หลักเสรีภาพในการทำสัญญากับข้อตกลงทางภาษี: กรณีศึกษาสัญญาทางธุรกิจที่มีลักษณะระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร ลาภวณิชชา พรหมศักดิ์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

สัญญาทางธุรกิจนำมาซึ่งภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้จากการทำสัญญานั้น คู่สัญญาโดยเฉพาะในสัญญาที่มีลักษณะระหว่างประเทศจึงมักคิดหาวิธีการผลักภาระภาษีไปให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยอาศัยหลักเสรีภาพในการทำสัญญาคู่สัญญาจึงได้สร้างข้อตกลงทางภาษีอากรหรือ Tax Clause เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้น โดยที่ไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในการจัดเก็บภาษีไปแต่อย่างใด แต่ปัญหา ประการสำคัญของสัญญาที่มีลักษณะระหว่างประเทศคือ การขัดกันแห่งกฎหมายและการขัดกันแห่งอำนาจศาลรวมถึงการระงับข้อพิพาททางเลือก เมื่อคู่สัญญาตกลงเลือกกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญา ทางธุรกิจระหว่างประเทศ ศาลผู้พิจารณาคดีจะยอมรับบังคับตามข้อตกลงเลือกกฎหมายกับ ข้อตกลงทางภาษีเช่นเดียวกันกับข้อตกลงอื่น ๆ หรือไม่ ศาลจะยอมรับข้อตกลงเลือกวิธีการระงับ ข้อพิพาทอื่นที่มิใช่ศาลหรือไม่ เช่น อนุญาโตตุลาการนอกศาล หากไม่ยอมรับย่อมเกิดประเด็นการบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศที่เกิดจากหนี้ภาษีอากร เช่นนี้ศาลไทยจะมีคำตอบว่าอย่างไร ในเมื่อการบังคับตามคำพิพากษาต่างประเทศในคดีแพ่งพาณิชย์ทั่วไปก็มิได้เกิดขึ้นโดยง่าย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26