“สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย: การกลายพันธุ์ของความคิดทางรัฐธรรมนูญที่รับเข้าจากต่างประเทศ?
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
งานศึกษาฉบับนี้ทบทวนเจตนารมณ์และความเป็นมาของบทบัญญัติว่าด้วย “สิทธิพิทักษ์ รัฐธรรมนูญ” ในระบอบรัฐธรรมนูญไทย และเปรียบเทียบกับกฎหมายพื้นฐานแห่งสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีภายใต้กรอบความคิดเรื่อง “หลักประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้” โดย พิจารณากลไกพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ส าคัญสามกรณีคือ กรณีการประกาศการสูญไปซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน กรณีการยุบพรรคการเมืองที่มุ่งล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และกรณีการรับรองสิทธิต่อต้านขัดขืน การล้มล้างการปกครองไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ถึงแม้บทบัญญัติ ดังกล่าวในระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยจะเป็นกรณีของ “การรับเข้า” แนวความคิดทางรัฐธรรมนูญ จากต่างประเทศ แต่ทว่าบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญไทย ตลอดจนค าอธิบายและแนว ค าวินิจฉัยพิพากษาที่เกี่ยวเนื่องนั้นกลับมีความหมายที่แตกต่างไปจากความคิดอันเป็นต้นฉบับที่รับ เอามา จนอาจเรียกได้ว่าเป็นกรณี “การกลายพันธุ์” ของความคิดทางรัฐธรรมนูญที่รับเข้าจาก ต่างประเทศ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ