หลัก in dubio pro reo ในคดีอาญาระบบไต่สวน
คำสำคัญ:
หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย, ระบบไต่สวน, มาตรา 227 วรรคสองบทคัดย่อ
in dubio pro reo หรือหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย เป็นหลักการสำคัญของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งประเทศไทยรับรองไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง แต่หลังจากนำระบบไต่สวนมาใช้ในคดีอาญา นักกฎหมายส่วนหนึ่งเห็นว่า in dubio pro reo เป็นหลักการของระบบกล่าวหา ไม่อาจนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาระบบไต่สวนได้ และในระบบไต่สวนเมื่อมีข้อสงสัยศาลมีหน้าที่ค้นหาความจริงจนสิ้นสงสัย แต่ก็มีนักกฎหมายอีกส่วนหนึ่งเห็นแย้งกับความเห็นดังกล่าว ขณะที่ข้อโต้แย้งนี้ยังไม่ยุติ ปัจจุบันเริ่มปรากฏกระบวนพิจารณาของศาลหันเหไปตามความเห็นแรก การศึกษาในประเด็นนี้จึงมีความสำคัญทั้งในเชิงวิชาการและในทางปฏิบัติ ซึ่งจากการศึกษาความเป็นมาและศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลัก in dubio pro reo ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของต่างประเทศ พบว่ามีการใช้อยู่ทั่วไป รวมถึงประเทศที่ใช้ระบบไต่สวน จึงสรุปได้ว่า in dubio pro reo เป็นหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ใช้ได้ในวิธีพิจารณาทุกระบบ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ