การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
หลักเกณฑ์ กระบวนการไต่สวน และบทลงโทษ
คำสำคัญ:
กฎหมายว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ, การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด, การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การอุดหนุน, การตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้บทคัดย่อ
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Measure) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Measure) ที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกใช้เพื่อยกระดับให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมระหว่างสินค้าที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมภายในประเทศและสินค้านำเข้า และเยียวยาความเสียหายของอุตหสากรรมภายในประเทศจากการทุ่มตลาด (Dumping) และการอุดหนุน (Subsidy) ของประเทศใดประเทศหนึ่ง อย่างไรก็ดี ในการดำเนินการทางธุรกิจของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดอาจมีการหลบเลี่ยง (Circumvention) เพื่อให้สินค้าที่นำเข้ามาไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือมาตรการตอบโต้การอุดหนุน หรือไม่อยู่ภายใต้บังคับของอัตราอากรที่เรียกเก็บเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน
พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลา 2 ทศวรรษ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งจะเริ่มใช้บังคับในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ได้มีการวางหลักในการพิจารณาว่ามีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนเกิดขึ้น กระบวนการไต่สวนการหลบเลี่ยง บทลงโทษ และการอุทธรณ์ผลการพิจารณา (Judicial review)
พระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนใน มาตรา 71/3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ และกำหนดรูปแบบของการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนในมาตรา 71/4 เมื่อดำเนินการไต่สวนตามขั้นตอนที่กำหนดแล้วพบว่ามีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน มาตรา 71/13 กำหนดบทลงโทษกับสินค้าที่มีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนโดยเรียกเก็บอากรตอบโต้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บกับสินค้านำเข้าที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน (แล้วแต่กรณีการไต่สวน) จากประเทศผู้ส่งออก
References
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2561, วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, ความแพ่ง.
WTO Final ACT, กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์, (กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2567).
www.wto.org.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ