ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์อันเกี่ยวกับงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยใช้งานของผู้อื่น: บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศแคนาดาและไทย
คำสำคัญ:
ลิขสิทธิ์, ข้อยกเว้น, แฟนฟิกชัน, แมชอัพ, งานล้อเลียนบทคัดย่อ
การสร้างสรรค์งานโดยใช้งานของผู้อื่นเป็นวัตถุในการสื่อถึงความคิดและความหมายใหม่ ๆ เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์การสร้างสรรค์งานใหม่ในลักษณะนี้เป็นสิทธิของบุคคล ทุกคนและเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ดังนั้น กฎหมายลิขสิทธิ์จึงก าหนดให้มีข้อยกเว้นการละเมิด ลิขสิทธิ์ไว้ภายใต้เงื่อนไขตามสมควร ในกรณีอันเกี่ยวกับงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยใช้งานของผู้อื่น ในโลกอินเตอร์เน็ต (user-generated content) มีเพียงข้อยกเว้นมาตรา 29.21 ของกฎหมาย ลิขสิทธิ์ในประเทศแคนาดาที่บัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงให้การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อ สร้างสรรค์งานชิ้นใหม่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อที่ก าหนด บทความนี้จึงศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศแคนาดาและ ในประเทศไทย อันเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ส าคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานที่สร้างขึ้นโดยใช้งานของผู้อื่น (user-generated content) โดยพิจารณาว่าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ ศึกษานั้นเพียงพอและเหมาะสมต่อการสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ประโยชน์สาธารณะอันเกี่ยวกับงานที่สร้างขึ้นจากงานของผู้อื่นหรือไม่เพียงใด และองค์ประกอบและ การปรับใช้ข้อยกเว้นที่เหมาะสมควรจะเป็นเช่นไร ผลการศึกษาเชิงวิพากษ์ในบทความนี้จะน าไปสู่ แนวทางในการสร้างดุลภาพระหว่างสิทธิที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ