การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของ FATF ในการต่อต้านการฟอกเงินโดยอาศัยบิทคอยน์

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงษ์ รัตนพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ฟอกเงิน, บิทคอยน์, เงินเสมือน, สินทรัพย์ดิจิทัล, ข้อแนะนำคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF)

บทคัดย่อ

ปัญหาการฟอกเงินเป็นปัญหาที่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก ซึ่งรัฐทุกรัฐในประชาคมระหว่างประเทศต้องให้ความสำคัญ และสร้างมาตรการที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินร่วมกัน อีกทั้งเพื่อแสดงออกถึงภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐ เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการคุ้มครองเงินทุน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน และทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงินพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะบล็อกเชน และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากอย่างบิทคอยน์ กฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินจึงจำเป็นต้องมีความพลวัต และสามารถปรับใช้กับสถานการณ์การนำบิทคอยน์ไปใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงินได้ เนื้อหาในบทความนี้เป็นการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงิน โดยเปรียบเทียบกับมาตรการเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินที่เกี่ยวกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหา และวิเคราะห์พันธกรณีของประเทศไทยต่อกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศดังกล่าว รวมถึงวิเคราะห์ความสอดคล้องของการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของประเทศไทย นอกจากนี้บทความนี้ให้ตัวอย่างปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นกับการสร้างมาตรการต่อต้านการฟอกเงินโดยอาศัยคริปโทเคอร์เรนซี

Author Biography

ปฐมพงษ์ รัตนพันธุ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายระหว่างประเทศ

References

เอกสารภาษาไทย

จตุรนต์ ถิระวัฒน์. กฎหมายระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2558.

ณหทัย สุขเสนา. “มาตรการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลและการปรับใช้กฎหมายไทยกับเงินสกุลดิจิทัล: บิทคอยน์.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2561.

พงศ์บวร ควะชาติ. “สกุลเงินเสมือนจริงปลอดการควบคุมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ และคณะ, โครงการศึกษาเรื่องการบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล, ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

วนิดา แช่มพวงงาม. “กฎเกณฑ์ในการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูงตามกฎหมายระหว่างประเทศ และการศึกษาเปรียบเทียบการอนุวัติการ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

สีหนาท ประยูรรัตน์. คำอธิบายกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: นิติสนเทศ, 2544.

สุพิศ ประณีตพลกรัง. กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2561.

เอกสารภาษาต่างประเทศ

Blair W., Brent R. and Grant T.. Bank and Financial Crime The International Law of Tainted Money. 2nd edition. New York: Oxford University, 2017.

Brito J. et al.. The Law of Bitcoin. Bloomington: iUniverse, 2015.

Hance O. and Balz S.. The New Virtual Money: Law and Practice. The Hague: Kruwer Law International, 1999.

Jane K. Winn and Benjamin Wright. The Law of Electronic Commerce. 4th edition. New York: Wolter Kluwer, 2021.

Robert E. Powis. The Money Launderers. Chicago: Probus Publishing Company, 1992

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30