การกำกับดูแลภาคที่สามในประเทศไทย: ปัญหาการตีความคำนิยามของวิสาหกิจเพื่อสังคมตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. ....

ผู้แต่ง

  • ประพิน นุชเปี่ยม

คำสำคัญ:

ภาคที่สาม, วิสาหกิจเพื่อสังคม, วิวัฒนาการของวิสาหกิจเพื่อสังคม, กฎหมายวิสาหกิจเพื่อสังคม, การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

รากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของภาคที่สาม ซึ่งเป็นภาคที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐ หรือ ระบบตลาด (ภาคเอกชน) ของไทย สามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลในอดีต โดยเฉพาะไปถึงบทบาท เชิงการกุศลของสถาบันทางศาสนาและของสมาคมด้านสังคมสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้นโดยชาวจีนตั้งแต่ อย่างน้อยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์การเช่นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคที่สามดั้งเดิม และในฐานะ นี้ก็เป็นรากฐานทางสังคมที่ส าคัญยิ่งของภาคที่สามของไทย ซึ่งมีวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งด้วย ภาคที่สามของไทยได้ปรับตัวตลอดมาให้เข้ากับสิ่งท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ทั้งที่มาจากภายนอกและ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับการด าเนินงานให้มีแนวทางการประกอบการเชิงธุรกิจมากขึ้น และพึ่งพาเงินสนับสนุนและเงินบริจาคให้น้อยลงบทความเรื่องนี้เป็นการส ารวจอย่างสั้น ๆ ว่า วิสาหกิจเพื่อสังคมปรากฏขึ้นในประเทศไทย ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นส่วนหนึ่งของภาคที่สาม และจากนั้นเป็นการวิเคราะห์ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... โดยพิจารณาจากบริบทของการขยายตัวของ กิจการประเภทนี้ ด าริที่เป็นร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นความพยายามที่จะส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม ดังที่การถกเถียงที่ด ารงอยู่ขณะนี้ได้แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับผลในทางปฏิบัติที่ เป็นไปได้ ดังนั้น การวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติอย่างครบถ้วนจึงเป็นความจ าเป็นอย่างยิ่ง แต่การ วิเคราะห์ในบทความนี้จะจ ากัดอยู่ที่ปัญหาการตีความนิยามของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับ วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย บทความนี้ โดยอาศัยวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้พบว่า ความพยายาม ที่จะก าหนดนิยามของวิสาหกิจเพื่อสังคมประสบความยากล าบากในทางปฏิบัติ จริงอยู่ การก าหนด นิยามวิสาหกิจเพื่อสังคมมิใช่ภารกิจที่จะด าเนินการให้ส าเร็จลุล่วงได้โดยง่าย ในประเทศไทย ภารกิจ นี้ประสบความยุ่งยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขาดความเข้าใจในเรื่องของที่มาและธรรมชาติของ วิสาหกิจเพื่อสังคม รวมไปถึงการขาดระบบการท างานด้านนโยบายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สภาพ เช่นนี้เห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า บุคคลและองค์การต่าง ๆ ได้เสนอนิยามที่ต่างกัน บทความนี้แสดง ความกังวลเกี่ยวกับนิยามที่ก าหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับผลในทาง ปฏิบัติที่จะเกิดขึ้น เป็นความกังวลว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อผ่านออกมาเป็นกฎหมายแล้ว จะมีผลส่งเสริมหรือจ ากัดการเติบโตของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26