การปรับใช้สูตรของร้าดบรุค (Radbruchsche Formel) ในฐานะข้อจำกัดของหลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลในทางอาญาโดยศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผู้แต่ง

  • ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

นิติปรัชญา ความยุติธรรม ความมั่นคงแน่นอนของกฎหมาย

บทคัดย่อ

คำถามในทางนิติปรัชญาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า “กฎหมายคืออะไร” และ “กฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมจะสมบูรณ์เป็นกฎหมายหรือไม่” คือคำถามที่ว่า “เราจะจัดการกับกฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมดังกล่าวอย่างไร” ห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการอภิปรายคำถามดังกล่าวย่อมหนีไม่พ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีต้องเผชิญกับความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่เพียงแต่เฉพาะทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจ แต่รวมถึงระบบกฎหมายด้วย

กุสตาฟ ร้าดบรุค (Gustav Radbruch) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปฟื้นฟูระบบกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในห้วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างมาก ข้ออภิปรายของเขาผ่านบทความทางนิติปรัชญาความยาวไม่กี่หน้ากระดาษที่บรรจุสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อ “สูตรของร้าดบรูค” เป็นบทความที่ทรงพลังทั้งในแง่มุมทางวิชาการและทางวิชาชีพ เนื่องจากศาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีทั้งศาลสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญได้เขียนข้อความที่บ่งชี้ถึงสูตรของร้าดบรูคนี้ลงไปในคำพิพากษาและคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมอย่างร้ายแรง

บทความชิ้นนี้จึงจะนำเสนอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ได้นำสูตรของร้าดบรูคมาปรับใช้แก่คดีหนึ่งในช่วงหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในฐานะข้อจำกัดของหลักห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางอาญา ซึ่งเป็นอีกห้วงเวลาหนึ่งที่สูตรของร้าดบรูคได้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความยุติธรรมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง

References

1. Gustav Radbruch, Rechtsphilosophie (1932) (Dreier und S.L. Paulson eds, Studienausgabe, 2. Überarbeitete Auflage, C.F. Müller, 2003)
2. H.L.A. Hart, ‘Positivism and the Separation of Law and Morals’ (1958) 71 Harvard Law Review 593
3. Jörg Menzel, Ralf Müller-Terpitz (Hrsg.), Verfassungsrechtsprechung (3. Auflage, Mohr Siebeck 2017)
4. Walter Ott, Der Rechtspositivismus: Kritische Würdigung auf der Grundlage eines juristischen Pragmatismus (2. Überarbeitete und erweiterte Auflage, Duncker und Humblot 1992)
5. วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ‘กุสตาฟ ร้าดบรุคกับนิติปรัชญาสายที่สาม’ (2545) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 453
6. วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 2, อ่านกฎหมาย 2561)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29