การสร้างความเป็นธรรมและการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการหย่าโดยความยินยอม: ศึกษากฎหมายของไทยและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส

ผู้แต่ง

  • เอมผกา เตชะอภัยคุณ

คำสำคัญ:

การหย่าโดยความยินยอม, ข้อตกลงการหย่า, ความผาสุกและประโยชน์สูงสุดของ ผู้เยาว์

บทคัดย่อ

แม้ว่ากฎหมายไทยจะยอมรับหลักการเรื่องการหย่าโดยความยินยอมมาตั้งแต่อดีตแต่จะ เห็นได้ว่าบทบัญญัติในเรื่องนี้มีรายละเอียดน้อยและให้อิสระแก่คู่สมรสค่อนข้างมากในการตัดสินใจ ในเรื่องผลของการหย่า โดยมิได้มีมาตรการในการตรวจสอบการแสดงเจตนาที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง หรือให้การคุ้มครองบุคคลที่อยู่ในสภาพเปราะบางในครอบครัว เช่น คู่สมรสที่อยู่ในสถานะอ่อนด้อย กว่าอีกฝ่ายอาจตกลงโดยมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาที่เป็นอิสระแต่เกิดจากความไม่เข้าใจในผลของ การหย่า หรือผลของการใช้อ านาจปกครองในกรณีที่บิดามารดาตัดสินใจหย่าโดยไม่สอบถามความ ต้องการของบุตรผู้เยาว์ เป็นต้น ประเด็นปัญหาเหล่านี้ท าให้เกิดค าถามว่ากฎหมายไทยมีการรับรอง การสร้างความเป็นธรรมให้กับคู่สมรสในการหย่าโดยความยินยอมและการให้ความคุ้มครองแก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรผู้เยาว์อย่างเพียงพอหรือไม่ บทความนี้ผู้เขียนได้ศึกษากลไกทางกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2560 เพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและการคุ้มครอง สิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยการก าหนดให้การหย่าโดยความยินยอมสามารถกระท าได้โดยไม่ต้องให้ศาลมีค าพิพากษาอีกต่อไป อย่างไรก็ดี กฎหมายใหม่ได้ก าหนดเงื่อนไขส าคัญเกี่ยวกับการท า ข้อตกลงการหย่าให้มีความชัดเจนเพื่อรับรองการสร้างความเข้าใจของคู่สมรสก่อนการหย่า อีกทั้งยัง ก าหนดมาตรการสอบถามบุตรผู้เยาว์ ซึ่งมาตรการตามกฎหมายฝรั่งเศสนี้มีความน่าสนใจอันจะเป็น อีกหนึ่งตัวอย่างเพื่อการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26