วิธีพิจารณาโดยไม่มีตัวจำเลยในคดีอาญา

ผู้แต่ง

  • Udom Rathamarit คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

วิธีพิจารณาความอาญา, วิธีพิจารณาโดยไม่มีตัวจำเลย, การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

วิธีพิจารณาโดยไม่มีตัวจำเลยเป็นรูปแบบพิเศษของวิธีพิจารณาความอาญา รูปแบบการพิจารณานี้กฎหมายบัญญัติให้ศาลพิจารณาคดีได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาในคดีอาญาซึ่งจำเลยจงใจหลบหนีหรือปฏิเสธเข้าร่วมการดำเนินคดีในศาลโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อีกทั้งยังเป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

          แม้การให้ศาลพิจารณาคดีอาญาได้โดยไม่จำต้องได้ตัวจำเลยมาศาลอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าตนเองตามหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลซึ่งรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของบุคคลและสิทธิทางการเมือง (ค.ศ.1966) มาตรา 14 แต่จากการศึกษาเหตุผลที่มาและตัวอย่างของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายที่ใช้ในนานาประเทศต้นแบบ ทำให้เห็นว่าวิธีพิจารณาคดีอาญาของไทยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาเฉพาะเรื่องได้บัญญัติขึ้นตามเหตุผลและความจำเป็นในบริบทของสังคมไทย โดยคำนึงถึงหลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่ตกเป็นจำเลยด้วยแล้ว ดังจะเห็นได้จากการให้หลักประกันแก่จำเลยอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) จำเลยต้องได้รับแจ้งให้ทราบถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล (2) จำเลยมีสิทธิที่จะมีทนายเป็นผู้แทนในคดี และ (3) จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-13