ถอดประกอบหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณะเพื่อใช้เป็นมาตรวัดการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อน

ผู้แต่ง

  • วรพล มาลสุขุม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสาธารณะ, การจัดทำบริการสาธารณะ, การบริหารจัดการน้ำแร่ร้อน, หลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณะ, โครงสร้างทางกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการสาธารณะ

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอุตสาหกรรมกำลังเป็นที่นิยมและนำมาซึ่งมูลค่าในทางเศรษฐกิจของประเทศไทย น้ำแร่ร้อนในจังหวัดระนองเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าและเอื้อต่อการท่องเที่ยว เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นน้ำแร่ร้อนที่มีคุณภาพดีติดอันดับโลก อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ พบว่าการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนในจังหวัดระนองยังมีโครงสร้างทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสม อาทิ ปัญหาความไม่เพียงพอของเครื่องมือทางกฎหมายในการบริหารจัดการ การไม่มีองค์กรของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการโดยเฉพาะ ความไม่ชัดเจนของขอบเขตอำนาจหน้าที่และการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนการไม่มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการ การนี้ทำให้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เกิดเป็นผลจริงได้ยาก และนำมาสู่การดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนในประเทศเกาหลีใต้และในจังหวัดระนอง เพื่อศึกษาหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อน โครงสร้างทางกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้และในจังหวัดระนอง ตลอดจนการพิจารณาว่าโครงสร้างทางกฎหมายเหล่านี้ตอบโจทย์หลักการกฎหมายที่วิเคราะห์ไว้ได้ดีเพียงใด สามารถพัฒนาปรับปรุงได้อย่างไรบ้าง

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาส่วนแรก ได้แก่ การถอดประกอบหลักการทางกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อน ซึ่งจะใช้เป็นมาตรวัดว่าโครงสร้างทางกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนที่ดีพึงเป็นเช่นใด ไล่เรียงจากข้อความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสาธารณะและกฎหมายปกครอง หลักกฎหมายทั่วไปและหลักกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณะ ตลอดจนการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหลักการทางกฎหมายเหล่านี้

จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการทางกฎหมายเหล่านี้มีความปะปนและทับซ้อนกันเป็นกลุ่มก้อน จนไม่อาจกำหนดเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนได้ แนวทางที่เกิดขึ้นในวงวิชาการ คือ การพยายามสร้างชุดคำอธิบายขึ้นอย่างหลากหลาย เพื่อรวบรวม จัดหมวดหมู่ หรือ จัดระดับความสำคัญก่อนหลังในการคำนึงถึงหลักการเหล่านี้ แทนที่จะใช้ชุดคำอธิบายชุดใดชุดหนึ่ง หรือสร้างชุดคำอธิบายขึ้นใหม่สำหรับใช้เป็นมาตรวัดโครงสร้างทางกฎหมายในการบริหารจัดการน้ำแร่ร้อนที่ดี บทความนี้เสนอให้เน้นการพิจารณาความครบถ้วนและสมดุลของการตอบสนองหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณะ กล่าวคือ โครงสร้างทางกฎหมายทต้องสามารถตอบสนองรายการหลักการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่พึงคำนึงถึงอย่างครบถ้วน และกลไกทางกฎหมายในโครงสร้างดังกล่าวต้องตอบสนองรายการหลักการทางกฎหมายต่าง ๆ อย่างสมดุลด้วย

Author Biography

วรพล มาลสุขุม, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Profile

I graduated with a Bachelor of Laws (First Class Honours) from Thammasat University, Thailand, in 2010, and was admitted to the Thai Bar in the following year. In 2013, I was awarded a scholarship from the Royal Government of Thailand to study the Magister Juris and Doctor of Philosophy at the University of Oxford, which I have recently completed (February 2019).

My doctoral thesis entitled ‘Legal Culture, Legality and the Determination of the Grounds of Judicial Review of Administrative Action in England and Australia’ was supervised by Professor Liz Fisher, and examined by Professor Paul Craig (Oxford) and Professor John Bell (Cambridge).

I am currently a lecturer at Chulalongkorn University, teaching an array of public law courses and conducting various researches in the field of Comparative Administrative Law.

Legal Practice Experience

2011 to Present, Faculty of Law, Chulalongkorn University

  • Law Lecturer
  • Secretary of the Faculty’s Executive Board of Director

2011 - 2012, The Legal Counsel Committee for the Prime Minister of Thailand (H.E. Abhisit Vejjajiva) and The Advisory Panel of the Thai Constitution for the Purpose of Political Harmonisation, The Royal Thai Government

  • Member of the legal researcher team, conducting research and drafting opinions in response to legal problems regarding public law

Selected Academic Works

Prohibition of Incitement to National, Racial or Religious Hatred (2010)

  • Project led by Professor Vitit Muntarbhorn and funded by the Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR)
  • Researcher

‘Legal Culture, Principle of Legality and Jurisdiction of the Court in Conducting Judicial Review of Administrative Action in England and Australia’ (Public Law Conference, Cambridge, July 2016)

  • Speaker

‘English Administrative Law: An Alternative Way to Study the Relationship between Law and Economic’ in Arm Tungnirun and Voraphol Malsukhum (eds), Law and Economic: The Collection of Essays in Honour of Professor Dr. Sakda Thanitcul (Wityuchon 2018)

  • Author of the chapter and Co-editor of the book

‘Judicial Activism; A Definite Evil for Thai Legal System’ (The 2019 Global Youth Intensive Program, Seoul, South Korean, June 2019)

  • Speaker

References

Alain-Serge Mescheriakoff, Droit des services publics (PUF 1991)

Albert Hy Chen, ‘The Chinese Tradition’ in Peter Cane, Herwig C. H. Hofmann, Eric C. Ip, and Peter L. Lindseth (eds), The Oxford Handbook of Comparative Administrative Law (Oxford University Press 2020)

Andrea Ross-Robertson, ‘Sustainable Development’ in Peter Cane and Joanne Conaghan (eds), The New Oxford Companion to Law (Oxford University Press 2008)

Anne C. L. Davies, Accountability: A Public Law Analysis of Government by Contract (Oxford University Press 2001)

Annelise Riles, ‘Comparative Law and Socio-Legal Studies’ in Mathias Reimann and Reinhard Zimmermann (eds), The Oxford Handbook of Comparative Law (2nd edn, Oxford University Press 2019)

Carol Harlow and Richard Rawlings, Law and Administration (3rd edn, Cambridge University Press 2009)

Colin Scott, ‘Implementation: Facilitating and Overseeing Public Services at Street Level’ Peter Cane, Herwig C. H. Hofmann, Eric C. Ip, and Peter L. Lindseth (eds), The Oxford Handbook of Comparative Administrative Law (Oxford University Press 2020)

Dante A. Caponera and Marcella Nanni, Principles of Water Law and Administration: National and International (2nd edn, Taylor&Francis 2007)

David H. Rosen bloom, Robert S. Kravchuk and Richard M. Clerkin, Public Administration: Understanding Management, Politics, and Law in the Public Sector (8th edn, McGraw-Hill Education 2015)

Dennis A. Rondinelli, ‘Public Administration and Democratic Governance: Governments Serving Citizens’ January 2007 (7th Global Forum on Reinventing Government: Building Trust in Government, Vienna, Austria 26-29 June 2007)

Elizabeth Fisher and Sidney A. Shapiro, Administrative Competence: Reimagining Administrative Law (Cambridge University Press 2020)

Eugene Bardach, A Practical Guide for Policy Analysis: The Eightfold Path to More Effective Problem Solving (2nd edn, Chatham House Publishers 2000)

Francesca Bignami, ‘Comparative Administrative Law’ in Mauro Bussani and Ugo Mattei, The Cambridge Companion to Comparative Law (Cambridge University Press 2012)

Gilles J. Guglielmi, Introduction au droit des services publics (L.G.D.H. 1994)

Joanna Bell, The Anatomy of Administrative Law (Hart Publishing 2020)

John Bell, ‘Comparative Administrative Law’ in Mathias Reimann and Reinhard Zimmermann (eds), The Oxford Handbook of Comparative Law (2nd edn, Oxford University Press 2019)

John Bell, Sophie Boyron and Simon Whittaker, Principles of French Law (2nd edn, Oxford University Press 2008)

Jona Razzaque, ‘Public Participation in Water Governance’ in Joseph W. Dellapenna and Joyeeta Gupta, The Evolution of the Law and Politics of Water (Springer 2009)

Kate A. Berry and Eric Mollard, Social Participation in Water Governance and Management: Critical and Global Perspectives (Earthscan 2010)

Mahendra P. Singh, German Administrative Law in Common Law Perspective (2 edn, Springer 2001)

Mark Elliott and Jason N.E. Varuhas. Administrative Law: Text and Materials (5th edn, Oxford University Press 2017)

Mark Elliott and Robert Thomas, Public Law (4 edn, Oxford University Press 2020)

Matthias Ruffert, ‘National Executives and Bureaucracies’ in Peter Cane, Herwig C. H. Hofmann, Eric C. Ip, and Peter L. Lindseth (eds), The Oxford Handbook of Comparative Administrative Law (Oxford University Press 2020)

Mauro Bussani and Ugo Mattei, The Cambridge Companion to Comparative Law (Cambridge University Press 2012)

Paul Craig, Administrative Law (8th edn, Sweet & Maxwell 2016)

Peter Cane, Administrative Law (5th edn, Oxford University Press 2011)

Peter Cane, Leighton McDonald and Kristen Rundle, Principles of Administrative Law (3rd edn, Oxford University Press 2018)

Raphael J. Heffron, Energy Law: An Introduction (Springer 2015)

Robin Creyke, John McMillan and Mark Smyth, Control of Government Action: Text, Cases and Commentary (5th edn, LexisNexis Butterworths 2019)

Stephen Argument, ‘Delegated Legislation’ in Matthew Groves and H. P. Lee, Australian administrative law: fundamentals, principles and doctrines (Cambridge University Press 2007)

Stephen Skowronek, Building a New American State: The Expansion of Administrative Capacities 1877-1920 (Cambridge University Press 1982)

Timothy Endicott, Administrative Law (4th edn, Oxford University Press 2018)

Voraphol Malsukhum, Legal Culture, Legality and the Determination of the Grounds of Administrative Action in England and Australia (Springer 2021)

W. Friedmann, The State and The Rule of Law in Mixed Economy (1971)

William Wade and Christopher Forsyth, Administrative law (11th edn, Oxford University Press 2014)

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2561)

จันจิรา เอี่ยมมยุรา, ‘วิสาหกิจมหาชน (รัฐวิสาหกิจ) ในกฎหมายไทย : ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวิเคราะห์ข้อความคิด’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2529)

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 29, วิญญูชน 2563)

นันทวัฒน์ บรมานันท์, กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2560)

นันทวัฒน์ บรมานันท์, หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญชน 2560)

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2563)

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน: รัฐ (เล่ม 4, วิญญูชน 2560)

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน: วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560)

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562)

ประยูร กาญจนดุล, คำบรรยายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549)

ปรีดี เกษมทรัพย์, นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 15, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560)

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (นิติราษฎร์ 2554)

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2562)

วรพล มาลสุขุม, ‘กฎหมายปกครองอังกฤษ : รูปแบบที่แตกต่างในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและเศรษฐกิจ’ ใน กฎหมายกับเศรษฐกิจ รวมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2561)

วรพล มาลสุขุม และดุลยวัฒน์ เชาวน์ดี, ‘รูปแบบทางกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรจัดการความรู้ทางทะเล’ (2564) 39 วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมยศ เชื้อไทย, หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 14, วิญญูชน, 2563)

อมร จันทรสมบูรณ์, ‘บทบรรณาธิการ’ (2525) 1 วารสารกฎหมายปกครอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30