พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558: ปัญหาของบทบัญญัติและการบังคับใช้

ผู้แต่ง

  • สาวตรี สุขศรี

คำสำคัญ:

ความเท่าเทียมระหว่างเพศ, การเลือกปฏิบัติ, ผู้มีความหลากหลายทางเพศ, สิทธิมนุษยชน

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายในการให้ความคุ้มครองแก่เพศหญิง เพศชาย รวมทั้งบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้สามารถดำรงสถานะของตนอยู่ในสังคมไทยได้อย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากัน อีกทั้งยังต้องการเปิดช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ตกเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ กฎหมายสร้างกลไกไว้สามส่วน คือ คณะกรรมการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ (สทพ.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติมีอำนาจวางนโยบาย และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในระดับโครงสร้าง คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) มีอำนาจในการพิจารณาคำร้องว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ และกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ที่นอกจากมีไว้เพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้ถูกเลือกปฏิบัติแล้ว ยังใช้สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศด้วย โดยมีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานผู้บังคับใช้และประสานงานระหว่างสามกลไก หากนับจากวันที่ 9 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันมีผลใช้บังคับ กฎหมายฉบับนี้มีอายุการบังคับใช้มานานกว่า 5 ปีแล้ว จึงสมควรได้รับการพิจารณาว่ากลไกต่าง ๆ ดังกล่าวช่วยลดการเลือกปฏิบัติและสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศได้จริงหรือไม่ โดยจากการศึกษาข้อมูล สถานการณ์ สถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อคิดเห็นจากผู้บังคับใช้ องค์กรภาคประชาสังคม ผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. รวมทั้งนักวิชาการด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน พบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในประเด็นความเสมอภาคในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศยังคงดำรงอยู่แต่ซับซ้อนขึ้น กฎ ระเบียบของภาครัฐยังเป็นตัวการสำคัญในการเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ไม่มีคำสั่งหรือนโยบายที่ชัดเจนโดยคณะกรรมการระดับชาติให้ต้องปรับปรุงแก้ไข การรับรู้ถึงกฎหมายรวมทั้งการเข้าถึงสิทธิยังอยู่ในแวดวงจำกัด ขับเน้นไปที่ภาครัฐด้วยกันหรือองค์กรเอกชนที่อยู่ในเครือข่ายมากกว่ากับประชาชนในวงกว้าง และการวินิจฉัยคำร้องยังล่าช้าและทำงานเชิงรับมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันว่ากฎหมายฉบับนี้ยังจำเป็น แม้จะไม่เพียงพอ และมีหลายมาตราควรต้องถูกแก้ไข จำเป็นในที่นี้ หมายรวมทั้งในแง่ของการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยืนยันว่าการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศในประเทศไทยเป็นสิ่งต้องห้ามแล้ว ในแง่ของการเยียวยาความเสียหายให้กับเหยื่อผู้ถูกเลือกปฏิบัติ และในแง่ของการเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่นโยบาย กฎหมาย และมาตรการอื่น ๆ ที่ครอบคลุมมิติในเรื่องนี้ให้มากขึ้นในอนาคต

References

หนังสือ และวิทยานิพนธ์

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 11, สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง, 2562).

ธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง, ‘การดำเนินคดีซ้ำ: ศึกษาคำพิพากษาศาลต่างประเทศต่อการฟ้องคดีอาญาในประเทศไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558)

วิจิตร ว่องวารีทิพย์, ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย (มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ, 2559).

อารีวรรณ จตุทอง และสุภาพงศ์ หล่อพิศิษฏ์, กฎหมายที่ทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2555).

รายงานการศึกษาวิจัย และบทความ

คณะทำงานของกลุ่มธนาคารโลก, ‘การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่ม LGBTI ในประเทศไทย’ (ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา/ธนาคารโลก, 2561)

<http://documents1.worldbank.org/curated/en/319291524720667423/pdf/124554-v2-main-report-Economic-Inclusion-of-LGBTI-Groups-in-Thailand-Report-Thai-Version-PUBLIC.pdf> สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564.

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), ‘รับได้แต่ไม่อยากสุขสิง’ (Tolerance but not Inclusion: A national survey on experiences of discrimination and social attitudes towards LGBT people in Thailand) 2562 <https://www.undp.org/content/dam/undp/ library/people/gender/UNDP-TH-2019-LGBT-Tolerance-but-not-Inclusion-Fact-Sheet-TH.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564.

ดวงพร เพชรคง, ‘ความเท่าเทียมระหว่างเพศ’ 2561 (บทความใช้ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐสภารายการเจตนารมณ์กฎหมาย, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)

<https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/ article_20181012153459.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564.

ทีมงานสหประชาชาติ, ‘รายงานประจำปี 2019’ <https://thailand.un.org/sites/default/files/202009/UNCT%20Thailand%202019%20Annual% 20Progress%20Report%20Final-min_2.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.

บุษกร สุริยสาร, ‘อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2557).

เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานต่าง ๆ

กรมกิจการสตรีและครอบครัว, รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563 (2563).

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, สถานการณ์สตรี 2563 <https://opendata.nesdc.go.th/dataset/dataset> สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564.

กองเศรษฐกิจการแรงงาน, ข้อมูลด้านสถิติแรงงาน เดือนพฤศจิกายน 2563 <http://warning.mol.go.th/uploadFile/pdf/ pdf-2020-12-30-1609310298.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.

คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ, ข้อเสนอแนะว่าด้วย แนวทางปฏิบัติด้านการส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ <http://personnel.ops.go.th/main/ images/2561/pang/เสมอภาคหญงชาย/ครงท_9_ขอเสนอแนะวาดวยแนวทางปฏบตดานการสงเสรมความเสมอภาคฯ.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564.

คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้วยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สรุปผลการเสวนาเวทีสาธารณะ “เรามาถึงแล้ว ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกปฏิบัติ” 2558 <http://61.19.241.96/w3c/senate/pictures/comm/ 1549/file_1486627901.pdf> สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, หลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ แนวทางสร้างหลักประกันคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้ก้าวไปสู่ความเสมอภาคและเคารพสิทธิทางเพศ (ไพศาล ลิขิตปรีชากุล ผู้แปล, พิมพ์ครั้งที่ 2, หจก.ไอเดีย สแควร์ 2552).

อื่น ๆ

ธิติรัตน์ ทองถาวร, ‘วันสตรีสากล’ ใส่ใจ-จัดการบทบาทที่ถูกมองข้าม ก้าวสู่อีกขั้นของ ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ กรุงเทพธุรกิจ (8 มีนาคม 2564) <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926178> สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และโชคชัยชาญ วิโรจน์สัตตบุษย์, ‘ผลกระทบ โควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน: กรณีศึกษาแรงงานหญิง’ (TDRI, 26 ตุลาคม 2563) <https://tdri.or.th/2020/10/the-impact-of-the-covid-19-crisis-on-womens-employment/> สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, ‘3 ทศวรรษ ของการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานไทย’ (TDRI, 5 มีนาคม 2561) <https://tdri.or.th/2018/03 /3decade-thai-labour-market/> สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.

The Standard team, ‘สามย่านมิตรทาวน์ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQ’ The Standard (2 มิถุนายน 2564) <https://thestandard.co/samyan-mitr-proud/> สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.

-- ‘แคมเปญ ขอเรียกร้องให้ข้าราชการข้ามเพศทำบัตรประจำตัว และแต่งกายตามเพศสภาพได้’ (Change.org) <http://change.org/KruGolf> สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.

-- ‘โควิด-19 ซ้ำเติม แรงงานหญิง เสียงครวญ คนถูกลืม’ มติชนออนไลน์ (21 กรกฎาคม 2563) <https://www.matichon.co.th/ lifestyle/social-women/news_2274439> สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564.

-- ‘เดือน ธ.ค. 2563 เลิกจ้างผู้ประกันตน 190,079 คน’ ประชาไท (2 กุมภาพันธ์ 2564) <https://prachatai.com/journal /2021/02/91478> สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564.

-- ‘ทำไม "แรงงานหญิง" เสี่ยงกว่าชาย ตกงาน ลดชั่วโมง แถมควบ 2 กะ’ ไทยรัฐออนไลน์ (5 ธันวาคม 2563) สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564.

--‘พบหลักสูตรแบบเรียนไทย เนื้อหาลดทอนคุณค่าผู้หญิง ตอกย้ำความเชื่อชายเหนือกว่า’ Workpointtoday (23 ตุลาคม 2563) <https://workpointtoday.com/textbook/> สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564.

-- ‘สำเร็จ! บรรจุหลักสูตร “ความหลากหลายทางเพศ” ตั้งแต่ ป.1’ ข่าวไทยพีบีเอส (18 พฤษภาคม 2562) สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564

--‘LGBT: จันทบุรีนำร่องจังหวัดแรก ออกประกาศขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางเพศ’ BBC News Thai (9 มิถุนายน 2563) <https://www.bbc.com/thai/thailand-52976117> สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564.

World Economy Forum, ‘Insight Report: The Global Gender Gap Report 2014’ (World Economy Forum, 2557) <http://www3.weforum.org/docs/GGGR14/GGGR_CompleteReport_2014.pdf> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564.

--, ‘Insight Report: The Global Gender Gap Report 2021’ (World Economy Forum, 2564) <http://www3.weforum. org/docs/WEF_GGGR_2021.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29