ข้อความคิดว่าด้วยการครอบครองตามกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การครอบครอง, กฎหมายทรัพย์สิน, การยึดถือ, ทฤษฎีอัตวิสัย, ทฤษฎีภาววิสัย

บทคัดย่อ

ครอบครองเป็นหนึ่งในข้อความคิดที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องกฎหมายทรัพย์สิน แต่เป็นการยากที่จะให้ความหมายแก่คำว่าครอบครอง ทั้งการยึดถือทางกายภาพและเจตนาล้วนเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อให้เกิดมีการครอบครองขึ้น กรรมสิทธิ์เป็นข้อความคิดทางกฎหมายในขณะที่ครอบครองเป็นทั้งเรื่องในทางข้อเท็จจริงและเป็นข้อความคิดทางกฎหมายไปพร้อมกัน อัลเปียนกล่าวในมูลบทนิติศาสตร์ว่า “กรรมสิทธิ์ไม่มีสิ่งใดร่วมกับครอบครอง” (nihil commune habet proprietas cum possessione) กฎหมายโรมันรู้จักการใช้คำสั่งเกี่ยวด้วยการครอบครองเพื่อคุ้มครองการครอบครอง
บนพื้นฐานของการศึกษากฎหมายโรมันอย่างกว้างขวางและตามวิธีการทางทฤษฎี นักคิดชั้นนำชาวเยอรมันสองท่านได้พยายามให้ความหมายและจัดระบบข้อความคิดว่าด้วยการครอบครองในศตวรรษที่ 19 ได้แก่ ฟรีดริค คาร์ล ฟอน ซาวิญญี และรูดอล์ฟ ฟอน เยียริง สำหรับนักคิดทั้งสอง ความท้าทายหลักคือการจัดปริมณฑลระหว่างการครอบครองกับการยึดถือ ด้วยทฤษฎีอัตวิสัยว่าด้วยครอบครองของซาวิญญี เจตนาครอบครองดังเช่นเจ้าของเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของครอบครอง ในทางตรงกันข้าม เยียริงเสนอทฤษฎีภาววิสัยว่าด้วยครอบครองและโต้แย้งความจำเป็นที่ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ (animus domini)
ในประเทศฝรั่งเศสก่อนปี ค.ศ. 1975 ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีอัตวิสัยว่าด้วยครอบครองของซาวิญญี ผู้ครอบครองด้วยมูลเหตุ precario ไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีการครอบครองต่อบุคคลที่ตนครอบครองแทนได้ ในประเทศเยอรมนีซึ่งใช้ทฤษฎีภาววิสัยว่าด้วยครอบครองของเยียริง ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันไม่แยกความแตกต่างระหว่างการครอบครองโดยพฤตินัยกับการครอบครองโดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม ในประเทศฝรั่งเศสได้มีการบัญญัติเพิ่มสองมาตราคือมาตรา 2282 และมาตรา 2283 เข้าในประมวลกฎหมายแพ่งในปี ค.ศ. 1975 เพื่อให้การคุ้มครองการครอบครองแก่ผู้ครอบครองด้วยมูลเหตุ precario ในปัจจุบัน ในประเทศหลักที่ใช้ระบบซิวิลลอว์ทั้งสองนี้จึงให้หลักเกณฑ์การคุ้มครองทางกฎหมายที่ประสานกลมกลืนกัน ในประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกับในประเทศไทย บทบัญญัติว่าด้วยครอบครองถือตามทฤษฎีภาววิสัยว่าด้วยครอบครอง

References

Jean-Philippe Lévy and André Castaldo, Histoire du Droit Civil, (Paris: Dalloz, 2002)
Edouard Cuq, Recherches sur la possession à Rome sous la République et aux premiers siècles de l'Empire, (Paris: Editeur L. Larose, 1894)
Ferdinand Mackeldey, Manuel de droit romain: contenant la théorie des institutes, précédée d'une introduction à l'étude du droit romain, Translated by Jules Beving, (Bruxelles: Ad. Wahlen et Cie., 1837)
Henri Hulot, Les Institutes de l'Empereur Justinien, Volume 1 (Metz: Chez Behmer et Lamort Editeurs, 1806)
Charles Le Beau and Hubert-Pascal Ameilhon, Histoire du Bas-Empire (29 vol.), (Paris, 1757), in-12, cited in Roger Remondon, La crise de l’Empire romain, coll. “Nouvelle Clio – l’histoire et ses problèmes”, 2nd Edition (Paris, PUF, 1970)
Ernst Levy, West Roman Vulgar Law. The Law of Property, (Philadelphia: American Philosophica Society, 1951)
Gaius, Institutes de Gaius: récemment découvertes dans un palimpseste de la bibliothèque du chapitre de Vérone, by Jean Baptiste Etienne Boulet (Paris: Mansut, 1827)
Adolphe-Marie Du Caurroy, Institutes de Justinien, traduite et expliquées par A. M. Du Caurroy, 7th Edition, Volume 2 (Paris: G. Thorel, 1846)
Friedrich Carl von Savigny, Traité de la possession d'après les principes du droit romain, Translated by Jules Beving, 6th Edition (Bruxelles: Société belge de librairie, 1840)
William Alexander Hunter, A Systematic and Historical Exposition of Roman Law in the Order of a Code, Translated by John Ashton Cross, (London: Sweet & Maxwell, 1803)
Richard A. Posner, Frontiers of Legal Theory, reprint (Massachusetts: Harvard University Press, 2004)
Rudolf von Jhering, Du rôle de la volonté dans la possession: critique de la méthode juridique régnante, Translated by O. de Meulenaère (Paris: Librairie A. Marescq, 1891)
Henri Mazeaud, Léon Mazeaud, Jean Mazeaud and François Chabas, Leçons de droit civil, Tome 2, Biens, Droits de propriété et ses démembrements, 8th Edition (Paris: Montchrestien, 1994)
Pierre-Claude Lafond, Précis de droit des biens, 2nd Edition (Montréal: Éditions Thémis, 2007)
Michel Fromont, Droit Allemand des affaires. Droit des biens et des obligations, (Paris, Domat, 2001)
Claude Witz, Droit privé allemand, Volume 1 Actes juridiques, droits subjectifs, (Paris: Litec, 1992)
Simon Douglas, “Is Possession Factual or Legal?”, in Eric Descheemaeker (ed), The Consequences of Possession, (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2014)
Christian Larroumet, Droit civil: Les biens, droits réels principaux, Collection Droit civil: Série Enseignement, Volume 2 (Paris: Economica, 1988)
พระยามานวราชเสวี, หนังสือที่ระลึกครบรอบ 100 ปี พระยามานวราชเสวี. ตอนที่ 2 ที่มาของกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-5, คณะกรรมการจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี พระยามานวราชเสวี, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2533
Shigenari Kanamori, “German influences on Japanese Pre-war Constitution and Civil Code”, European Journal of Law and Economics, Volume 7, 93–95 (1999). https://doi.org/10.1023/A:1008688209052.
Hiroshi Oda, Japanese Law, p. 164, Published to Oxford Scholarship Online: May 2009, DOI: 10.1093/acprof:oso/9780199232185.001.1.
Michel Grimaldi, Naoki Kanayama, Naoya Katayama and Mustapha Mekki, Le patrimoine au XXIe siècle: regards croisés franco-japonais, Volume 12 (Paris: Société de législation comparée, 2012)
Paul Ourliac and Jehan de Malafosse, Histoire du droit privé: 2. Les biens, Thémis. Droit, 2nd Edition (Paris: Presses universitaires de France, 1971)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-26