ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลและพัฒนาการที่เกี่ยวข้อง

ผู้แต่ง

  • ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง Chulalongkorn University

คำสำคัญ:

สินทรัพย์ดิจิทัล, ผู้ดูแลผลประโยชน์, ผู้ดูแลสินทรัพย์, RUFADAA, UADAFA

บทคัดย่อ

ที่ผ่านมาการจัดการสินทรัพย์ในกองมรดกเป็นการจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องได้ต่างๆ สินทรัพย์ทางการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ เป็นประการหลัก แต่ปัจจุบันขอบเขตของสินทรัพย์ต่างๆได้ขยายขอบเขตรวมถึงสิ่งที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และทำให้บริบทของการจัดการสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัล (Access to Digital Assets) เป็นประเด็นโต้แย้งสิทธิกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะบุคคลที่สามที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือคำพิพากษาจำเป็นจะต้องเข้าถึงบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของเจ้าของที่อาจเสียชีวิตไปหรือถูกบังคับคดีในพฤติการณ์ต่างๆ แต่ไม่อาจทำได้เพราะในหลายประเทศมักมีกฎหมายเดิมที่ห้ามการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเอาไว้ และพัฒนาเป็นกฎหมายต้นแบบอย่าง RUFADAA ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ (fiduciaries) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลและการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ในทำนองเดียวกันเท่าที่จะเป็นไปได้กับที่สามารถดำเนินการกับสินทรัพย์ที่มีตัวตนและบัญชีทางการเงิน และเพื่อให้ผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลและการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (custodians) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินการใดๆกับผู้ดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ขณะเดียวกันก็รักษาความเป็นส่วนตัวของการสื่อสารส่วนบุคคลตามที่ผู้ใช้บริการจะคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล

References

บทความนี้ปรับปรุงมาจากเนื้อหาส่วนหนึ่งของ โครงการศึกษาเรื่องการบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2561)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28