วิเคราะห์คำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนผ่านมุมมองด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
คดีทะเลจีนใต้, กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ, กฎหมายทะเลบทคัดย่อ
ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้มีค าชี้ขาดในคดี พิพาทระหว่างประเทศฟิลิปปินส์และประเทศจีนในคดีทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นค าชี้ขาดขนาดยาว ประกอบไป ด้วยประเด็นในทางสิ่งแวดล้อม เช่น พันธกรณีในการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล พันธกรณีในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและพันธกรณีในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในทางภูมิศาสตร์แล้วทะเลจีนใต้ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ทางทะเลของรัฐชายฝั่งในภูมิภาคอาเซียนหลาย ประเทศซึ่งล้วนแล้วแต่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ค าชี้ขาดฉบับนี้จึงมีผลกระทบต่อธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในอาเซียนโดยรวมถึงแม้ว่าคดีทะเลจีนใต้จะเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐสองรัฐก็ตาม บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะน าเสนอแง่มุมทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและถอดบทเรียนที่ได้ จากคดีนี้จากการศึกษาพบว่ามีหลายทางที่จะน าค าพิพากษาไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลส าเร็จในการ ปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลของภูมิภาคนี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ