ความเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ความสุจริตอย่างยิ่งในการประกันวินาศภัย
คำสำคัญ:
หลักสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง, สัญญาประกันภัย, ประกันวินาศภัยบทคัดย่อ
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความสุจริตอย่างยิ่ง (Utmost good faith) โดยเฉพาะจากฝ่ายผู้เอาประกันภัย หลักการนี้ใช้เป็นหลักของสัญญาประกันภัยในทุกประเทศที่มีกิจการประกันภัยและมีกฎหมายประกันภัย สำหรับประเทศไทยมีการบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง กำหนดหน้าที่สำคัญของผู้เอาประกันภัยไว้สองประการ คือ หน้าที่เปิดเผยข้อความจริง (Duty of disclosure) และ หน้าที่ไม่แถลงความเท็จ (Duty of non-misrepresentation) ซึ่งหมายถึง หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งเป็นสาระสำคัญของความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัย ซึ่งอาจจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยสูงขึ้น หรืออาจทำให้ผู้รับประกันภัยบอกปัดไม่ทำสัญญา โดยเป็นข้อความที่ผู้มีหน้าที่แถลงดังกล่าวได้รู้ความจริง ก่อนหรือในขณะเข้าทำสัญญาประกันวินาศภัย หากมีการฝ่าฝืนหน้าที่ดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สัญญาประกันวินาศภัยนั้นตกเป็นโมฆียะ (Voidable) ผู้รับประกันภัยสามารถใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันวินาศภัยได้
หลักสุจริตอย่างยิ่งตามกฎหมายต่างประเทศได้มีความเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งแยกหน้าที่ของ
ผู้เอาประกันภัยระหว่างสัญญาประกันวินาศภัยที่เป็นสัญญาเชิงผู้บริโภคกับสัญญาประกันภัย
เชิงพาณิชย์ และกำหนดหน้าที่ต่อความสุจริตอย่างยิ่งที่ชัดเจนขึ้นแก่ฝ่ายผู้รับประกันภัย ให้ต้องมีหน้าที่ต้องสอบถามแบบเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้รับประกันภัยต้องการทราบ ติดตามให้ได้คำตอบ
สำหรับสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน และมีหน้าที่บอกกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยให้ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้น
หากผู้เอาประกันภัยฝ่าฝืนหน้าที่ การเปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านเอกสาร ผู้รับประกันภัยที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ย่อมถูกพิจารณาว่าเป็นฝ่ายไม่สุจริต จะไม่สามารถยกอ้างเพื่อบอกล้างสัญญา จึงเห็นได้ว่าหน้าที่ตามหลักสุจริตอย่างยิ่ง ถูกทำให้กว้างขึ้น ไม่ถูกจำกัดเฉพาะการเปิดเผยข้อความจริงและการไม่แถลงข้อความเท็จอีกต่อไป รวมทั้งการบัญญัติให้ผลของการฝ่าฝืนหลักความสุจริตอย่างยิ่งโดยผู้เอาประกันภัย เปลี่ยนแปลงไปหากไม่ใช่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
เนื่องจากกฎหมายประกันภัยเป็นกฎหมายอีกลักษณะหนึ่งที่มีหลักการสอดคล้องกันเป็นสากล แต่ประเทศไทยปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดหน้าที่ต่อความสุจริตอย่างยิ่งของผู้รับประกันภัยไว้อย่างชัดเจน ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ระบุหน้าที่ความสุจริตอย่างยิ่งของฝ่ายผู้รับประกันภัย โดยบัญญัติถึงความสุจริตอย่างยิ่งในการพิจารณารับประกันภัย, หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อความจริงที่
ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องเปิดเผย, กำหนดหน้าที่การให้คำเตือนแก่ผู้เอาประกันภัย และเสนอให้บัญญัติแก้ไขให้ผลของการฝ่าฝืนความสุจริตอย่างยิ่งโดยผู้เอาประกันภัย ให้ศาลคุ้มครองผู้เอาประกันภัยได้ในกรณีที่การฝ่าฝืนไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
References
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการประกันภัย ประจำปี 2548-50, สมาคมประกันวินาศภัย, คู่มือวิชาการประกันภัย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (2549)
จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงเพิ่มเติมโดย สิทธิโชค ศรีเจริญ, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย, พิมพ์ครั้งที่ 15, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, (2563)
บทความ
เจริญชัย อัศวพิริยอนันต์, “หลักความสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันภัยทางทะเล”, วารสารศาลยุติธรรมปริทัศน์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 3, น.89-104 (2555).
Books
Michael Parkington, Anthony O’Dowd, Nicholas Legh-Jones, and Andrew Longmore, MacGillivray & Parkington on Insurance Law Relating to All Risks Other Than Marine 7th ed., (London : Sweet & Maxwell Limited, 1981)
Other Materials
Australian and New Zealand Institute of Insurance and Finance, GI403-00 General Insurance Products, Study Material, 2017.
Australian and New Zealand Institute of Insurance and Finance, GI405-00 General Insurance Claims Handling, Study Material, 2017.
Chartered Insurance Institute, Award in General Insurance, Study text, (2019-20).
https://www.clydeco.com/blog/insurance-hub/article/young-v-royal-and-sun-alliance-plc-disclosure-under-the-insurance-act-2015
https://www.kennedyslaw.com/media/2352/kennedys-the-insurance-act-2015.pdf
https://www.michelmores.com/news-views/news/when-might-insurer-waive-its-entitlement
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ