ทราบกันดีว่า คดีครอบครัวและคดีความผิดเด็กต่างก็เป็นคดีที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีข้อพิพาท การแก้ปัญหาโดยอาศัยการฟ้องร้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลตัดสินคดีตามกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหากลับจะเป็นการสร้างความแตกแยกในครอบครัวให้มากขึ้นได้ โดยเหตุนี้ประเทศต่างๆจึงนิยมจัดตั้งศาลครอบครัวขึ้นมาแก้ปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกันอย่างแพร่หลาย ในบางประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดตั้งศาลครอบครัวขึ้นเป็นเอกเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นการเฉพาะ โดยนำเอาคดีความผิดเด็กเข้ามาไว้ในเขตอำนาจของศาลครอบครัวญี่ปุ่นด้วยและได้ใช้กระบวนพิจารณาคดีโดยการประนีประนีประนอมมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาครอบครัว เว้นแต่เป็นกรณีที่การประนีประนีประนอมล้มเหลวเนื่องจากคู่ความไม่สามารถตกลงระงับข้อพิพาทกันได้ จึงจะหันไปใช้การพิจารณาคดีแบบคดีมีข้อพิพาท ส่วนในคดีความผิดเด็กก็เช่นกัน ศาลครอบครัวญี่ปุ่นใช้กระบวนพิจารณาคดีในเชิงป้องกันปัญหาการกระทำความผิดอาญาของเด็กมากกว่าการมุ่งลงโทษเด็ก และใช้กระบวนพิจารณาที่เข้าอกเข้าใจและเป็นมิตรกับเด็ก โดยคำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กเพื่อให้เด็กยอมรับในการกระทำความผิดของตนและยอมรับที่จะปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมไม่กลับมากระทำความผิดอีก ในการพิจารณาคดีของศาลครอบครัวญี่ปุ่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของศาลที่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาครอบครัวโดยอาศัยนักจิตวิทยา นักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา แพทย์ ฯลฯ มาช่วยการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ: ศาลครอบครัวญี่ปุ่น คดีความสัมพันธ์ภายในครอบครัว คดีความผิดเด็ก วิธีพิจารณาคดีแบบชี้ขาด วิธีพิจารณาคดีแบบประนีประนีประนอมข้อพิพาท
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ