ความรับผิดจากการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับ

ผู้แต่ง

  • ภูมินทร์ บุตรอินทร์ Meung

คำสำคัญ:

รถยนต์ไร้คนขับ, ความรับผิด, รถยนต์อัจฉริยะ

บทคัดย่อ

การนำเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับมาใช้อย่างเต็มรูปแบบนั้น อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดในเรื่องความรับผิดทางละเมิด กล่าวคือผู้ขับขี่รถยนต์จะยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ และยังคงต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่ที่เป็นมนุษย์เป็นหลัก ขณะที่เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับจะเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้ขับขี่ให้เป็นเพียงผู้โดยสารเท่านั้น ดังนั้น ข้อสันนิษฐานที่ว่าผู้ขับขี่รถยนต์เป็นผู้ประมาท หรือต้องรับผิดชอบเนื่องจากไม่ใช้ความระมัดระวังที่เพียงพอ จึงควรจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และคาดหมายกันว่าอุบัติเหตุไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากแต่กรณีของยานยนต์ไร้คนขับอาจเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงและทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ความตายได้ พฤติกรรมการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนอาจเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นในการใช้ถนนด้วย ดังนั้น ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไร้คนขับนั้นจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากหลักการในปัจจุบัน

ทฤษฎีความรับผิดที่ศึกษาเพื่อนำมาใช้กับยานยนต์ไร้คนขับ มี 3 ทฤษฎี จากการศึกษาพบว่า แต่ละทฤษฎีนั้น สามารถนำมาปรับใช้กับกรณีของยานยนต์ไร้คนขับได้ หากแต่การจะเลือกใช้ทฤษฎีใดนั้น ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ  สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาในเรื่องความรับผิดทั้งกรณีของความรับผิดทางละเมิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อแบบดั้งเดิมตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความรับผิดอย่างเคร่งครัด และความรับผิดแบบโดยปราศจากความผิดแบบมีประกันภัยแล้วเห็นว่าประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถ ทั้งกรณีบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้น จึงเห็นว่าการปรับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กับกรณีของยานยนต์ไร้คนขับนั้น น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด และควรดำเนินการเพิ่มเติมแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกัน

Author Biography

ภูมินทร์ บุตรอินทร์, Meung

ประวัติ รองศาสตราจารย์ ดร. ภูมินทร์
บุตรอินทร์
รศ. ดร. ภูมินทร์
บุตรอินทร์จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปารีส 2
ประเทศฝรั่งเศส ด้วยทุนรัฐบาล
เคยทำงานเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายให้กับภาคเอกชนและหน่
วยงานภาครัฐหลายแห่ง เช่น
กระทรวงสาธารณสุข,กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รวมถึงภารกิจพิเศษ เช่น
คณะทำงานพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินงานกิจการดาว
เทียมสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ
มีผลงานเขียนตำราและวิจัยมากกว่า ๓๐ ชิ้น
และเป็นอาจารย์รับเชิญ(Visiting
Lecturer)ในสถาบันการศึกษาต่างประเทศหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัย
Aix Marseille ประเทศฝรั่งเศส(2558) มหาวิทยาลัยวอร์ชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกา(2559)และ มหาวิทยาลัย Singapore
Management (SMU) (2560)
และเคยเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประชุมขององค์กรระหว่างประเทศ
หลายครั้ง เช่น
คณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมหารือหน่วยงานรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลีย
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2556
,คณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมนานาชาติในการประชุม World

Health Organization ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ณ
ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 6-13 พฤศจิกายน 2559 และการประชุม
ICANN58 International Public ICANN
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ณ ประเทศสาธารณรัฐเดนมาร์ก
กรุงโคเปนเฮเกน ระหว่างวันที่ 11-16 มีนาคม 2560
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและกา
รค้าระหว่างประเทศและ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา
1. นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 55, สำนักฝึกอบรมเนติบัณฑิตสภา
3. ประกาศนียบัตรกฎหมายชั้นสูงทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา,
สำนักฝึกอบรมเนติบัณฑิตสภา
4. ประกาศนียบัตรกฎหมายชั้นสูงทางกฎหมายภาษีอากร,
สำนักฝึกอบรมเนติบัณฑิตสภา
5. ประกาศนียบัตรวิชาว่าความ, สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
6. นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย Aix-Marseille 3 (L’Université Paul
Cézanne) (Master de recherché Droit Propriété Intellectuelle),
ประเทศฝรั่งเศส, ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส (The Scolarship of France
Gouvernement 2004-2006 Bourse d’excellence du programme Eiffle)
(พ.ศ.2547-2548 )
7. นิติศาสตร์ ดุษฎีบัญฑิต มหาวิทยาลัยปารีส 2 (L’Université de Pantheon
Assas) ประเทศฝรั่งเศส ทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. ประกาศนียบัตรกฎหมายชั้นสูงทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา,
มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
9. ประกาศนียบัตรกฎหมายชั้นสูงทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา,
ประเทศเยอรมันนี

การทำงาน
1. ทนายความฝึกหัดในสำนักงานกฎหมายไชยรพี (พ.ศ.2544 -2546 )
2. ทนายความอาวุโส บริษัท แอ็กซ่าประกันภัย จำกัด (AXA INSURANCE)
สาขาประเทศไทย (พ.ศ.2546 -2547 )
3. ทนายความที่ปรึกษา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมนครหลวงไทย จำกัด
(พ.ศ.2547)
4. ตัวแทนสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (พ.ศ.2546 )
5. หุ้นส่วนของสำนักงานกฎหมาย YBLC Cooper Law Office (พ.ศ.2547 -
2552 )
6. อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์ลำปาง)
(พ.ศ.2552 – ปัจจุบัน)
7. รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำศูนย์ลำปาง
8. รองผู้อำนวยการ โครงการอบรมหลักสูตรกฎหมายการเงินการธนาคาร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. กรรมการ หลักสูตรปริญญาโทสาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์
10. กรรมการ ศูนย์ศึกษากฎหมายจีนและอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตำแหน่งในปัจจุบัน
1. ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงสาธารณสุข
ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
2. กรรมการ ศูนย์ศึกษากฎหมายฝรั่งเศส คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ที่ปรึกษากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย
มูลนิธิสารสนเทศเครือข่ายไทย
4.

ที่ปรึกษากฎหมายเพื่อการวิจัยเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบโทรคมนาค
มสื่อสาร บริษัท TIME Consulting จำกัด
5. ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
6. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานวิชาการ
ตำราและงานวิจัย
1. ภูมินทร์ บุตรอินทร์. หาทุนเรียนต่อทางกฎหมายในต่างประเทศ ง่ายนิดเดียว.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2553. Print. (จำนวน 136 น.)
2. ภูมินทร์, บุตรอินทร์. การใช้เหตุผลทางนิติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562. (จำนวน 245 น.)
3. ภูมินทร์  บุตรอินทร์.
ความรู้เบื้องต้นการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและการทำหน้าที่
ทนายความฝึกหัด พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, ตุลาคม 2556.
(จำนวน 278 น.)
4. สิทธิ์ บุตรอินทร์ และ ภูมินทร์ บุตรอินทร์. ปรัชญาการเมืองเปรียบเทียบ.
พิมพ์ครั้งที่ 2 ,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2560. (จำนวน 325 น.)
5. ภูมินทร์, บุตรอินทร์.
รัฐกับแนวทางการบังคับสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
: โครงการศึกษาวิจัย. 2554. (จำนวน 280 น.)
6. ภูมินทร์, บุตรอินทร์.
โครงการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยระยะที่ 2
เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย: กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ (มสช)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โครงการศึกษาวิจัย. 2555. (จำนวน 116 น.)
7. ภูมินทร์, บุตรอินทร์และจุมพล ภิญโญสินวัฒน์.
ประวัติศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2562.

8. ภูมินทร์ บุตรอินทร์.
มาตรการที่เหมาะสมในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
:ศึกษาร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ…, กรุงเทพฯ:
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,โครงการศึกษาวิจัย. 2560.
9. Bhumindr Butr-Indr et al. University of Washington (UW) – Google
Intermediary Liability Research Project: Online Intermediary Liability
and Privacy Protection in Thailand, University of Washington School
of Law, Center for Advanced Studies and Research on Innovation
Policy (CASRIP), Jan 2017,
https://www.law.uw.edu/media/140726/sr96212_
thailand-intermediary-liability-of-isps-privacy.pdf
10. ภูมินทร์, บุตรอินทร์. มาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองสุขภาพ :
ศึกษากรณีเครื่องหมายการค้า และบุหรี่ซิกาแรต, กรุงเทพฯ:
ศูนย์วิจัยเพื่อการบริโภคยาสูบ (ศจย), โครงการศึกษาวิจัย. 2560.
11. ภูมินทร์, บุตรอินทร์.
ความรู้เบื้องต้นกฎหมายกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562. (จำนวน 177 น.)
12. ภูมินทร์ บุตรอินทร์.
โครงการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการสิทธิในการใช้งานวงโคจร
ดาวเทียมและการใช้งานคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องสำหรับจัดทำข้อเสนอแนะการ
บริหารจัดการดาวเทียมของประเทศไทย, กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,โครงการศึกษาวิจัย. 2562.

บทความวิชาการ
1. การดำเนินคดีละเมิดสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตอนที่ 1:
การเตรียมคดี/ ภูมินทร์ บุตรอินทร์[บทความวารสาร] วารสารนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2554) (จำนวน 22 น.)
2. การดำเนินคดีละเมิดสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตอนที่ 2:
การฟ้องคดี / ภูมินทร์ บุตรอินทร์[บทความวารสาร] วารสารนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่ 40 ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2554) (จำนวน 40 น.)

3. องค์กรของรัฐกับการคุ้มครองสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา :
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส / ภูมินทร์
บุตรอินทร์ [บทความวารสาร] วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ปีที่
36 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2550) หน้า 243-280 (จำนวน 37 น.)
4. การตีความหมายของ "การล่วงสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา" :
การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างตามหลักกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับฝรั่งเศส
บทบัณฑิตย์ ปีที่ 64 เล่ม 1 (มี.ค.2551) (จำนวน 23 น.)
5. การล่วงสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา :
การวิเคราะห์โครงสร้างความรับผิดเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส
  วารสารนิติศาสตร์ เล่มที่ 37,ตอนที่ 3 (ตุลาคม 2551) 464-499. (จำนวน 36
น.)
6.
โทษทางอาญากับการล่วงสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา วารสารนิติศา
สตร์ 37,4 (ธันวาคม 2551) 735-765. (จำนวน 31 น.)
7. บทความวิชาการภาษาอังกฤษ (English Academic Paper): “Two
Dimensions of Thai Justice Institution: When should we moderate our
Dogmatism?”, The Academic Journal of Law (Bodbundit) Vol.65 no.1,
Thai Barrister-At-Law Association, Bangkok, March 2009 (จำนวน 15
น.)
8. บทความวิชาการตีพิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศส (Academic Paper is published in
France): Direction Gilbert Orsoni et Alexis Bugada, L' Adaptation Des
Systèmes Juridiques Thaïlandais Et Français à La Mondialisation.
P.U.A.M. Droits, Pouvoirs Et Sociétés. 2013 (จำนวน 16 น.)
9. รัฐกับแนวทางการบังคับสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา :
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส / ภูมินทร์
บุตรอินทร์ [บทความวารสาร] วารสารบทบัณฑิต เนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ 69
ตอนที่ 4 (ธันวาคม 2556) หน้า 1-29. (จำนวน 28 น.)
10.
ข้อเสนอทางกฎหมายเกี่ยวกับขอบเขตและดุลพินิจในการลงโทษนักเรียนนักศึ
กษาของครูอาจารย์/ ภูมินทร์ บุตรอินทร์และจารุนนท์ ส่งสวัสดิ์
[บทความวารสาร] วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่
1 (สิงหาคม 2557)

11.
ความสัมพันธ์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเ
มือง / ภูมินทร์ บุตรอินทร์ [บทความวารสาร]
วารสารศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เล่มที่ 17
(ธันวาคม 2557) หน้า 278-308.
12.
การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายผ่านกลุ่มมวลชนที่จัด
ตั้งขึ้นตามกฎหมาย / ภูมินทร์ บุตรอินทร์และจารุนนท์ ส่งสวัสดิ์
[บทความวารสาร] วารสารบทบัณฑิตย์ เนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ 72 ตอนที่ 4
ฉบับเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2559)
13.
การสร้างข้อยกเว้นทางกฎหมายว่าด้วยความจำเป็นในการป้องกันชีวิตหรือสุข
ภาพของมนุษย์ต่อกฎหมายเครื่องหมายการค้า:
ศึกษากรณีบรรจุภัณฑ์แบบเรียบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ/ ภูมินทร์ บุตรอินทร์ และ
ณัฐกานต์ พงษ์พันธ์ปัญญา [บทความวารสาร]
วารสารศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ปีที่ 20 (มกราคม
2560) หน้า 166-182
14. มาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองสุขภาพ :
ศึกษากรณีเครื่องหมายการค้า และบุหรี่ซิกาแรต, ภูมินทร์ บุตรอินทร์และ
ณัฐกานต์ พงษ์พันธ์ปัญญา [บทความวารสาร]
วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 หน้า 342-358
(2560)
15.
ความรับผิดของตัวกลางในการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และกา
รคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในประเทศไทย/ ภูมินทร์ บุตรอินทร์และคณะ
[บทความวารสาร] วารสารบทบัณฑิตย์ เนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ 73 ตอนที่ 3
ฉบับเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2560)
16.
การขยายความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ความตกลงทริปส์ในกรณี
ผลิตภัณฑ์กาแฟ/ ภูมินทร์ บุตรอินทร์และอังสณา มหาธนกุล[บทความวารสาร]

วารสารบทบัณฑิตย์ เนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ 73 ตอนที่ 4 ฉบับเดือนตุลาคม-
ธันวาคม 2561) (จำนวน 36 น.)
17. กฎหมายกับปัญญาประดิษฐ์ / ภูมินทร์ บุตรอินทร์ [บทความวารสาร]
วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ปีที่ 47 ฉบับที่ 3 (กันยายน
2561) หน้า 491-511

งานบริการสังคม
1. คณะที่ปรึกษาสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบด้านกฎหมาย
กระทรวงสาธารณสุข คำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 1302/2556
2.
คณะทำงานดำเนินการทางคดีและสนับสนุนข้อมูลวิชาการด้านการควบคุมยาสู
บ กระทรวงสาธารณะสุข คำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 993/2556
3.
คณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมหารือหน่วยงานรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียในฐ
านะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2556
ด้วยทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
4.
กรรมการและที่ปรึกษาของศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระยุคคลบา
ทสนองตามแนวโครงการพระราชดำริ
5. ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศรุ่นที่
11
6. คณะกรรมการบรรณาธิการหนังสือหลักนิติธรรมฉบับภาษาอังกฤษ
ภายใต้คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
7. คณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุม Technical Workshop on Tobacco
Plain Packaging ณ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 5-11 มิถุนายน
2559 ปรากฏตามบันทึกที่ ศธ 0516.12 ร 607 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2559

8. คณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมนานาชาติในการประชุม World Health
Organization ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ณ ประเทศอินเดีย
ระหว่างวันที่ 6-13 พฤศจิกายน 2559
ด้วยทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
9.
คณะทำงานพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินงานกิจการดาวเทีย
มสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รายละเอียดปรากฏตามหนังสือราชการฉบับที่ ดท. 0407/ว199 ลงวันที่ 27
มกราคม 2560
10.
คณะผู้แทนผู้พิพากษาสมทบประจำศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่า
งประเทศกลางทำความร่วมมือทางวิชาการและนำเสนองานวิชาการเพื่อแลกเป
ลี่ยนความรู้ทางวิชาการในหัวข้อ
"การศึกษาระบบศาลชำนาญการพิเศษในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระ
หว่างประเทศ"ระหว่างวันที่ 4-12 มีนาคม 2560 ร่วมกับคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย Aix Marseille ประเทศฝรั่งเศส
11. คณะผู้แทนประเทศไทย (ccNSO)
เข้าร่วมประชุมนานาชาติขององค์กรอินเทอร์เน็ตเพื่อการจัดสรรและบริหารจัดการ
โดเมนเนม หรือ The Internet Corporation for Assigned Names and
Numbers (ICANN) ในการประชุม ICANN58 International Public ICANN
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ณ ประเทศสาธารณรัฐเดนมาร์ก
กรุงโคเปนเฮเกน ระหว่างวันที่ 11-16 มีนาคม 2560 ด้วยทุนสำนักงานกองทุน
งานบริการทางวิชาการ
1. เข้าร่วมการยกร่างระเบียบว่าด้วยเรื่อง
“ความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง”
ในงานสัมมนาวิชาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง วันที่ 12 กรกฎาคม
2556 9.00 – 12.00 น.

2. บรรยายร่วมเรื่อง “ทักษะในการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา”
โครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการเคารพทรัพย์สินทางปัญญา ณ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
ร่วมกับสำนักป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
3. เข้าร่วมสัมมนาวิชาการและเป็นผู้บรรยายเรื่อง “L’éfficaceité des mesures
de lutte contre la contrefaçon en Thaïlande”
ในงานสัมมนาวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Aix Marseille วันที่ 16 เมษายน 2555 เวลา
9.00 – 12.00 น. ประเทศฝรั่งเศส
4. ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมทางวิชาการและผู้บรรยายร่วมเรื่อง
“เมื่อเจ้าของเครื่องหมาย การค้าสินค้าบุหรี่ฟ้องรัฐบาล
บทเรียนจากประเทศออสเตรเลีย” โครงการอบรมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 16 กรกฎาคม 2556
5. ผู้บรรยายเรื่อง “ขอบเขตของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา”
ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” ณ
ศูนย์ศึกษากฎหมายและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เวลา 13.00 – 17.15 น.
6. วิทยากรผู้บรรยายเรื่อง “กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา”
ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ วันที่ 30 กรกฎาคม 2557
ปรากฏตามหนังสือฉบับที่ ศจญ.ว 02/032/2557
7. ผู้บรรยายหัวข้อ “The role of the judge in the struggle against
counterfeiting and the determination of the intellectual property
principles” บรรยายร่วมกับ Prof. Pierre Gasnier and Prof. Maetz
Claude-Alberic ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
วันที่ 24 มีนาคม 2559
8. Visiting Professor
ทำหน้าที่บรรยายในระดับปริญญาโทและนำเสนอบทความวิชาการในงานสัมมนา

วิชาการนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัย Aix Marseile ประเทศฝรั่งเศส วันที่ 1-31
ตุลาคม 2558
9. ผู้บรรยายหัวข้อ
“การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่วิธีการสำรวจน้ำมันและก๊าซ”
ในงานสัมมนาวิชาการสาขาการค้าระหว่างประเทศ ณ คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 14 กันยายน 2558
10. ผู้บรรยายหัวข้อ “Crowdfunding กับทรัพย์สินทางปัญญา”
ในงานสัมมนาวิชาการภาควิชากฎหมายพาณิชย์เรื่อง CROWDFUNDING
มิติใหม่แห่งการลงทุน ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 17
พฤษภาคม 2559
11. ผู้บรรยายหัวข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง
“รู้และเข้าใจลิขสิทธิ์...ก่อนทำผิดไม่รู้ตัว”
ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09.00 – 15.00 น.
12. ผู้บรรยายหัวข้อ “Innovation Issues in Asia”
ในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ 2016 Global Innovation Law Summit ณ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอร์ชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (University of
Washington , Seattle) วันที่ 22 กรกฎาคม 2559
13. ผู้บรรยายหัวข้อ “กฎหมายกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ”
ในงานสัมมนาวิชาการของสาขาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศร่วมกับบริษั
ท ฮันตันแอนด์วิลเลี่ยมส์ (ประเทศไทย) จำกัด เรื่องเทคโนโลยีบล๊อกเชน
(Blockchain) กับการให้บริการทางกฎหมาย ณ คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 17 พฤษภาคม 2559
14. วิทยากรและผู้ดำเนินรายการในหัวข้อ “New Norm
ความท้าทายและผลกระทบต่อระบบกฎหมายการเงินและการลงทุน”
ในงานสัมมนาวิชาการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภา
ยใต้หัวข้อ
“ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกับการขับเคลื่อนสู่แนวโน้มสำ

คัญของโลกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0” วันที่ 20 มกราคม 2560
โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมอริเดียน กรุงเทพมหานคร
15.
วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่องร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรัก
ษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำควา
มผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์: ความเป็นมา หลักการและข้อควรพิจารณา ณ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ ลำปาง วันที่ 24 กุมภาพันธ์
2560
16.
วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่องความรับผิดในการกระทำละเมิดข
องปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence ณ คณะ นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 20 มกราคม 2561
17. ผู้บรรยายหัวข้อ “Intellectual Property Protection and Cultural
Industries in Thailand” ในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ CONFERENCE
- CULTURAL INDUSTRIES AND INTELLECTUAL PROPERTY IN
SOUTHEAST ASIA จัดโดย The Applied Research Centre for
Intellectual Assets and the Law in Asia and the Wee Kim Wee
Centre, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Singapore Management และ the
National Gallery Singapore ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561
18. วิทยากรผู้บรรยายในงานสัมมนาวิชาการเรื่องเจาะลึก แปรรูป ปตท ณ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561
19.
วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่องผลกระทบจากเทคโนโลยีสมัยให
ม่ต่อทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับ Association Francophone de la
Propriete Intellectuelle (AFPI) จัดโดยศูนย์ศึกษากฎหมายฝรั่งเศส ณ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

20. วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่อง พรก
สินทรัพย์ดิจิตัลกับทิศทางประเทศไทย จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ ณ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
21. วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่อง FinTech
กับการพัฒนาประเทศไทย จัดโดยสมาคมศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ณ
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561
22.
วิทยากรผู้บรรยายในงานเสวนาวิชาการเรื่องกฎหมายกับปัญญาประดิษฐ์
Artificial Intelligence ณ คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วันที่ 20
มกราคม 2562
23. อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทย
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยหอการค้า,
มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
24. อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น
มหาวิทยาลัย Aix Marseile ประเทศฝรั่งเศส, คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยวอร์ชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัย Singapore
Management University
รางวัลที่เคยได้รับ
1. รางวัล โล่ประกาศเกียรติคุณในงาน ครบรอบ 30 ปี
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 2559
รายละเอียดตามหนังสือจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ฉบับที่ มสบ
221/2559
2. รางวัลจากองค์การอนามัยโลกเนื่องในวัน World No Tobacco Day 2015
จากการต่อสู้คดียาสูบต่างชาติฟ้องรัฐไทยในเรื่องการขยายขนาดภาพคำเตือนบน
ซองบุหรี่ (ทีมที่ปรึกษากฎหมายของกรมควบคุมโรค)
วิชาที่สอน

1. น.335 ทรัพย์สินทางปัญญา
2. น.101 กฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา
3. น. 202 สัมมนากฎหมายลักษณะทรัพย์
4. น.160 ทักษะวิธีวิทยาของกฎหมาย
5. น.260 ทักษะการค้นคว้าและวิจัยทางกฎหมาย
6. น.263 ความรู้เบื้องต้นระบบกฎหมายฝรั่งเศส
7. น.303 ระบบกฎหมายซีวิลลอว์
8. น.344 หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับนักกฎหมาย
9. น.269 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
10. น.363 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
11. น.436 หลักกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ
12. สส.207 หลักนิติธรรมและกฎหมายเบื้องต้น
13. น.447 ปัญหาในกฎหมายธุรกิจ
14. น.437 กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศ
15. น.654 ปัญหากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

ติดต่อ
โทรศัพท์ 0929456596
อีเมล์ bhumindr@gmail.com

Bhumindr BUTR-INDR

References

หนังสือและบทความในหนังสือ
James M. Anderson et al. Autonomous Vehicle Technology: A Guide for Policymakers. RAND Corporation : California, 2016.
Tatjana Eva. A common EU approach to liability rules and insurance for connected and autonomous vehicles. European Parliamentary Research Service (EPRS) : European Union, 2018.

บทความวารสาร
Giorgio Risso. “Product liability and protection of EU consumers: is it time for a serious reassessment?” Journal of Private International Law. (6 June 2019) : 210-211.
Keri Grieman. “Hard Drive Crash: An Examination of Liability for Self-Driving Vehicles.” JIPITEC (Journal of Intellectual Property, Information Technology and E-Commerce Law). 3. vol 9. (2018), available at https://www.jipitec.eu/issues/jipitec-9-3-2018/4806
LIIS VIHUL. “the liability of software manufacturers for defective products.” Tallinn Paper. (2014).
Victor Schwartz. “Driverless Cars: The Legal Landscape.” Liability & Insurance, The George Washington University School of Law. (14 June 2017), available at https://www.law.gwu.edu/sites /g/files/zaxdzs2351/f/downloads/Panel-3-Liability-and-Insurance.pdf

สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Andrew J. Hawkins, “Waymo tells riders that ‘completely driverless’ vehicles are on the way.” (2019), available at https://www.theverge.com/2019/10/10/20907901/waymo-driverless-cars-email-customers-arizona
Denis W. Stearns. “An introduction to product liability law.” (2001), available at https://marlerclark.com/pdfs/intro-product-liability-law.pdf
ELLIOTT & SMITH LAW FIRM. “What Is The Difference Between “No-Fault” And “Fault” Liability In A Car Accident?.” (2019), available at https://www.elliottsmithlaw.com/what-is-the-difference-between-no-fault-and-fault-liability-in-a-car-accident/
FindLaw's team. “Elements of a Negligence Case.” (2019), available at https://injury.findlaw.com/accident-injury-law/elements-of-a-negligence-case.html
Gareth Corfield. “Tesla death smash probe: Neither driver nor autopilot saw the truck.” (2017), available at https://www.theregister.co.uk/2017/06/20/tesla_death_crash_accident _report_ntsb/
Louise Hennon. “Driverless cars – The need for regulation.” (2017), available at https://www.rocketlawyer.com/gb/en/blog/driverless-cars-the-need-for-regulation/
The guardian. “Google self-driving car collides with bus in California, accident report says.” available at https://www.theguardian.com/technology/2016/feb/29/google-self-driving-car-accident-california

กฎหมาย
สหภาพยุโรป
Council Directive 85/374/EEC of 25 July 1985 on the approximation of the laws, regulations and administrative provisions of the Member States concerning liability for defective products (European Union)
ประเทศไทย
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (ประเทศไทย)
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ประเทศไทย)

คำพิพากษา
ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป
The Court of Justice of the European Union, Boston Scientific Medizintechnik GmbH v. AOK Sachsen-Anhalt, March 5, 2015 in joined cases C-503/13 and C-504/13, para. 37.
Queen's Bench Division of the High Court (U.K.), case [2001] 3 All ER 289, A and others v National Blood Authority and another.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28