การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
คำสำคัญ:
ระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินต่อสาธารณะบทคัดย่อ
การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเครื่องมือส าคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้ก าหนดให้มีระบบการแสดง บัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้แต่อย่างไรก็ดีปัจจุบันพบว่ายังมีบุคคลที่จงใจไม่ยื่นหรือจงใจ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ รวมทั้งระบบการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติปรากฏบัญชีค้าง ตรวจอยู่จ านวนมาก ส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบขาดประสิทธิภาพและไม่บรรลุเจตนารมณ์ของ กฎหมาย ดังนั้น บทความวิจัยนี้จึงได้น าเสนอผลการศึกษาระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ผลการศึกษาพบว ่า เพื ่อให้การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพ ควรก าหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทมีหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและใช้ระบบ การตรวจสอบเมื่อมีข้อสงสัยและในกรณีต าแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้ระบบฐานข้อมูล สารสนเทศมาช่วยในกระบวนการยื่นและกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและมีการ เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองทุกระดับและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้า ตรวจสอบได้เพื่อน าไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ