การพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำสำคัญ:
ศาลรัฐธรรมนูญ, การบริหารงานศาล, การบริหารจัดการคดีบทคัดย่อ
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วจ านวน 20 ฉบับนับแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญทุกฉบับดังกล่าวได้บัญญัติยืนยันหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (The Supremacyof the Constitution)ด้วยเหตุนี้องค์กรที่ท าหน้าที่และมีอ านาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ของกฎหมายจึงมีความส าคัญ เมื่อวิเคราะห์จากสถานะขององค์กรเกี่ยวกับหน้าที่และอ านาจ หลัก ความมีอิสระ หลักความมั่นคงและมีความเป็นสถาบัน รวมถึงความสอดคล้องกับสภาพสังคมและ วัฒนธรรมของประเทศไทยแล้วถือได้ว่ารูปแบบองค์กรที่ท าหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วย รัฐธรรมนูญของกฎหมายที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” (The Constitutional Court) ที่มีหน้าที่และอ านาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะมี ประสิทธิภาพอย่างสูงสุดได้จ าเป็นต้องพัฒนาบุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ ที่สนับสนุนการพิจารณคดี (Material) และการบริหารจัดการคดี (Case Management) ผลการศึกษาวิจัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และศาลรัฐธรรมนูญ ศาลสูงสุดของต่างประเทศแล้วพบว่า ดังนี้ 1. ด้านบุคลากร กล่าวคือ ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญเนื่องจากศาล รัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษที่ต้องมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มหาชนจ านวนมากเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบโดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดย เพิ่มจ านวนผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จาก 1 คน เป็น 2 คน และลดจ านวนผู้รับหรือเคยรับ ราชการลดจาก 2 คน เป็น 1 คน การก าหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ที่จะมาด ารงต าแหน่งตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญไว้ค่อนข้างสูงมากอาจก่อปัญหาเกิดขึ้นได้ในอนาคต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มี คุณสมบัติและมาจากกระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ย่อมที่จะด ารงต าแหน่งต่อเนื่องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามหลัก ความเป็นอิสระ หลักสุจริตและหลักความมั่นคงในหน้าที่การงาน ส าหรับคณะผู้สนับสนุนการ ปฏิบัติงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีระบบการท างานที่มีประสิทธิภาพภายใต้สถาบันวิจัย รัฐธรรมนูญ (The Constitutional Research Institute) 2. ด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่สนับสนุนการพิจารณาคดีกล่าวคือ ต้องมี กฎหมายเฉพาะเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นอิสระ เป็นหลักประกัน และการจัดสรร งบประมาณ โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายบริหารโดยสามารถเสนองบประมาณจากรัฐสภาได้ โดยตรงเมื่อฝ่ายบริหารตัดงบประมาณดังเช่นศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีรัฐ บัญญัติว่าด้วยงบประมาณของสหพันธ์ ค.ศ. 1969 (Bundeshaushaltsordnung) รวมทั้งต้องมีการ น าระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ (E - Court) มาใช้กับศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วย ความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน 3. ด้านการบริหารจัดการคดีกล่าวคือ ต้องยึดระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวน (Inquisitorial System) ต้องมีตุลาการผู้รับผิดชอบส านวน (Rapporteur Judge) เช่นเดียวกับศาล รัฐธรรมนูญต่างประเทศเพื่อเป็นคานและดุลการตัดสินใจการลงมติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ ละคน รวมถึงการยกร่างค าวินิจฉัยและอ่านค าวินิจฉัยซึ่งจะก่อให้เกิดการวินิจฉัยคดีอย่างมี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล นอกจากนั้น เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถด าเนิน กระบวนการพิจารณาคดีต่อไปได้ปราศจากการขัดขวางและเพื่อประโยชน์แก่คู่กรณี การน าหลัก ละเมิดอ านาจศาล (The Contempt of Court) มาใช้กับศาลรัฐธรรมนูญจึงมีความจ าเป็น ด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะดังกล่าว จะส่งผลต่อการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของ ประชาชนและประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนได้ในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ