อาชญากรรมความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต
คำสำคัญ:
การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต, การสะกดรอยออนไลน์, การล่วงละเมิดทางไซเบอร์, อาชญากรรมไซเบอร์บทคัดย่อ
การก ่อความรุนแรงรูปแบบต ่าง ๆ ที ่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการ ติดต่อสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะในฐานะพื้นที่ใหม่ส าหรับเปิดเผยเรื่องราวลับ ๆ หรือที่น่า อับอายของบุคคลอื่นให้แก่ผู้ชมจากทั่วสารทิศ หรือในฐานะเครื่องมือส่งผ่านค าข่มขู่ คุกคาม หรือ สร้างความหดหู่เศร้าหมองให้แก่เหยื่อ นับเป็นปัญหาร่วมสมัยที่นานาประเทศต่างก็ก าลังประสบ เพียงแต่อาจมีระดับความถี่ของการเกิดขึ้น หรือระดับความรุนแรงและความสูญเสียแตกต่างกันไป บ้างเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วน หรือปริมาณผู้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ วัฒนธรรมความรุนแรง ในสังคม รวมทั้งมาตรการที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งแน่นอนว่าหมายรวมถึงกฎหมายและการบังคับใช้ ด้วย ความรุนแรงในโลกออนไลน์นี้ หลายกรณีส่งผลกระทบกับเหยื่อมากเกินกว่าที่ผู้กระท าจะ คาดหมายได้ ตั้งแต่การที่เหยื่อถูกขุดคุ้ยข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ถูกแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น ถูกพัก การเรียน ถูกไล่ออกจากงาน ถูกข่มขู่ว่าจะท าร้าย ไปจนถึงการตัดสินใจฆ่าตัวตาย อนึ่ง ปัจจุบัน มีค าศัพท์หลายค าที่ถูกน ามาอธิบายพฤติกรรมความรุนแรงดังกล่าวอาทิ การล่วงละเมิดทางไซเบอร์ (Cyber harassment) การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyber bullying) การคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber threats) หรือการสะกดรอยตามรังควานทางไซเบอร์(Cyberstalking) โดยบางค ามีนิยาม ทับซ้อนกันจนอาจท าให้สับสนได้ว่าค าเหล่านี้มีความหมายเหมือนกัน หรือใช้แทนกันได้หรือไม่ บทความนี้ มุ่งหมายพิจารณาถึงความแตกต่างของค าศัพท์เหล่านั้น รวมทั้งส ารวจและศึกษาเบื้องต้นว่าประเทศต่าง ๆ มีหรือใช้กฎหมายรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร จากนั้นจะได้พิจารณาว่ากฎหมาย ไทยที่มีอยู่เพียงพอที่จะน ามาจัดการกับปัญหาหรือไม่ อย่างไรตาม ในท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมที่ เกิดขึ้นนี้อาจไม่จ าเป็นเสมอไปที่ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าจัดการ เพราะบางทีมาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กฎหมาย (Non-legal Solutions) อย่างมาตรการยับยั้งเชิงสังคมที่ด าเนินการอย่างจริงจัง และถูกทาง การสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ให้กับเด็กและเยาวชน ฯลฯ อาจเหมาะสมและจ าเป็นยิ่งกว่า และรัฐก็ควรตระหนักด้วยว่า การจะออกกฎหมายใด ๆ มาบังคับใช้กับประชาชนนั้นรัฐจ าเป็นต้อง พิจารณาถึงความร้ายแรงอันถึงขนาดที่มิอาจใช้มาตรการอื่นใดแก้ไขได้แล้ว และการแทรกแซง วิถีชีวิตประชาชนเป็นพิเศษก็ควรเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเพื่อคุ้มครองบุคคลที่ควรคุ้มครองเป็นพิเศษ เท่านั้นซึ่งต้องได้สัดส่วนกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ