อุปสรรคในทางกฎหมายที่กระทบต่อความร่วมมือในการปราบปรามการค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยผิดกฎหมายระหว่างไทยและจีน

ผู้แต่ง

  • Alexandre Chitov Faculty of Law, Chiang Mai University 239 Huay Kaew Road, Muang District, Chiang Mai, Thailand, 50200

คำสำคัญ:

ความร่วมมือทางนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, การค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยผิดกฎหมาย, CITES, กฎหมายไทย, กฎหมายจีน, การกำหนดความผิดทางอาญา

บทคัดย่อ

บทความนี้จะพิจารณาถึงอุปสรรคในทางกฎหมายที่กระทบต่อความร่วมมือในการปราบปรามการค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยผิดกฎหมายระหว่างไทยและจีน การค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธ์ดังกล่าวกลายเป็นประเด็นร้อนประเด็นหนึ่งสำหรับโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง: Belt and Road Initiative (BRI)” ของจีน เนื่องจากจีนกลายเป็นตลาดใหญ่ในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยาแผนจีน ทั้งไทยและจีนพยายามบังคับใช้ข้อกำหนดของไซเตส (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศในสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ปี 1973: the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามข้อตกลงดังกล่าวมิได้คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของไทยและจีน ภายใต้อิทธิพลของไซเตส อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายโดยผิดกฎหมายถูกจำกัดความอย่างแคบว่าเป็นการค้าที่ละเมิดต่อการควบคุมของฝ่ายบริหาร เนื่องจากกฎหมายปกครองของไทยและจีนมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งการจำกัดความแบบนี้อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลในความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทยและจีน ข้อเสนอแนะหลักที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือ ไทยและจีนต้องเปลี่ยนแนวความคิดของอาชญากรรมการค้าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่ผิดกฎหมายให้กว้างขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องผูกพันกับกฎระเบียบของฝ่ายบริหารที่แตกต่างกัน แต่คำจำกัดความที่กว้างขึ้นของการกระทำความผิดประเภทนี้ต้องอ้างถึงอันตรายต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตมากกว่าการละเมิดกฎระเบียบของฝ่ายบริหาร การจำกัดความการค้าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่ผิดกฎหมายให้กว้างขึ้นจะเอื้อต่อความร่วมมือในการปราบปรามการค้าขายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยผิดกฎหมายระหว่างไทยและจีนให้ประสบความสำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28