การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีอาญาระบบไต่สวน
คำสำคัญ:
การค้นหาความจริง, บทตัดพยานหลักฐาน, การวินิจฉัย, พยานหลักฐานบทคัดย่อ
ประเทศไทยมีวิธีพิจารณาคดีอาญา 2 ระบบ คือ ระบบกล่าวหา และระบบไต่สวน โดยระบบกล่าวหาเป็นวิธีพิจารณาพื้นฐาน ส่วนระบบไต่สวนเป็นวิธีพิจารณาพิเศษสำหรับคดีบางประเภท แต่กฎหมายกำหนดวิธีพิจารณาระบบไต่สวนกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เท่าที่จำเป็น มิได้ครอบคลุมวิธีพิจารณาทุกส่วน ส่วนที่ขาดนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาปรับใช้ อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีบทบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า ไม่สอดคล้องกับแนวทางของระบบไต่สวน จึงมีปัญหาว่าจะนำมาปรับใช้ได้หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่าการศึกษาแนวคิดและหลักการของพยานบอกเล่า หลักการของระบบไต่สวน รวมถึงแนวปฏิบัติของประเทศที่ใช้ระบบนี้ จะช่วยชี้นำคำตอบ จากการศึกษาพบว่าหลักการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าเป็นของระบบกล่าวหา ส่วนระบบไต่สวนมีแนวคิดต่างออกไปและสามารถรับฟังได้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าบทบัญญัติส่วนที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่พึงนำมาปรับใช้ในคดีอาญาระบบไต่สวน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ