เกณฑ์ความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำทางเพศในกฎหมายอาญาไทย

ผู้แต่ง

  • สิรินทิพย์ สมใจ

คำสำคัญ:

เกณฑ์อายุของความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำทางเพศ, ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา, ความสามารถในการให้ความยินยอม, ความยินยอมต่อการกระทำทางเพศ

บทคัดย่อ

บุคคลมีเสรีภาพทางเพศที่จะให้ความยินยอมหรือปฏิเสธการกระทำทางเพศ หรือกำหนดความสัมพันธ์ทางเพศได้ตามความต้องการ  ซึ่งการกระทำทางเพศที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่เกี่ยวข้องเสมอ  กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองเสรีภาพทางเพศของบุคคล  โดยกำหนดความผิดอาญาสำหรับการกระทำที่กระทบต่อเสรีภาพทางเพศของบุคคลอื่น  ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศประเภทหนึ่งที่กำหนดให้กระทำชำเราที่ปราศจากความยินยอมและความสมัครใจของบุคคลอื่นเป็นความผิดอาญา  ความยินยอมของผู้เสียหายจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานดังกล่าว  สำหรับการกระทำชำเราที่ได้รับความยินยอมของผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นไม่เป็นการกระทำความผิด  แต่ผู้ให้ความยินยอมจะมีความสามารถในการให้ความยินยอมและมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจขณะให้ความยินยอม  ความผิดเกี่ยวกับเพศของเด็กเป็นบทบัญญัติที่กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจากการกระทำทางเพศ  โดยกำหนดการกระทำทางเพศต่าง ๆ ที่กระทำต่อเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเป็นความผิดอาญา  ซึ่งจะไม่นำความยินยอมของเด็กมาใช้เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด  ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกกระทำชำเรา โดยกำหนดให้การกระทำชำเราเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตามเป็นความผิดอาญา เด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำชำเราได้  บุคคลที่มีความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำชำเรา ซึ่งได้รับความคุ้มครองเสรีภาพหรือความเป็นอิสระในการให้ความยินยอมหรือปฏิเสธต่อการกระทำชำเราในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรานี้  จึงเป็นบุคคลที่มีอายุมากกว่าเกณฑ์อายุที่กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองในความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก  บทความนี้ขอเรียกว่า เกณฑ์อายุของความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำชำเรา ซึ่งเป็นเกณฑ์อายุที่ทำให้ความยินยอมของบุคคลที่มีอายุในเกณฑ์นี้ถูกนำมาเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา  โดยส่วนใหญ่เกณฑ์อายุนี้จะกำหนดให้ช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี) โดยเฉลี่ยประเทศส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์อายุในช่วง 15-18 ปี บทความนี้ทำการศึกษาการกำหนดเกณฑ์อายุของความสามารถในการให้ความยินยอมต่อการกระทำชำเราในกฎหมายไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

References

หนังสือ
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพฯ : กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2557), น.426.
คณพล จันทน์หอม, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 3 ลักษณะ 1 ถึงลักษณะ 9, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2561), น.545-558.
คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคความผิด, พิมพ์ครั้งที่ 11, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2559), น.518-544.
คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2560), น.423.
จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ตอน 2, พิมพ์ครั้งที่ 10, (กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา, 2556), น.831.
ดวงจิตต์ กำประเสริฐ, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรวมคำแหง, 2527), น.56-67.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, มุมมองใหม่ในกฎหมายอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2556), น.152-153.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ, พิมพ์ครั้งที่ 15, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2561), น. 200-206.
ธงทอง จันทราศุ, กฎหมายไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น, (กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529), น.5.
บรรยงค์ เกศเทศ, สภานภาพสตรีไทย, (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2532) น.84.
ราชบัณฑิตยสถาน. กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1.
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์, ว่าด้วยกฎหมาย, พิมพ์ในงานศพนายแสวง เตชะยานนท์ (พระนคร : โรงพิมพ์บรรหาร, 2507) น.112.
ศรีเรือน แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ เล่มที่ 2, พิมพ์ครั้งที่ 9, เล่มที่ 1 (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549), น.445-446.
หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2553).
หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ 127, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2561), น.357-358.
อำมาตย์โท พระอินทปรีชา (เหยียน ลขะวณิช), คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ภาค 2 ตอน 2, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2470), น.1105.

บทความวิชาการ
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, “บันทึกของนายยอร์ช ปาดูซ์ (Groeges Padoux) ที่ปรึกษาการร่างกฎหมายของรัฐบาลสยาม เกี่ยวกับการร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127,”วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 18, ฉบับที่ 2, น.17.
วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, “ของเขตของการกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร และการคุกคามทางเพศ” วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 48, เล่มที่ 1, (2562), น.107-128.

วิทยานิพนธ์
กมลชัย รัตนสกาววงศ์, “ความยินยอมในกฎหมายอาญา”, (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523), น.41.
ชิดชนก แผ่นสุวรรณ, “ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและอนาจาร : ศึกษาตั้งแต่สมัยกฎหมายตราสามดวงถึงประมวลกฎหมาอาญา,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548), น.8-54.
สิรินทิพย์ สมใจ, “ความยินยอมของเด็ก : ศึกษากรณีสิทธิการตายโดยสงบของผู้ป่วยเด็ก,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562), น.52.

คำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2466. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก https://deka.in.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก https://deka.in.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2528. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก https://deka.in.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2528. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก http://deka.supremecourt .or.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก http://deka.supremecourt .or.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2537. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก http://deka.supremecourt .or.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก https://deka.in.th.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10328/2546. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562. จาก https://deka.in.th.
กฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127.
พระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี ร.ศ.118.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ครั้งที่ 8) พ.ศ.2530.
หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาอาญา (ครั้งที่ 8) พ.ศ.2530.
ประมวลกฎหมายอาญา.

Articles
“Netherlands,” Overview of the legislation on child Pornography in the Member States, Europol, p.33 (2005).
Carol E. Tracy et al, “Rape and sexual assault in the legal system,” Presented to the international Research Council od the national academies panel in Measuring rape and sexual assault in Bureau of justice statistics Household Surveys Committee on National Statistics, pp.5-6 (2012)
David M. Bierie & Kristen M. Budd, “Romeo,Juliet, and Statutory Rape,” Sexual Abuse Vol. 30, No. 3, p.2 (2018)
Guangxing Zhu, Suzan van der Aa, “Trends of age of consent legislation in Europe : A comparative study of 59 jurisdictions on the European continent”, New journal of European criminal law. Vol.8. No.1, p.1 (2017).
Helmut Graupner, “Sexual consent : The criminal law in Europe and overseas”, Archives of sexual behavior, No. 29, Vol. 5, p.416 (2000).

เอกสารอิเล็กทรอนิค
“A child's legal rights, Legal definitions,” accessed 20 August 2019, from https://www.nspcc. org.uk/preventing-abuse/child-protection-system/legal-definition-child-rights-law/legal-definitions/
“Age of consent,” accessed 20 August 2019, from https://stg.themix.org.uk/crime-and-safety/your-rights/age-of-consent-9106.html?gclid=Cj0KCQjwwIPrBRCJARIsAFlVT89soGLilt0NqRO3daV3E8540FSIL8s3y7Kr2POgOia8sqJvNt8XD28aAj NqEALw_wcB
“Age of consent by Country 2019,” accessed 11 August 2019, from http://worldpopulationre view.com/countries/countries-by-age-of-consent/
“Age of consent in Nigeria,” accessed 12 August 12 2019, from https://www.ageofconsent. net/world/nigeria
“National analysis Netherlands,” accessed 20 August 2019, from https://www.womenlobby. org/IMG/pdf/2714_ netherlands_lr
“The law on sex,” accessed 20 August 2019, from https://www.fpa.org.uk/factsheets/law-on-sex#age-consent
Age of consent by Country 2019,” accessed 11 August 2019, from http://worldpopulation review.com/countries/countries-by-age-of-consent/
Diannae Hubbard,”The age of consent,” accessed 11 August 2019, from http://www.lac.org.na/projects/ grap/Pdf/rapeconsent97
Dillon, Robin.D, “respect,” accessed 15 June 2019, from https:// plato.stanford.edu/cgi-vin/encyclopedia/ archinfo.cgi?entry=respect.
Encyclopedia of Sociology, “Personal Autonomy,” accessed 22 July 2019, from http://www.encyclopedia.com/ social-sciences/encyclopedias -almancs-tras cripts-and-maps/personal-autonomy.
Jane Dryden, “Autonomy,” accessed 3 August 2019, from www.iep.utm.edu/autonomy/
Joanne Sawyer, “Change The age of consent and Child marriage law in Nigeria,” accessed 12 August 2019, from https://www.thepetitionsite.com/668/826/312/change-the-age-of-consent-law-in-nigeria./
Term and privacy policy, “Age of consent in Netherlands,” Accessed 3 July 2018, from https://www.ageofcon sent.net/world/netherlands

Legal
The Penal code of Netherlands.
Sexual offences of The sexual offences Act 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-24