ความรับผิดต่อค่าใช้จ่ายในการนำกลับของเสียอันตรายข้ามเขตแดนที่ผิดกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • อำนาจ วงศ์บัณฑิต

คำสำคัญ:

การส่งของเสียอันตรายข้ามแดน, การนำกลับของเสียอันตรายข้ามแดนที่ผิดกฎหมาย

บทคัดย่อ

ในอดีต การที่ประเทศทั้งหลายมีการพัฒนามากขึ้นทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี ท าให้มีการผลิตและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ มากขึ้นอันน าไปสู่การก่อให้เกิดของเสียมาก ขึ้นด้วย ของเสียเหล่านี้บางส่วนก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ท าให้รัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วได้ออกกฎหมายและด าเนินมาตรการที่เข้มงวดกับการก าจัด ของเสียอันตราย ประกอบกับการที่ชุมชนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว จึงมี การต่อต้านโครงการหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย ท าให้ผู้ที่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย มีความยุ่งยากมากขึ้นในการหาสถานที่ก าจัดของเสียอันตรายและมีต้นทุนสูงขึ้นในการด าเนินการ ดังกล่าว ผู้ที่ก่อให้เกิดของเสียเหล่านี้จึงหาแหล่งก าจัดของเสียใหม่ที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า มีกฎหมายที่เข้มงวดน้อยกว่า และประชาชนต่อต้านน้อยกว่า ท าให้มีการส่งของเสียอันตรายจ านวน หนึ่งไปก าจัดในประเทศก าลังพัฒนา เหตุการณ์ข้างต้นท าให้มีความพยายามที่จะป้องกันมิให้ประเทศที่ก าลังพัฒนาเป็นที่ทิ้งของ เสียอันตรายจากประเทศที่ร่ ารวยกว่า จึงได้มีการจัดท าอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการก าจัด ค.ศ. 1989 โดยส่งเสริมให้ลดการก่อก าเนิด ของเสียและจัดการของเสียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งก าหนดมาตรการควบคุมการส่งออก ของเสียด้วยการให้มีการแจ้งรายละเอียดแก่รัฐผู้น าเข้าก่อนและต้องได้รับความยินยอมจากรัฐ ผู้น าเข้า หากของเสียที่ส่งออกไปนั้นไม่ได้รับการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรัฐผู้น าเข้า หรือเป็นการลักลอบส่งออกของเสียที่ผิดกฎหมาย รัฐผู้ส่งออกมีพันธกรณีที่จะต้องน าของเสียนั้นกลับ เว้นแต่จะหาผู้ที่รับก าจัดของเสียนั้นในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ผู้ก่อก าเนิดของเสียหรือผู้ส่งออกของเสีย ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายดังกล่าว แต่หากบุคคลเหล่านั้นไม่ยอมรับผิดชอบ รัฐผู้ส่งออกก็ต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายแทน เนื่องจากประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาบาเซล จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ข้างต้น และที่ผ่านมา ได้มีการลักลอบส่งออกของเสียอันตรายจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ทางการของประเทศไทยได้เสียค่าใช้จ่ายในการน ากลับของเสียนั้นหรือเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการ ของเสียดังกล่าวในต่างประเทศ โดยที่ไม่ได้มีกฎหมายภายในก าหนดไว้อย่างชัดเจนว่าทางการของ ประเทศไทยสามารถเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืนได้จากผู้ที่ลักลอบส่งออกของเสียอันตราย ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้มาตรการทางบริหารก าหนดให้ผู้ส่งออกของเสียอันตรายต้องให้ประกัน ทางการเงินส าหรับค่าใช้จ่ายข้างต้นและความเสียหายที่เกิดจากของเสียอันตราย แต่มาตรการ ดังกล่าวนั้นไม่สามารถครอบคลุมได้ถึงการน ากลับของเสียหรือการจัดการของเสียในต่างประเทศได้ ทุกกรณี การศึกษานี้จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้หน่วยงาน ของประเทศไทยสามารถเรียกค่าใช้จ่ายข้างต้นคืนจากผู้ส่งออกของเสียอันตรายได้ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26