ปัญหาการดำรงอยู่ขององคมนตรีในรัฐธรรมนูญไทย : ข้อพิจารณาเรื่องที่มาและอำนาจหน้าที่ที่ไม่ใช่การถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์

ผู้แต่ง

  • จิรากิตติ์ แสงลี

คำสำคัญ:

องคมนตรี, พระมหากษัตริย์, พระราชอำนาจ

บทคัดย่อ

องคมนตรี เป็นตำแหน่งที่เดิมที่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ ในกฎหมายจัดตั้งองคมนตรีกำหนดให้มีหน้าที่ช่วยคิดราชการแผ่นดิน ซึ่งจะให้มีคุณมีประโยชน์ ทำนุบำรุงพระนครทั่วพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ครั้นต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2475 จึงได้มีการยกเลิกองคมนตรีไป แต่พอมีการรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 องคมนตรีถูกรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้งและมีความต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับได้มีการบัญญัติรับรองการมีองคมนตรีไว้ โดยให้มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกำหนดให้องคมนตรีมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ หน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 หน้าที่เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ หน้าที่เกี่ยวกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  หน้าที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์ อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งวุฒิสภา และหน้าที่ในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการกรณีการออกเสียงประชามติผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กลับเป็นปัญหาขึ้นในระบบกฎหมายและความสอดคล้องต่อระบอบประชาธิปไตย

References

หนังสือ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และ พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2510).

เดือน บุนนาค และไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งด้วย) : ภาค 2 รัฐธรรมนูญสยาม (นิติสาส์น 2477).

ปรีดี พนมยงค์, ประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชนของปรีดี พนมยงค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553).

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 (มติชน 2545).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).

วรพร ภู่พงศ์พันธุ์, สถาบันกษัตริย์ในกฎมณเฑียรบาล (มหาวิทยาลัยศิลปากร 2555).

วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), กฎมณเฑียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ผลงานวิจัย (โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “กฎหมายตราสามดวง: ประมวลกฎหมายไทยในฐานะมรดกโลก” 2548).

วิษณุ เครืองาม, กฎมณเฑียรบาลในระบบกฎหมายไทย (สถาบันพระปกเกล้า 2553).

สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475 (สถาบันปรีดี พนมยงค์ 2550).

หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ประชานิติ 2493).

หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์ บรรณาธิการ, วิญญูชน 2551).

หยุด แสงอุทัย, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วยคำอธิบาย (ประชานิติ 2489).

บทความในหนังสือ

คณะรัฐมนตรี, ‘ข้อสังเกตทั่วไปในพระราชบันทึกฉะบับที่ 3’ ใน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (บรรณาธิการ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2536).

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ‘ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม’ ใน กรมศิลปากร (บรรณษธิการ) รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยามและอธิบายว่าด้วยยศเจ้า (บริษัท เอดิสันเพรสโพรดัก จำกัด, 2546) 76-77.

ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ‘คำแปล พระราชบันทึกตอบรัฐบาล’ ใน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (บรรณาธิการ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2536).

ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ‘พระราชบันทึก 3 ข้อไขต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร’ ใน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (บรรณาธิการ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2536) 37.

วิษณุ เครืองาม, ‘กฎมณเฑียรบาลในระบบกฎหมายไทย’ ใน บัญญัติ สุชีวะ และคณะ (ผู้จัดทำหนังสือ) รวมบทความทางวิชาการในโอกาสครบรอบ 84 ปี ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (พิมพ์ดี, 2534) 76.

บทความในวารสาร

สุพจน์ ด่านตระกูล, ‘การสืบราชสันตติวงศ์’ (ตุลาคม-ธันวาคม 2548) 4 ฟ้าเดียวกัน 95-108.

วิทยานิพนธ์

วิศรุต คิดดี, ‘หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555).

สิทธิพร อินนิมิตร, ‘วิวัฒนาการและสถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรี’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558).

เอกสารรัฐบาล

‘กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 41 (12 พฤศจิกายน 2467).

การประชุมปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมประคองในรัชกาลที่ 5 ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2509

คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 36/2534 (8 สิงหาคม 2534).

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ..., รายงานการประชุม ครั้งที่ 13/2534 (11 ตุลาคม 2534).

‘แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่อง คำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 32 ฉบับพิเศษ (23 กุมภาพันธ์ 2534).

‘ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 40 ฉบับพิเศษ (1 มีนาคม 2534).

‘ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 (17 กรกฎาคม 2475).

‘พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม พุทธศักราช 2476’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 (9 ธันวาคม 2476).

‘พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม (ฉะบับที่ 12) พ.ศ. 2493’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอนที่ 10 (14 กุมภาพันธ์ 2493).

‘พระราชบัญญัติองคมนตรี’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 44 (วันที่ 5 กันยายน 2470).

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482’, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 (6 ตุลาคม 2482).

‘รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2518’, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92, ตอนที่ 14, น. 1-3 (23 มกราคม 2518).

ราชกิจจานุเบกษา แผ่น 17 เล่ม 1 (วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 10 ค่ำ ปีจอ ฉศก 1236).

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11 หน้า 333 (ร.ศ. 113).

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 64 ตอนที่ 53 ฉบับพิเศษ (9 พฤศจิกายน 2490).

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 17 ฉบับพิเศษ (23 มีนาคม 2492).

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2534 (4 เมษายน 2534) 91.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 24/2534 เป็นพิเศษ (28 สิงหาคม 2534).

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 37/2534 เป็นพิเศษ (19 พฤศจิกายน 2534).

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา, รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2517 (10 ตุลาคม 2517).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 16/2477 (สมัยสามัญ) (31 มกราคม พ.ศ. 2477).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 5/2475 (8 กรกฎาคม 2475).

สภาร่างรัฐธรรมนูญ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 7/2491 (26 กรกฎาคม 2491).

สภาร่างรัฐธรรมนูญ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 45 (10 พฤศจิกายน 2491).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 5 สมุดพิเศษ เล่ม 4 จ.ศ. 1240-1241 พระยาภาสกรวงศ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 127 (11 เมษายน 2422).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31