การลดค่าเสียหายเพื่อละเมิดโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์และเสนอว่า ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 438 ประกอบมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ศาลสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาปรับลด ค่าเสียหายในคดีละเมิดลงได้ในกรณียกเว้นอย่างยิ่งเพื่อความเป็นธรรม หากเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า ค่าเสียหายที่ก าหนดจะก่อให้เกิดภาระทางการเงินแก่ผู้กระท าละเมิดอย่างมาก หรือระดับความร้ายแรง ของความผิดไม่ได้สัดส่วนอย่างมากกับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยในการปรับลดค่าเสียหายนั้น ผู้เขียนเสนอว่าจะต้องเข้าเงื่อนไข 4 ประการ กล่าวคือ (1) ผู้กระท าละเมิดเป็นบุคคลธรรมดา (2) การกระท าละเมิดมิได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (3) มิใช่ความเสียหาย ที่เกิดต่อชีวิต ร่างกายและอนามัย และ (4) การก าหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายเต็มจ านวนจะก่อให้เกิด ภาระทางการเงินแก่ผู้กระท าละเมิดอย่างมาก หรือระดับความร้ายแรงของความผิดไม่ได้สัดส่วน อย่างมากกับความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากแนวทางดังกล่าวยังไม่เคยมีแนวค าพิพากษาศาลฎีกาวางไว้เป็นบรรทัดฐาน มาก่อน จึงอาจท าให้ศาลไม่ต้องการใช้ดุลพินิจเช่นที่ผู้เขียนเสนอ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนได้เสนอแก้ไข เพิ่มเติมเงื่อนไข 4 ประการในการปรับลดค่าเสียหายโดยค านึงถึงความเป็นธรรมในวรรค 2 ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 442 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปรับใช้หลักกฎหมาย ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ