แนวทางการพัฒนาการเบี่ยงเบนคดีในชั้นสอบสวนที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด
คำสำคัญ:
เด็กและเยาวชน, การเบี่ยงเบนคดี, สอบสวนบทคัดย่อ
ในปัจจุบันการกระท าความผิดของบุคคลที่เป็นเด็กและเยาวชนเป็นประเด็นที่ส าคัญ ซึ่งเกิดขึ้นในสังคม เนื่องจากการกระท าดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการด้าน ต่าง ๆ ของครอบครัวและของรัฐ เช่น การให้ความรักและความเอาใจใส่ระหว่างสมาชิกในครอบครัว การตระเตรียมระบบการศึกษาโดยรัฐ นอกจากนี้ยังสะท้อนภาพอนาคตที่จะเกิดขึ้นภายในรัฐโดยมี ผู้ขับเคลื่อนคือเด็กและเยาวชน ประเทศไทยมีกระบวนการยุติธรรมทางอาญาส าหรับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 กระทั่งปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาส าหรับเด็กและเยาวชน ด าเนินการภายใต้กฎหมายมาแล้วมากกว่าครึ่งศตวรรษ การแยกกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ส าหรับเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไปด ารงอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ ของการแก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยเน้นผลประโยชน์สูงสุดของเด็กและ เยาวชน รวมถึงการรักษาความสงบสุขของสังคมส่วนรวมไปพร้อม ๆ กันพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นกฎหมายรุ่นที่สามและถูกใช้บังคับกระทั่งปัจจุบัน ภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าว มีการออกแบบมาตรการพิเศษต่าง ๆ เพื่อใช้แก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายของ เด็กและเยาวชน มาตรการทางกฎหมายที่ถูกก าหนดให้น ามาใช้กับเด็กตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นบทบัญญัติที่ ชัดเจนบทหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้โอกาส แก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรม ทั้งยังรักษาอนาคต รวมถึงสวัสดิภาพของผู้กระท าความผิดที่เป็นเด็กร่วมด้วย อย่างไรก็ดี หากพิจารณาบทบัญญัติข้างต้นอย่างละเอียดจะพบว่าบทบัญญัติดังกล่าวยังมี ประเด็นปัญหาบางประการเช่นกัน กล่าวคือ ประการแรก มาตรการดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้กับ กรณีที่เด็กเป็นผู้กระท าความผิดเท่านั้น กรณีนี้ย่อมหมายความว่าการกระท าความผิดของเยาวชน ไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรานี้ ประการที่สอง การใช้มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อมี การกระท าความผิดครั้งแรกเท่านั้น หากเป็นการกระท าความผิดในครั้งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิด ฐานใด ตามกฎหมายฉบับใด ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตราดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน และ ประการสุดท้าย เป็นประเด็นที่มีความส าคัญที่สุดต่อการแก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน กฎหมายของผู้กระท าความผิด บทบัญญัติดังกล่าวก าหนดให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน เรียกเด็ก บิดา มารดาผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วยมาว่ากล่าว ตักเตือน และถ้าเด็กส านึกในการกระท า และบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็ก นั้นอาศัยอยู่ด้วยสามารถดูแลเด็กได้ ก็จะต้องงดการสอบสวนและปล่อยตัวเด็กไป ซึ่งการใช้วิธีการ ในการแก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายของผู้กระท าความผิดโดยการว่ากล่าวแล้ว ปล่อยตัวกลับไป จ าเป็นต้องพิจารณาว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมหรือไม่ จากการศึกษา ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้น ดังนี้ ประการแรก ควรแก้ไขกฎหมายโดยการก าหนดให้การใช้มาตรการตามมาตรา 69/1 ครอบคลุมไปถึงการกระท าความผิดของเยาวชนด้วย ประการที่สอง เพื่อเป็นการรักษาสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชน บทบัญญัติตาม มาตรา 69/1 ไม่ควรน าจ านวนครั้งของการกระท าความผิดมาเป็นเงื่อนไขในการใช้มาตรการดังกล่าวนี้ และประการสุดท้าย ควรก าหนดให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานสามารถเลือกใช้ มาตรการที่เหมาะสมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยไม่ถูกจ ากัดไว้แต่เฉพาะการว่ากล่าวตักเตือนตัวเด็ก บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วยเท่านั้น ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าข้อเสนอเพื่อการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นมาตรการส าคัญและจะส่งผลต่อ ความส าเร็จในการแก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยเน้นผลประโยชน์สูงสุดของ เด็กและเยาวชน รวมถึงการรักษาความสงบสุขของสังคมส่วนรวมไปพร้อม ๆ กันในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ