การพัฒนากระบวนวิธีพิจารณาคดีแรงงานในระบบไต่สวน

ผู้แต่ง

  • ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์

คำสำคัญ:

ศาลแรงงาน, ระบบไต่สวน, กระบวนวิธีพิจารณาคดีแรงงาน, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมาย แรงงานฉบับแรก ๆ ที่ได้รับการตราขึ้นในระบบกฎหมายไทย และนับตั้งแต่มีการตรากฎหมาย ดังกล่าวขึ้นในปีพุทธศักราช 2522 แล้ว กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อความ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและในทางกฎหมายเท่าใดนัก ปัญหาส าคัญที่เกิดขึ้นในพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานคือ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของกระบวนวิธีพิจารณา ของศาลในหลายประการ ยังผลให้การด าเนินการของศาลแรงงานในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ได้รับการ วิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ทั้งนี้คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่ง โดยทั่วไป โดยการด าเนินคดีในศาลแรงงานต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว เสมอาาคและ เป็นธรรม เพื่อให้คู่ความมีโอกาสประนีประนอมยอมความกันและสามารถกลับไปท างานร่วมกันได้ โดยไม่เกิดความรู้สึกเป็นอริต่อกัน ซึ่งมีการกล่าวกันว่ากระบวนพิจารณาคดีที่ใช้ในศาลแรงงานนั้นมี ลักษณะที่ค่อนไปตามหลักการของระบบไต่สวน อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังมีข้อจ ากัดหลาย ประการที่ท าให้ไม่อาจกล่าวได้ว่ากระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงานเป็นไปตามระบบไต่สวนอย่างแท้จริง ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนพิจารณาคดีแรงงาน ในระบบไต่สวน” เพื่อค้นหาข้อความคิดในเชิงหลักการในการแก้ปัญหาดังกล่าว และเพื่อท าข้อเสนอ เบื้องต้นในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี แรงงาน พ.ศ. 2522 ต่อไปด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26