ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษากรณีการรับอาสากระทำความผิด

ผู้แต่ง

  • ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น, การรับอาสากระทำความผิด

บทคัดย่อ

การสมคบกันกระทำความผิด หรือการใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิด เป็นรูปแบบความรับผิดทางอาญาที่เรียกว่า “ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น” ซึ่งมีการกำหนดไว้ในระบบกฎหมายอาญาไทยเพื่อเป็นฐานอำนาจให้แก้เจ้าพนักงานในการเข้าดำเนินคดีกับบุคคลที่กระทำการดังกล่าวได้แม้ความเสียหายจากการสมคบกันกระทำความผิด หรือใช้ให้ไปกระทำความผิดจะยังไม่เกิดขึ้น  แต่ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวนี้มีข้อสังเกตว่า บทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้สมคบหรือผู้ใช้นี้อาจไม่สามารถเป็นเครื่องมือของรัฐในการหยุดยั้งการกระทำความผิดอาญาไม่ให้ดำเนินไปโดยตลอดจนความผิดสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวมีช่องว่างของกฎหมายที่ไม่อาจปรับใช้กับกรณีในกรณีที่บุคคลได้มีการเสนอตัวกระทำความผิดอาญาแก่บุคคลอื่นเพียงฝ่ายเดียว หรือสนองรับการก่อเจตนากระทำความผิดจากบุคคลอื่น

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และ ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน ได้มีบทบัญญัติกฎหมายที่รองรับไว้ปรับใช้กับกรณีปัญหาดังกล่าวอย่างน่าสนใจ  ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงจะได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อนำเสนอแนวคิดการกำหนดความผิดที่เป็นการเริ่มต้น สำหรับ “การรับอาสากระทำความผิด” เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหากฎหมายอาญาไทยดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20