กฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน
คำสำคัญ:
การไกล่เกลี่ย, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน, ข้อพิพาทบทคัดย่อ
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับลักษณะของข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ คุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่และจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย การจัดทำบันทึกข้อตกลงและผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยแบ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออกเป็นสองลักษณะตามหน่วยงานที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยหน่วยงานของรัฐ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งในบทความฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงสภาพปัญหาของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน โดยพบว่ายังมีปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนในหลายประการ เช่น 1) ปัญหาการจัดตั้งและการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 2) ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 3) ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของข้อพิพาทที่อยู่ในขอบอำนาจของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และ 4) ปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงระงับข้อพิพาทโดยภาคประชาชนและสภาพบังคับทางกฎหมาย และมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของพระราชบัญญัตินี้เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
References
ชลัท ประเทืองรัตนา. “การไกล่เกลี่ยคนกลางและการแก้ไขความขัดแย้ง.” สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 http://wiki.kpi.ac.th
ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. การถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (รายงานวิจัย). สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. (2561).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. โครงการวิเคราะห์ระบบค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาลด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์. (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 https://rabi.coj.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/133935
อุดม งามเมืองสกุล. “การแก้ไขความไม่เป็นธรรมในสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเพื่ออยู่อาศัย.” บทบัณฑิตย์. เล่มที่ 74 ตอนที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2561)
______________. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญาสินเชื่อรถแลกเงิน.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน พ.ศ. 2559)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ